`เพซเซอร์` สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’

\'เพซเซอร์\' สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’ thaihealth


เมื่อนักวิ่งเข้าสู่เส้นชัย หรือซ้อมวิ่งครบตามเป้าหมาย ข้อมูลอีกหนึ่งอย่างที่นักวิ่งให้ความสำคัญและใส่ใจคือ เพซ (pace) ที่เป็นตัวบ่งบอกความเร็ว ณ ขณะที่วิ่งต่อกิโลเมตร และความเร็วโดยรวมทั้งหมด ว่าใช้เวลาไปเท่าไหร่? ทำสถิติได้ดีกว่าครั้งก่อนไหม? หรือเพซสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการวิ่งหรือไม่?


นักวิ่งที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งเป้าหมายในการวิ่ง บ้างก็ทำเวลาวิ่งให้ดีกว่าเดิม บ้างก็วิ่งระยะให้ไกลกว่าเดิม โดยใช้แอปพลิเคชั่นในมือถือช่วยจับระยะทาง ความเร็ว ฯลฯ หรือนาฬิกาสำหรับวิ่ง แต่นักวิ่งหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงชีวิตมาสู่การออกกำลังกายโดยการวิ่งนั้น อาจจะยังตั้งเป้าหมายในการวิ่งเพื่อชนะใจตัวเอง พิชิตระยะมินิมาราธอนให้ได้ ซึ่งในงาน วิ่งสู่ชีวิตใหม่ หรือ Thaihealth Day 10k Run 2015’ ภายใต้คอนเซ็ปต์ "วิ่งเปลี่ยนชีวิต" ในปีนี้ยังมีอีกหนึ่งสีสันที่จะมาเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้นักวิ่งหน้าใหม่ ทำตามเป้าหมายได้สำเร็จคือ “กลุ่มเพซเซอร์”


รู้จักกับ ‘เพซเซอร์’ (pacer)


กลุ่มเพซเซอร์ ที่จะวิ่งสู่ชีวิตใหม่ด้วยกันครั้งนี้เป็น กลุ่มเพซเซอร์ จากทีมเครซี่ รันนิ่ง (Crazy Running) กลุ่มนักวิ่งที่\'เพซเซอร์\' สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’ thaihealthหลงรักการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ และปรากฏตัวแทบทุกงานวิ่งที่จัดขึ้น โดย ชาญวิทย์ เกียรติชัยพิพัฒน์ หรือ เพื่อนๆเรียกกันว่า เฮียลิบ หัวหน้าทีม Crazy Running เล่าให้ฟังถึงที่มาของการเกิดเพซเซอร์ในงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ว่า กลุ่ม Crazy Running ได้ลงวิ่งในงาน Adidas The King of The Road 2013 เป็นระยะทาง 16 กม. ทีมแอดมินของกลุ่มขณะนั้น มีความคิดว่าน่าจะมีทีมที่นำวิ่งให้นักวิ่งที่ความเร็วต่างๆ น่าจะเป็นสีสันของงงานวิ่งที่น่าประทับใจ จึงมีการชักชวนคนในทีมและเริ่มต้นการมีเพซเซอร์ขึ้น โดยมีความเร็วเพซ 6-7-8 นาทีต่อกิโลเมตร เน้นการสร้างความสนุกครื้นเครง และเป็นสีสันใหม่ให้กับงานวิ่งนั้น ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ประสานมาทางทีม Crazy Running เพื่อขอให้มีทีมเพซเซอร์ ในงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ปี 2013 ณ ศูนย์ราชการ ทีมเราเลยรับอาสาเป็นเพซเซอร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ที่กำลังจะจัดขึ้นในปีนี้


หน้าที่ของเพซเซอร์ คือ เป็นคนวิ่งนำกลุ่มนักวิ่งในเวลาต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น นักวิ่งเพซเซอร์ 50 นาที หมายถึง กลุ่มนักวิ่งที่จะวิ่งด้วยความเร็วเกือบจะ ‘คงที่’ ไปตลอดระยะทาง 10 กม. แล้วเข้าเส้นชัยที่เวลา 50 นาที เพราะฉะนั้นนักวิ่งในงานนี้คนไหนมีเป้าหมายที่จะวิ่งเข้าเส้นชัยภายในเวลาดังกล่าว ก็ให้วิ่งตามกลุ่มเพซเซอร์ กลุ่มนี้ไปจนถึงเส้นชัย ขณะเดียวกัน กลุ่มเพซเซอร์ 60-70-80-90 คือ กลุ่มเพซเซอร์ที่จะวิ่งเข้าเส้นชัยในระยะ 10 กิโลเมตร ในเวลา 60-70-80-90 นาที ตามลำดับ ถ้านักวิ่งคนไหน อยากเข้าเส้นชัยระยะ 10 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 ชั่วโมง ก็ต้องวิ่งอยู่ระหว่างกลุ่มเพซเซอร์ 50 และ 60 นาที ให้ได้ตลอดเส้นทาง (วิ่งตามห่างๆ กลุ่มเพซเซอร์ 50 นาที แล้วต้องหนี เพซเซอร์ 60 นาที) ก็จะบรรลุตามเป้าหมายครับ” เฮียลิบ แนะนำ


\'เพซเซอร์\' สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’ thaihealth\'เพซเซอร์\' สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’ thaihealth


ในงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ ปี 2015 นี้ ทางทีมได้แบ่งกลุ่มเพซเซอร์ ออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ เพซ 5-6-7-8-9 โดยมีสมาชิกกลุ่มละ 10 คน รวม 50 คน สมาชิกในทีมจะใส่ชุดชมรมสีส้ม ซึ่งเป็นสีที่ตัดกับเสื้องานสีขาว เพื่อที่จะให้เหล่านักวิ่งที่มาร่วมงานสังเกตได้ง่ายยิ่งขึ้น และเหล่าเพซเซอร์จะมีลูกโป่งซึ่งแบ่งสีตามระยะติดไว้กับตัวอีกด้วย


เฮียลิบ บอกนิยาม ‘วิ่งเปลี่ยนชีวิต’ ของตนเองว่า เป็นคำที่มีความหมายมาก เพราะก่อนหน้าที่จะก้าวเข้ามาสู่โลกแห่งการวิ่ง เฮียก็ใช้ชีวิตทั่วไป กิน ดื่ม เที่ยว ตามปกติ จนมาตรวจสุขภาพประจำปีเลยได้รู้ว่า ป่วยมีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด เบาหวาน ไขมันเกาะตับ ตับอักเสบ ตนตกใจมาก ก็ไปหาหมอเพื่อตรวจรับยามาพร้อมพยายามจะควบคุมอาหารตามคำแนะนำ ซึ่งทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ประมาณ 5 ปี อาการก็ไม่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุด จนคุณหมอจะเพิ่มปริมาณยาให้มากยิ่งขึ้น ตนจึงตัดสินใจหันมาออกกำลังกายด้วยการวิ่ง หลังจากนั้นอาการป่วยต่างๆ ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ จนปัจจุบัน คงเหลือแต่โรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว ที่ยังคงต้องทานยาควบคุมอยู่ ซึ่งถ้าไม่ได้การวิ่งเพื่อสุขภาพ ตนคงไม่ได้เปลี่ยนชีวิตกลับมามีสุขภาพดียิ่งขึ้นเช่นปัจจุบัน


ด้าน อดิศ ชองกูเลีย หรือ โอ ประธานทีม Crazy Running ทีมแอดมินในการเกิดกลุ่มเพซเซอร์เมื่อปี 2013 เล่าให้\'เพซเซอร์\' สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’ thaihealthฟังถึงการเป็นอาสาในทีมเพซเซอร์ว่า จากการได้มาเป็นเพซเซอร์ ทำให้ได้ฝึกหลายๆ อย่าง เช่น การฝึกวิ่งควบคุมเวลาให้ได้ตามที่กำหนด นอกจากนั้นยังได้ฝึกวิ่งและดูแลคนอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเพซเซอร์ และผู้ร่วมวิ่งคนอื่นๆ ไปด้วย เช่นการกระตุ้นให้ผู้ร่วมวิ่ง วิ่งตามเราอย่างสนุกสนาน จากเดิมที่ปกติเรามักจะวิ่งคนเดียว นี่ก็ถือเป็นการวิ่งเป็นกลุ่ม สร้างความสามัคคี และได้มิตรภาพใหม่ๆ อีกด้วย


“การวิ่งนั้น ทำให้เราได้ฝึกอะไรมากมาย ฝึกความมีวินัยในการลุกขึ้นมาเพื่อที่จะออกกำลังกายเปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อยามที่ท้อแท้อยากจะหยุดวิ่งก็ได้ฝึกที่จะต่อสู้กับจิตใจที่อ่อนแอของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นนิยามที่เปลี่ยนชีวิตของผมครับ” โอ บอก


\'เพซเซอร์\' สีสันแห่งงาน ‘วิ่งสู่ชีวิตใหม่’ thaihealthสำหรับ นิษฐา แลม หรือแอดมินกุ๊ก ทีม Crazy Running เล่าให้ฟังถึงการมาเป็นเพซเซอร์ในงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ว่า ได้เรียนรู้เรื่องการเสียสละ ที่จะไม่วิ่งทำเวลาหรือสถิติของตัวเอง แต่เปลี่ยนเป็นการวิ่งเพื่อคนอื่น คือเพื่อนนักวิ่ง เพื่อจะได้ควบคุมการวิ่งในเวลาและเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังได้เรียนรู้การวิ่งแบบควบคุมเวลาให้สม่ำเสมอ เช่น ในสนามวิ่งถ้าเราวิ่งคนเดียว สามารถวิ่งเร็วๆ จนเราหมดแรง แล้วก็เดินหรือจะพักก็ได้ แต่การเป็นเพซเซอร์ คือการวิ่งควบคุมเวลา และเฉลี่ยกำลังการวิ่งแต่ละช่วงกิโลเมตรให้สม่ำเสมอ


“การวิ่งเปลี่ยนชีวิต คือการที่คนๆ หนึ่งสามารถนำการวิ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี จากเดิมที่เคยมีข้ออ้างตลอด ว่างานยุ่ง ไม่ว่าง หรือไม่มีเวลา แต่เปลี่ยนให้เราลุกขึ้นมาแบ่งเวลาให้กับการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิ่งตอนเช้า หรือตอนเย็น มีการฝึกวิ่ง หัดวิ่ง จนไปสู่การวิ่งระยะมินิมาราธอน ฮาร์ฟมาราธอน หรือมาราธอนได้ เพราะประโยชน์จากการวิ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร แต่อยู่กับผู้วิ่งเอง ยกตัวอย่าง เช่น มีพี่ที่รู้จักเป็นภูมิแพ้อากาศ แต่พอเขาเห็นเราหรือเพื่อนๆ มาวิ่ง แล้วโพสต์รูปขึ้นเฟสบุ๊ค พี่เขาก็มาวิ่งบ้าง จนตอนนี้ภูมิแพ้ของพี่เขาหายไปแล้ว แล้วทำไมเราถึงจะยังไม่ออกมาวิ่งกันละคะ” แอดมินกุ๊ก ทิ้งท้าย


งานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พ.ย. นี้ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นงานแรกที่นำมาตรฐานการวิ่งเข้ามาใช้เพื่อยกระดับการวิ่งสู่สากล ขอเชิญทุกท่านมาร่วมสร้างปรากฏการณ์ในการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ และพิชิตระยะมินิมาราธอน พร้อมสะสมระยะวิ่ง 100,000 กม. ด้วยกันนะคะ…


 


 


เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ team content www.thaihealth.or.th


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ / เฟสบุ๊คผู้ให้สัมภาษณ์ 


 

Shares:
QR Code :
QR Code