ใช้ ‘อาชาบำบัด’ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก

การขี่ม้าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่นำมาบำบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เห็นได้จากว่ามีศูนย์แห่งการขี่ม้าบำบัดเกิดขึ้นอย่างมากมาย จากผลการวิจัยพบว่าหลังจากให้เด็กสมองพิการ 25 คน ขี่ม้าวันละ 20 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน ปรากฏว่าเด็กกลุ่มนี้มีการทรงตัวที่ดีขึ้น บางการศึกษาพบว่า หลังจากการขี่ม้า 8 นาทีทำให้อาการเกร็งของเด็กสมองพิการ 15 คนดีขึ้น

ใช้ 'อาชาบำบัด' ส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งท่อนและอัมพาตทั้งตัว ซึ่งพบว่าหลังจากขี่ม้า 18 เดือน ทำให้ผู้ป่วยลดอาการเกร็งทำให้อาการเจ็บปวดและปัญหาความผิดปกติของข้อต่อลดลง นอกจากนี้ยังช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้นอีกด้วย แม้ว่าเมืองไทยจะไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังหนัก แต่เสียงตอบรับจากผู้ปกครองที่มีโอกาสพาเด็กมาลองขี่ม้าดูก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันผลลัพธ์ที่น่าพอใจเพราะม้าช่วยเยียวยาปัญหาเด็กออทิสติก

นอกจากจะเป็นส่วนช่วยบำบัดรักษาทางร่างกายโดยตรงแล้ว ยังมีส่วนบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบประสาท สติปัญญาและอารมณ์ ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในกลุ่มออทิสติกและสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กออทิสติกจะไม่ควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัว และประสาทสัมผัสของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เด็กยังมีการสูญเสียทางด้านสังคม  ไม่สามารถตอบปฏิกิริยาระหว่างบุคคลได้ จึงทำให้เด็กออทิสติกอยู่ในโลกของตนเองไม่มีการติดต่อสื่อสารกับใคร

อีกทั้ง การมีพฤติกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง ฉะนั้นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเด็กกลุ่มนี้ได้ก็คือ การที่จะพยายามดึงแขนขามือออกมาสัมผัสและรับรู้โลกภายนอก โดยมีม้าเป็นสื่อกลาง นอกเหนือจากที่จะพาโลดแล่นไปมาแล้ว ยังช่วยเชื่อมโยงก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับ คนอื่น เรียนรู้ที่จะสื่อสารกับโลกภายนอกมากขึ้น

นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูลนายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า สปสช.ให้การสนับสนุนร่วมกับโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้มองเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการนี้เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติกได้ครอบคลุม ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือที่บ้าน ชุมชนและเพื่อให้เกิดชมรมออทิสติกในจังหวัดมหาสารคามขึ้น โดยให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการดูแลเด็กกลุ่มนี้ ให้มีการพัฒนาการเพิ่มตามศักยภาพและปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

คลินิกพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดให้บริการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยมารับบริการในคลินิกจำนวน 878 ราย แยกตามโรคเป็น autistic 15 ราย down syndrome 164 ราย spastic cerebral palsy 101 ราย mental retardation 94 ราย delay speech 101 ราย และกลุ่มพัฒนาการล่าช้าอื่นๆ อีก 403 ราย ในจำนวนทั้งหมดมีพัฒนาการดีขึ้น 69 ราย คิดเป็น 7.85% สามารถดูแลตนเองที่บ้าน 39 ราย คิดเป็น 4.4% (สถิติคลินิกพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลมหาสารคาม) และช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 ได้มีกุมารแพทย์เพิ่มอีก 1 คน จึงได้ขยายเวลาให้บริการในคลินิกพัฒนาการเด็กเพิ่มมิถุนายน 2554 ได้มีกุมารแพทย์เพิ่มอีก 1 คน จึงได้ขยายเวลาให้บริการในคลินิกพัฒนาการเด็กเพิ่มจากเดิมเปิดบริการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง คือวันพฤหัสบดีเปลี่ยนเป็นวันอังคารช่วงเช้า ให้บริการกลุ่มเด็กที่คลอดก่อนกำหนด วันพุธและวันศุกร์ช่วงเช้า ให้บริการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้าทุกประเภทก่อน

ใช้ 'อาชาบำบัด' ส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก

ซึ่งในแต่ละปีพบว่ากลุ่มเด็กออทิสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถสื่อสารไม่ว่าจะเป็นความต้องการ และความรู้สึกของตนได้ ทำให้มีความบกพร่องในการดูแลตนเองและการมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างและสิ่งแวดล้อม (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล, 2554) การที่เด็กออทิสติก จะได้มาซึ่งพัฒนาการที่ดีขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากทีมสหสาขาวิชาชีพผู้รับผิดชอบดูแลรักษาทางคลินิกและผู้ดูแลที่บ้านในเรื่องการจัดหากิจกรรมส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม รวมทั้งการติดตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนสามารถส่งต่อเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ มีการส่งเสริมเครือข่ายผู้ปกครองให้ดูแลบุตรได้ถูกต้องและขยายผลในชุมชนให้เป็นต้นแบบได้

นายแพทย์ไพโรจน์ ศิตศิรัตน์นายแพทย์ไพโรจน์ ศิตศิรัตน์ ประธานชมรมออทิสติก จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตนได้ใช้สถานที่ที่บ้านของตนเป็นศูนย์รวม ซึ่งตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 162 ถ.เทศบาลอาชา ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นสถานที่รับฝึกการพัฒนาออทิสติก โดยการสนับสนุนของ สปส. เริ่มให้ผู้ปกครองรับฟังเข้าอบรมขั้นตอนที่จะให้เด็กเข้ามาฝึกบำบัดอาชาตามขั้นตอนต่างๆ ชมการแสดงของเด็กออทิสติกจากศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดย อ.ชูศักดิ์ จันทภานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองออทิสซึ่มไทย

มีการแบ่งเป็นฐานต่างๆ เช่น ฐานที่ 1 อาชาบำบัด โดยวิทยากร พ.ต.สงกรานต์ จันทะปัสสา แผนกสัตวบาลกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก ต.ท่าพระ อ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น ฐานที่ 2 กิจกรรมบำบัด มีกิจรรมการทรงตัวบนลูกบอล นั่งรถ โยนลูกบอลลงตะกร้า ร้องเพลง โดยนักกิจกรรมบำบัดจากโรงพยาบาลมหาสารคาม ฐานที่ 3 ศิลปะบำบัดจากครูการศึกษาพิเศษสถาบันราชภัฏมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการระบายสีเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และฐานที่ 4 จากโรงพยาบาลพ่อแม่สู่ชุมชน โดยพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ขั้นตอนสุดท้าย ฝึกให้เด็กได้สัมผัสกับม้าไม้ก่อนที่จะนั่งม้าจริง และสุดท้ายลงสนามขี่ม้า โดยครูฝึกจะมีท่าต่างๆ ตามขั้นตอน ซึ่งปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่มีอาการผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ความจำสั้น หรือสมาธิสั้น ซึ่งในการบำบัดเด็กเหล่านี้ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นจึงเป็นเรื่องไม่ง่าย มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ให้เป็นปกติเช่นเด็กทั่วไป

โครงการอาชาบำบัดเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่กรมการสัตว์ทหารบกใช้ม้าเป็นตัวสำคัญในการบำบัดเด็กกลุ่มดังกล่าวดีขึ้นมาแล้ว จึงมีแนวคิดที่เปิดให้บริการที่จังหวัดมหาสารคาม แต่โรงพยาบาลมีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ จึงใช้บริเวณบ้านของตนเอง ซึ่งครอบครัวเองก็มีนิสัยชอบม้าอยู่แล้วทั้งบุคลิกและลักษณะนิสัยของม้า จึงได้จัดหาม้าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นมาเลี้ยงเอาไว้หลายตัว ทั้งนี้ นอกจากม้าจะช่วยบำบัดรักษาร่างกายโดยตรง เนื่องจากการปรากฏตัวของม้าและท่าทางการเดินของม้านั้นถือว่ามีความใกล้เคียงกับการเดินของมนุษย์ ที่มีทั้งกว้าง ยาว และสูงแล้ว ม้ายังมีส่วนช่วยบำบัดผู้ที่มีปัญหาด้านระบบประสาท สติปัญญา และอารมณ์ได้อย่างมาก

ใช้ 'อาชาบำบัด' ส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กออทิสติก และสมาธิสั้น เพราะเด็กที่เป็นออทิสซึ่มนั้น นอกจากจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัว และประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้แล้ว เด็กยังมีอาการสูญเสียทางด้านสังคม และไม่สามารถมีปฏิกิริยาต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้ ทำให้เด็กอยู่ในโลกของตัวเอง ไม่ติดต่อสื่อสารกับใคร นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง มีการกระทำและสนใจที่ซ้ำซาก ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเด็กกลุ่มนี้ก็คือ การพยายามดึงเข้ามาสัมผัสและรับรู้โลกภายนอกบ้าง โดยมีม้าเป็นเสมือนสื่อกลาง เพื่อกระตุ้นให้เด็กพูดตลอด ตามท่วงท่าซึ่งมากกว่า 10 ท่า ขณะที่เด็กอยู่บนหลังม้า อย่างไรก็ตาม จากการติดตามพฤติกรรมของเด็กที่เข้ารับการบำบัดมีอาการดีขึ้นโดยลำดับ

นายเจือ จิตชนะ อยู่บ้านเลขที่ 289 หมู่ 10 บ้านคุ้มสังข์ ต.หัวขวาง อ.โกสุม จ.มหาสารคาม เล่าว่า ตนอายุ 57 ปี ภรรยาอายุ 54 ปี และตอนนี้ลูกอายุได้ 5 ขวบ เกิดมาเป็นเด็กออทิสติก ซึ่งในช่วงแรกทรมานมากเพราะลูกตนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ในครั้งหนึ่งซึ่งท้อมากจนตนไม่อยากจะเลี้ยงเค้าไว้ พอมาเข้าเป็นเครือข่ายอาชาม้าบำบัดกับชมรมออทิสติกรู้สึกว่าลูกชายตนมีการพัฒนาการดีขึ้นตามลำดับ ในช่วงที่เข้ามารักษาม้าบำบัดได้อะไรมากมาย เช่น ได้เพื่อน ได้สังคม และลูกตนมีการพัฒนาที่ดีขึ้น เพราะมีครูฝึกหรือครูพี่เลี้ยงจากสถาบันราชภัฏมหาสารคามและครูฝึกขี่ม้ากองการสัตวแพทย์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมทหารบก ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น และเมื่อตนกลับไปบ้านก็ไปฝึกให้กับลูกเพื่อที่ลูกจะได้รับรู้หรือรับทราบจนถึงปัจจุบันทำให้ลูกตนใกล้จะปกติ ซึ่งตนผู้เป็นบิดาดีใจมาก และอยากจะฝากให้ผู้ปกครองที่มีลูกเป็นออทิสติกไม่ต้องท้อและไม่ต้องเสียใจ แต่ต้องอดทนสักนิด เพราะครูฝึกที่สอนให้ก็ดี เพื่อการพัฒนาของลูกเมื่อกลับมาถึงบ้านต้องฝึกอีกสักนิดก็เกิดผลสำเร็จ

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

Shares:
QR Code :
QR Code