เจาะเบื้องลึกความสำเร็จชุมชน “บ้านสำโรง”
ที่มา : เว็บไซต์คมชัดลึก
แฟ้มภาพ
เจาะเบื้องลึกความสำเร็จชุมชนน่าอยู่ "บ้านสำโรง" หมู่บ้านนี้มีแต่คนขี้คุย
จากหมู่บ้านเล็กๆ กลับกลายเป็นโด่งดังในชั่วข้ามคืนเรื่องนี้มีต้นเหตุเพราะความขี้คุยของพวกเขาแท้ๆ หากเอ่ยชื่อหมู่บ้านขี้คุยหลายคนอาจร้องอ่อ เพราะนี่คือผลผลิตชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่เกิดจากการขับเคลื่อนระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักที่จับมือกับภาคีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กระจายทั่วประเทศร่วมกันผลักดันงานด้านสนับสนุนสุขภาวะชุมชน โดยมีแกนคิดสำคัญคือการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
บ้านสำโรง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถยกระดับหมู่บ้านจากชุมชนที่รุมเร้าด้วยปัญหาขาดสุขภาวะ มาเป็นอีกหนึ่งศูนย์เรียนรู้ต้นแบบภายใต้เครือข่ายฯ ของสสส.ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
ผู้ใหญ่อึ่ง พีรวัศ คิดกล้า บอกเล่ากับเราว่า เบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้บ้านสำโรงสามารถพลิกฟื้นชุมชนที่แทบจะไร้คุณภาพชีวิตมาสู่ภาพลักษณ์ใหม่ชุมชนน่าอยู่เกิดจากกลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การบริหารจัดการโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งที่เรียกว่าสภาผู้นำชุมชนและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคนในชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนทุนของชุมชนมาบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาทีละเรื่อง
หากถามความสำเร็จของเรามองว่ามีกลไกหลัก คือกลไกสภาผู้นำชุมชนที่เรารวมคนเก่งคนดีจิตอาสาคนที่มีใจทำงานและสามารถเป็นแบบอย่าง กลไกที่สองคือกติกาชุมชนที่เราเรียกว่าสัญญาใจ ครัวเรือนทุกครัวเรือนต้องทำร่วมกันคือทุกบ้านต้องปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อกินเอง 10 ชนิด ทุกบ้านต้องคัดแยกขยะและดูแลรอบบ้านให้สะอาดลด ละ เลิกการกินเหล้าในงานศพ และงานบุญทุกบ้านต้องไม่มีลูกน้ำยุงลาย ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้นำชุมชนต้องเข้าร่วมประชุมเดือนละครั้ง ส่วนที่สามคือการติดตามประเมินผลงาน คืนข้อมูลผ่านเวทีประชุมสภาผู้นำชุมชนโดยทุกเรื่องที่ทำจะถูกเอามาใส่ในที่ประชุมสภาฯ ทุกคนต้องเอาเรื่องที่ตัวเองทำมาพูดคุยรายงานให้ฟังสรุปผลความคืบหน้าที่นี่ประชุมแต่ละครั้งใช้เวลาเฉลี่ยสามชั่วโมงตั้งแต่หนึ่งทุ่มไปถึงสามหรือสี่ทุ่ม
ผู้ใหญ่อึ่ง เฉลยถึงที่มาของสมญาหมู่บ้านขี้คุยพร้อมย้าชัดว่า ทั้งสามกลไกนี้ต้องทางานเชื่อมโยงกัน หลังจากใช้เวลาจัดตั้งสภาผู้นาชุมชน โดยการเข้าไปประชุมทำความเข้าใจและสรรหาตัวแทนที่มีความเข้าใจงานพัฒนามาเป็นตัวแทนแต่ละคุ้มสิ่งที่เกิด คือความร่วมมือเพราะได้มีโอกาสพูดคุยทำความเข้าใจถึงเป้าหมายร่วมกันตั้งแต่แรกซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในชุมชนแห่งนี้
ผมจะบอกเสมอว่า ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่บ้านคนเดียวที่จะพัฒนาหมู่บ้านได้ เพราะผมไม่ได้เก่งทุกเรื่องเราเชื่อว่าในแต่ละคุ้มมีคนเก่งๆ ตั้งหลายคนควรจะส่งตัวแทนมาช่วยกันคิดว่าอยากให้หมู่บ้านเกิดอะไรขึ้นบ้างและแก้ปัญหาหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ
สมาชิกสภาฯ แต่ละคนมีหน้าที่เฉพาะเรื่อง อาทิ กลุ่มทำเรื่องครัวเรือนน่าอยู่ เรื่องเกษตรปลอดสาร หรือเรื่องเหล้าเป็นต้น ที่สำคัญเมื่อเป็นสภาแล้วเราจะต้องส่งเสริมให้เขามีบทบาทมีหน้าที่ไม่ใช่รวมเป็นคณะไม่ทำงาน ส่วนสมาชิกในชุมชนเราต้องให้ความเชื่อมั่นโดยการเป็นแบบอย่าง เช่น บ้านสมาชิกสภาฯทุกคนต้องน่าอยู่ก่อนเวลาสภาฯ ไปชวนทำเขาก็จะเชื่อคล้อยตามมากขึ้น
จิรวัฒน์ เสนาะวาที หนึ่งในสมาชิกสภาผู้นำชุมชน บอกเล่าประสบการณ์จากชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี เดิมเขาเคยปฏิเสธการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนในหมู่บ้านด้วยเหตุผลง่ายๆคืออยู่คนละฝ่ายคนละขั้ว
เมื่อก่อนผมทางานอยู่ในเมือง ความจริงระยะจากที่ทำงานห่างจากบ้านแค่กิโลเมตรแต่ก็ไม่ค่อยอยากกลับบ้านเลิกงานก็นอนที่นู่นเลย นานทีถึงกลับเขาชี้แจงว่าเพราะหมู่บ้านไม่น่าอยู่ มีแต่ปัญหาและความแตกแยก เดินไปไหนก็มีแต่สารเคมีทั้งกลิ่นขยะคละคลุ้งเขาบ่นให้ฟัง
ก่อนหน้านี้ทุกครัวเรือนใช้สารเคมีทั้งปุยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาสารพัดที่ตกค้างในพื้นที่จนวิกฤต ขนาดมีคนเสียชีวิตจากสารเคมีมาแล้ว ทว่าทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมี 'สภาผู้นาชุมชน'
มีช่วงหนึ่งผมกลับมาอยู่บ้านเพราะไม่มีใครช่วยทำงานพอดีกับที่สภา เริ่มตั้งแต่ตอนนั้นเรายังไม่สนใจนะเพราะเป็นทีมการเมืองฝ่ายตรงข้าม เขาเปรยจะให้ร่วมงานอย่างไรล่ะแค่เจอหน้ากันก็ทะเลาะกันซะแล้ว หน้าบ้านยังไม่อยากผ่านถ้าไม่จำเป็น คิดดูเป็นขนาดนั้น จิรวัฒน์ ย้อนความหลังแบบขำๆ
แม่ผมเป็นคนชวนให้ไปสภาฯ ตลอด ตอนแรกก็ไม่อยากจะไปแม่ก็ใช้อุบาย พาไปดูเขาสาธิตเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เราไปแต่ก็สนใจแต่เรื่องกบเขาคุยเรื่องอะไรเราไม่ฟัง แม่ก็ไม่ละความพยายามให้เราพามานู่นนี่ประชุมบ่อยๆ นานเข้าพอเริ่มฟังเขาพูดคุยกันเห็นว่าสิ่งที่เขาทำก็เป็นเรื่องดีนี่นะ เลยเปลี่ยนใจลาออกจากงานกลับมาอยู่บ้านทำงานกับชุมชนแทนเพราะอยากช่วยพัฒนาบ้านของเรา
เขาบอกต่อว่าการทำงานพัฒนาบ้านสำโรงนั้น ใช้ระบบสภาผู้นาชุมชนเชื่อมต่อทีละจุดๆ เรื่องไหนสำคัญก็เรียกประชุมหาข้อสรุปทันทีอย่างเรื่องยุงลายระบาดหนักต้องมีลงพื้นที่ตรวจสมาชิกแต่ละครัวเรือน แต่เราไม่ได้ไปดูแค่ยุงลายเราได้เยี่ยมเยียนเรื่องเหล้าทุกอย่างตามสัญญาใจของเรา
เขาบอกไปแค่เหมือนชวนคุยไปเรื่อยๆ แต่คอยสังเกตว่าบ้านไหนปลูกผักยังไม่ครบก็สอบถาม อยากได้ผักแบบไหนครัวเรือนไหนเป็นคนแก่หน่อยปลูกเองไม่ไหว สภาฯ ก็จะไปช่วยปลูกให้พอโตเริ่มเห็นผักงอกงามมีรายได้ชาวบ้านจะเริ่มถามแล้วว่ามีผักอะไรให้ปลูกอีกบ้าง
เดี่ยวนี้สมาชิกในสภาฯ เราเจอหน้ากันปุ๊บคุยเรื่องผัก จนกลายเป็นสภาผัก ไม่คิดละฝ่ายไหนๆ เราก็คุยไปเรื่อยๆชุมชนเรามีผักก็ขอกันได้สภาฯ เอาปุ๋ยให้เขาใช้แลกเปลี่ยนกันได้สักพักเขาเริ่มขยับเข้ามาร่วมเองก็มีบางครั้งเขาไม่เข้าร่วมแต่เขาทำเราก็ให้กำลังใจเขา เขาเล่าทิ้งท้าย
"ผมจะบอกเสมอว่าไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่บ้านคนเดียวที่จะพัฒนาหมู่บ้านได้ เพราะผมไม่ได้เก่งทุกเรื่อง เราเชื่อว่าในแต่ละคุ้มมีคนเก่งๆ ตั้งหลายคน ควรจะส่งตัวแทนมาช่วยกันคิดว่าอยากให้หมู่บ้านเกิดอะไรขึ้นบ้างและแก้ปัญหาหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ"