Page 27 - วารสารเสียงชนเผ่า ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
P. 27
























เชียงใหม่ ประตูช้างเผือก ถนนหน้าและหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และยังมีที่เป็นร้านโรตีกับชาควบคู่
กัน เช่น ในย่านถนนเจริญประเทศหรือถนนช้างคลาน หากสังเกตร้านโรตีน�้าชาที่ขายอยู่บนถนนช้าง
คลาน เราจะเห็นผู้คนมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นมุสลิมที่อยู่ในระแวกนั้น จะเข้ามานั่งกินชากับโรตี
อย่างเอร็ดอร่อยเป็นประจ�า นอกจากนี้เท่าที่ผู้เขียนสังเกตการณ์ในฐานะลูกค้าประจ�าคนหนึ่ง พบว่า ร้าน
โรตีน�้าชา ยังเป็นสถานที่ที่ดึงดูดคนมุสลิมกลุ่มอื่นอีกด้วย เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศอย่างคนมุสลิม
กรุงเทพหรือภาคกลาง มุสลิมภาคใต้ ชาวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวจากโซนอินเดีย ปากีสถานและอาหรับ
หรือมุสลิมที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ มุสลิมเหล่านี้ถึงแม้จะมาจากคนละทิศกัน แต่เมื่อมาเชียงใหม่
ต่างก็ตามหาร้านโรตีน�้าชากันทุกคน
ในความหมายของมุสลิมแล้วร้านโรตีน�้าชา ไม่ใช่การนั่งกินอาหารเพื่อบริโภคอย่างเดียว แต่เป็น
พื้นที่ทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่น�ามุสลิมมาพบปะกัน สร้างความรู้จักและสนทนากัน ไม่ว่ามุสลิมคนนั้นมา
จากที่ไหน ถ้าเข้าในพื้นที่แห่งนี้ ก็จะได้รับการทักทาย ว่ามาจากไหน คนที่ไหน ถึงแม้ว่าคนเหล่านี้จะเป็น
คนแปลกหน้าแต่เมื่อเข้ามาก็ต้องท�าความรู้จัก ด้วยการจับมือหรือให้ค�ากล่าวค�าว่า “สลาม” ในภาษา
อาหรับ จึงกลายเป็นวิถีของมุสลิมที่นี่

จากภาพรวมที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการเกริ่นน�าให้เห็นภาพของมุสลิม
เชียงใหม่ โดยน�าเสนอเพียงเรื่องราวประวัติศาสตร์การเข้ามา การพยายามรักษาอัตลักษณ์และการน�า
เสนออัตลักษณ์ผ่านอาหาร เพื่อเป็นการท�าความรู้จักกันในเบื้องต้น หากจะมองหรืออธิบายที่ลึกซึ้งกว่า
นี้ คงต้องมองในมิติของศาสนา กิจกรรมและการรวมกลุ่มทางสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากมีโอกาสในครั้งหน้า ผู้เขียนจะขอน�าเสนอเรื่องราวในการจัดกลุ่มองค์การศาสนาและ
สังคมของมุสลิมเชียงใหม่ แนะน�านักเขียน





2558


3


2559


27
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32