ไขมหัศจรรย์ “การอ่าน” เรื่องจริงที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

"การส่งเสริมการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย เป็นรากฐานสำคัญของการแสดงหาความรู้ และสร้างเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิตรวมถึงสร้างเสริมสุขภาพในทุกมิติ"


ไขมหัศจรรย์


แฟ้มภาพ


ไม่ได้เป็นเพียงประโยคสวยหรู แต่เป็นเรื่องจริงที่พ่อ แม่ หลายคนยังไม่รู้ "นางสุดใจ พรหมเกิด"ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ให้ภาพที่ชัดขึ้นว่า หนังสือมีพลังความมหัศจรรย์ในการสร้างเสริมสุขภาพของเด็ก และสามารถเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่ได้ด้วยตัวของเราเอง


"การอ่านเชื่อมโยงกับสุขภาวะจริงๆ นะ ไม่ใช่แค่สุขภาวะทางปัญญา แต่ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางสังคม อารมณ์และร่างกาย เห็นได้จากเด็กคนหนึ่งที่เกิดจากพ่อแม่เป็นใบ้ใน จ.ยโสธร วันไหนที่ลูกร้องไห้ผู้เป็นแม่จะพาลูก พร้อมด้วยหนังสือ 1 เล่มมาให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอ่านให้ลูกฟัง เมื่อทางอสม.เห็นความตั้งใจของแม่จึงอ่านหนังสือให้เด็กคนนี้ฟังเป็นประจำตอนนี้เด็กคนนี้เติบโตขึ้นมาไม่เป็นใบ้ แถมยังฉลาด แข็งแรง เป็นนักเล่านิทานสามารถสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ให้พ่อกับแม่ฟังได้เป็นอย่างดีทำให้ชุมชนทั้งชุมชนลุกขึ้นมาอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพราะเห็นพลังของหนังสือจากเด็กคนนี้" ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านเผยถึงพลังของหนังสือ และการอ่านพร้อมกับเน้นย้ำด้วยว่า การอ่านกับการสร้างเสริมสุขภาพมันเป็นเนื้อเดียวกัน


ไขมหัศจรรย์ นางสุดใจ บอกต่อว่า "การอ่าน"ไม่ใช่แค่สร้างเสริมสุขภาพระดับบุคคลแต่จะสร้างสังคมแห่งความสุข และสังคมสุขภาวะร่วมกัน ดังนั้น การที่แม่คนหนึ่ง มีลูกในวัย 7 เดือนแล้วจับลูกนั่งตัก สัมผัสด้วยการโอบกอด และเล่าหนังสือนิทานให้ลูกฟัง เด็กจะรู้สึกว่าช่วงของการอ่านหนังสือให้เขาฟังคือช่วงของความสุข ความอบอุ่น ถ้าทำบ่อยๆ เด็กจะเข้าถึงความสุขได้ง่ายขึ้นรักในการอ่าน ต่อยอดไปสู่การเป็นนักอ่านที่ดีในอนาคต


อย่างไรก็ตามตลอดหลายปีที่ทำงานกับเด็ก นางสุดใจ พบว่า พัฒนาการด้านภาษาล้าช้าของเด็กยังเป็นปัญหาที่น่าห่วง เพราะมันก็โยงไปสู่ปัญหาเรื่องของสุขภาพ และเรื่องอื่นๆ ถ้าเด็กไม่รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไรมันจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ และสุขภาพตามมา ดังนั้น พ่อแม่จะมานั่งรอหมอรอคุณครูไม่ได้แล้ว พ่อแม่ต้องรู้เรื่องของข้อมูลเหล่านี้ เพื่อจะได้ลุกขึ้นมาช่วยลูก และช่วยเหลือสังคมไปพร้อมๆ กัน โดยวิธีง่ายๆ แค่ใช้หนังสือ และการอ่านกับลูก สนุกและเล่นกับลูกด้วยการอ่านหนังสือ


ในงาน Happy reading in wonderland :มหัศจรรย์แห่งการอ่าน ที่เพิ่งผ่านพ้นไปมีผู้คนมากมาย มาร่วมกิจกรรม ทั้งครู ผู้นำชุมชน พ่อแม่และเด็กๆ รวมถึงจันทร์เพ็ญ สินสอน ประธานมูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน จ.สุรินทร์ที่ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า หนังสือมีพลังในการสร้างเสริมสุขภาพ และเปลี่ยนเด็กซึมเศร้าให้กลายเป็นเด็กร่าเริงได้อย่างไม่น่าเชื่อ


"มีเด็กในความดูแลอยู่คนหนึ่ง เป็นเด็กผู้ชายขวบกว่าๆ เขาสมาธิสั้น นั่งเล่านิทานกันอยู่ เขาก็จะวิ่งซน ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ซึ่งเราก็ปล่อยเขาไปก่อน ผ่านไปประมาณ 2 เดือนเขาก็เริ่มมานั่งฟังเราเล่านิทาน เริ่มมานั่งชี้ นั่งดู พอถึงช่วงเวลาเล่านิทานเขาจะเป็นคนแรกๆ ที่ตื่นเต้นดีใจ จากเด็กที่เคยวิ่งซนกลายเป็นเด็กนั่งนิ่งๆ อยู่ข้างหน้าเพื่อรอฟังนิทาน หลังจากนั้นก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจากการที่เขาได้ฟังนิทาน ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย และความรับผิดชอบที่มีมากขึ้น


จันทร์เพ็ญ เล่าอีกว่า นิทานที่เลือกมาเล่าให้เด็กๆฟังนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนิทานภาพ สอนในเรื่องระเบียบวินัยเรื่องสุขภาพ ซึ่งการจะเปลี่ยนเด็กคนหนึ่งด้วยนิทาน ส่วนตัวมองว่า ต้องใช้เวลา และความสม่ำเสมอ มีการพาเด็กไปเห็นของจริงบ้าง อย่างที่ศูนย์เด็กเล็กของเรา หลังจากเล่านิทานจบ เราจะพาเด็กไปสวนผัก ไปดูว่าผักจริงๆ มันเป็นอย่างไร กินแล้วสุขภาพดีอย่างไร ซึ่งการเชื่อมโยงนิทานและสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะช่วยกล่อมเกลาเด็กได้ อยากให้เด็กสุขภาพดี ต้องใช้นิทานสนุกๆ เป็นเครื่องมือนอกจากนี้การเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง กลุ่มเด็กที่ได้ผ่านกระบวนการเล่านิทานทุกคนจะมีลักษณะนิสัยร่าเริง มีชีวิตชีวา คุยด้วยแล้วรู้เรื่อง มีเหตุมีเหตุมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เติบโตมากับการถูกพ่อแม่ ไขมหัศจรรย์ หรือผู้ปกครองเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำ และต่อเนื่อง


หากช่วยกันสร้างเสริมสภาพแวดล้อมให้เด็กรักการอ่าน เด็กๆ จะซึมซับและเติบโตเป็นเยาวชนที่ไม่เพียงแต่อ่านเพื่อเรียนหรือสอบ แต่จะเป็นนักอ่านในแบบที่ รศ.ดร.จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมบริหารแผนคณะ5 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอกเอาไว้ว่า "เขาจะเป็นนักอ่านเพื่อสร้างความสุข ความเกื้อกูล และเติมเต็มศักยภาพความเป็นมนุษย์ทั้งภายในตัวเองและระหว่างเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง และเมื่อถึงจุดนี้ ปัญหาต่างๆ ในสังคมที่เราๆ ท่านๆ กำลังประสบ คงจะบรรเทาความรุนแรงลงไปด้วย"


ดังนั้น ขอให้เชื่อมั่นในพลังของการอ่าน ทั้งพลังการเชื่อมโยงเรื่องราวในสมองของเด็ก พลังในการเป็นรากฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้ พลังในการสร้างเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต และพลังในการสร้างเสริมสุขภาพในทุกมิติ


 


   


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

Shares:
QR Code :
QR Code