แพทย์ชี้ เสพสื่อเกิน 5 ช.ม./วัน ทำเด็กพัฒนาการช้า

แนะ ! ผู้ปกครองต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

 

 

          ย้ำ! ใช้กฎ 3 ต้อง 2 ไม่ คุมพฤติกรรมเด็ก ด้านนักวิชาการชี้ต้องจัดระดับแพทย์ชี้ เสพสื่อเกิน 5 ช.ม./วัน ทำเด็กพัฒนาการช้าความเหมาะสมของสื่ออย่างจริงจัง กระตุ้นให้เกิดสื่อน้ำดีในสังคม

          

          (13 ม.ค.) ที่โรงแรมเสนาเพลส เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เปิดศูนย์ประสานงานครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ โดยมีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธาน สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และอดีตรอง นายกฯ และรมว.การพัฒนาสังคมฯ เป็นประธาน เป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อที่ไม่เหมาะสม

 

         นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาแม้จะมีการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์และประเภทรายการเพื่อให้เกิดการเลือกชมที่เหมาะสม พบว่าต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดรายการที่ดีขึ้นในสังคมอย่างเร่งด่วน เพราะสื่อมีการพัฒนาแบบแนวรุกอยู่ตลอดเวลา แต่สังคมและครอบครัวกลับมีการพัฒนาช้า ทำให้สภาพครอบครัวอ่อนแอ เสี่ยงต่อภัยคุกคามจากสื่อที่ไม่เหมาะสม เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เป็นเรื่องที่ควรชื่นชม ควรจะพัฒนาเครือข่ายให้ดีขึ้น ด้วยการทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีการจัดการความรู้ และการเสนอนโยบายควรจะเริ่มตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องเป็นระดับชาติอย่างเดียว โดยการเฝ้าระวังสื่อที่ดี คือ ต้องขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี

 

 

         นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การบริโภคสื่อในเยาวชนแบ่งเป็น 2 ประเภท ในเด็กจะเป็นสื่อโทรทัศน์ ในวัยรุ่นจะเน้นการบริโภคสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุและอินเทอร์เน็ต แต่ผู้ปกครองควรให้เด็กบริโภคโทรทัศน์เพียงวันละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น หากให้ดูมากกว่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการ เด็กอาจขาดการปฏิสัมพันธ์ไม่มีการตอบโต้ ในเด็กบางรายทำให้ทักษะการพูดช้าลง สมาธิสั้น และหากชมภาพที่มีความรุนแรงบ่อยครั้งก็อาจเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมได้

 

          ผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้บุตรหลานทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับครอบครัว เพื่อลดการบริโภคสื่อ โดยใช้หลักการ 3 ต้อง 2 ไม่ ประกอบด้วย 3 ต้อง คือ ต้องกำหนดเวลาดูโทรทัศน์ ต้องกำหนดรายการโทรทัศน์ที่เด็กสามารถรับชมได้ และผู้ปกครองต้องพูดคุยกับบุตรหลานหลังชมรายการโทรทัศน์จบ ส่วน 2 ไม่ คือ ไม่มีสื่อร้ายในบ้าน และไม่จัดวางโทรทัศน์ไว้ในห้องนอนของเด็ก ซึ่งการเฝ้าระวังต้องทำอย่างเป็นระบบ พ่อแม่ต้องเลือกสื่อให้เหมาะสมกับวัยของลูก จะช่วยลดผลร้าย รายการที่เด็กไม่ควรดูก็ควรอยู่ในเวลาที่เด็กดูไม่ได้ นพ.ยงยุทธ กล่าว

 

แพทย์ชี้ เสพสื่อเกิน 5 ช.ม./วัน ทำเด็กพัฒนาการช้า         ด้านนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ หัวหน้าเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ กล่าวว่า ศูนย์ฯ นี้ตั้งขึ้นเพื่อให้ครอบครัวอาสารวมตัวกันเพื่อติดตามเฝ้าระวังสื่อที่ไม่เหมาะสมต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ที่มีฉากรุนแรง หนังสือการ์ตูนลามกอนาจารที่วางขายในที่สาธารณะ ล่าสุดก็พบหนังสือการ์ตูนลามกในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติวางขายอย่างโจ่งแจ้ง พ็อกเกตบุ๊กแนวอีโรติกที่ขายตามแผงหนังสือทั่วไป และละครที่มีแต่ฉากตบตีแย่งผู้ชาย หรือการที่พระเอกขืนใจนางเอกเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดการเลียนแบบได้ ตนก็เป็นแม่คนหนึ่งที่ไม่อยากให้เยาวชนถูกปลูกฝังในทางที่ผิด

 

          ร่วมสร้างสรรค์สื่อดีๆ สำหรับครอบครัว ช่วยกันขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี หากพบเห็นสื่อที่ไม่เหมาะสมสามารถแจ้งมาได้ที่ศูนย์ประสานงานครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ www.familymediawatch.org หรือโทรศัพท์ 0-2888-2260” นางอัญญาอร กล่าว


 

 

 

 

เรื่อง : รัศมี ศรคำ   team content     www.thaihealth.or.th

 

 

 

update 21-01-52

 

 


 

Shares:
QR Code :
QR Code