‘ออร์แกนิก เวย์’ ง่ายดาย แค่ลงมือทำ

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 


ภาพประกอบจากแฟนเพจ SOOK


'ออร์แกนิก เวย์' ง่ายดาย แค่ลงมือทำ thaihealth


หนึ่งในปัญหาร้ายแรงที่สุดของคนไทยในปัจจุบัน ก็คือเรื่องอาหาร  นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว สิ่งแวดล้อมและสังคมก็ล้วนได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน เราในฐานะผู้บริโภค เป็นห่วงโซ่สุดท้ายของระบบควรทำอย่างไรดี เมื่อการรับประทานอาหารที่ดีและมีคุณภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต


 แต่ด้วยราคาและความสะดวกในการเลือกซื้ออาหารคุณภาพในปัจจุบันแล้ว กลับไม่เอื้อให้คนส่วนใหญ่สามารถเลือกสรรมารับประทานได้ โดยเฉพาะคนเมือง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสถานะผู้รับซื้ออาหารผ่านพ่อค้าคนกลางและแหล่งผลิตภายนอก ยากที่จะหลีกเลี่ยงผักและเนื้อสัตว์ที่เจือปนไปด้วยสารเคมี


ในวันนี้มีคนเมืองกลุ่มหนึ่งได้ออกมายืนหยัดและแสดงทางออกของปัญหาให้เห็นแล้วว่า จริงๆ แล้วเราสามารถเลือกสรรวัตถุดิบออร์แกนิกและเป็นผู้ผลิตอาหารคุณภาพได้เช่นกัน


ศูนย์อบรมบ้านสวนเรียนรู้ Organic Way เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อท้าทายแนวความคิดของคนเมืองส่วนใหญ่ที่มักคิดว่า เมืองหลวงแห่งนี้จะปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อรับประทานได้อย่างไร โดยศูนย์แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายมากมาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้'ออร์แกนิก เวย์' ง่ายดาย แค่ลงมือทำ thaihealthสนใจได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงเรื่องการปลูกผัก ซึ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมและคำนึงถึงปัจจัยความเป็นคนเมือง เช่น ใช้เวลาน้อย ปลูกในพื้นที่จำกัด เติมเต็มองค์ความรู้แบบกระชับและเข้าใจง่าย และเสริมพลังในการปลูกผักที่ใครๆ ก็ลงมือทำ


ด้วยแนวคิดท้าทายและเป็นการส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อประชาชน ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. จึงจัดกิจกรรมท่องเที่ยวยังแหล่งเรียนรู้  SOOK Travel ตอนตะลุยสวนชวนทำครัว เพื่อพาผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป 45 คน เปิดโลกการเรียนรู้มุมมองใหม่ของการปลูกผักสำหรับคนเมือง ขึ้นที่ศูนย์อบรมบ้านสวนเรียนรู้ ออร์แกนิก เวย์  ผ่านกิจกรรมที่ได้สาระและบันเทิงมากมาย เช่น การเรียนรู้เทคนิคการรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมต่อมื้อที่ 2:1:1 คือข้าว 1 จาน แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 2 ส่วนแรกเป็นผัก อีก 1 ส่วนคือโปรตีน และอีก 1 ส่วนคือข้าวหรือคาร์โบไฮเดรต


การปรุงที่เหมาะสมต่อวันด้วยอัตราส่วน 6:6:1 ลงมือทำกิจกรรมสนุกๆ ด้วยการตะลุยสวนเก็บผักปลอดสารพิษมาทำอาหารกลางวันด้วยกัน เรียนรู้เทคนิคการปลูกถั่วงอกและต้นอ่อนทานตะวันที่ออกแบบมาให้ง่าย ทั้งวิธีการปลูกและการดูแล นอกจากนั้นยังมีการสอนวิธีการปรุงดินโดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนขององค์ความรู้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำกลับไปใช้ต่อได้ในชีวิตประจำวันได้ ที่สำคัญผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ปลูกต้นไชยา และเพาะต้นอ่อนทานตะวัน เพื่อนำกลับไปดูแลต่อที่บ้านทุกคนอีกด้วย


สำหรับการกินให้ได้ตามสูตร 6:6:1 คือ กินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ควรบริโภคข้าวผ่านการขัดสีน้อย หุงข้าวผสมธัญพืช เช่นข้าวโพด เผือก ถั่ว มัน เพิ่มวิตามิน กินอยู่ท้อง และได้เส้นใยอาหารช่วยในการขับถ่ายดีขึ้น เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนัง ติดมัน หากซื้อไก่ควรซื้อทั้งกระดูก เพื่อเลาะเนื้อมาทำกับข้าว และใช้กระดูกต้มเป็นน้ำซุปได้ หากเป็นไปได้ควรปรุงอาหารกินเอง ซึ่งจะสามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณอาหารได้ ใช้'ออร์แกนิก เวย์' ง่ายดาย แค่ลงมือทำ thaihealthเครื่องปรุงรสแต่น้อย เท่าที่จำเป็น อย่าทำอาหารหลายอย่างแล้วเหลือไว้กินทีหลัง จะทำให้เสียคุณค่าทางโภชนาการและความอร่อยด้วย


หลังกิจกรรมจบแล้ว ผู้เข้าร่วมหลายคนต่างเดินทางกลับบ้านด้วยความรู้ วราพร รักอู่ กล่าวว่า "เมื่อก่อนไม่ชอบการทำกับข้าวเลย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก และไม่รู้จะเริ่มอย่างไร แต่พอได้มาร่วมกิจกรรมแล้ว กลับชอบทำกับข้าวมาก ต่อไปจะทำกินเองตลอดแล้ว เพราะรู้แล้วว่าไม่ยากอย่างที่คิด นอกจากนี้เรายังสามารถเลือกใช้แต่วัตถุดิบดีๆ และปลอดสารพิษได้อีกด้วย เช่น การปลูกคะน้ากินเอง รสชาติก็ดีกว่าคะน้าที่มีสารเคมีซื้อตามท้องตลาดมาก ไม่ซื้อดินถุงมาปลูก และเรียนรู้การเตรียมดิน เข้าใจเรื่องการปลูกผักออร์แกนิกก็คือการปลูกผักให้เป็นธรรมชาติได้มากที่สุด"


วีรพร ตันชัชวาล ผู้ร่วมกิจกรรมอีกคน กล่าวว่าชอบกิจกรรมปรุงดินมาก โดยมีสูตรสีน้ำตาลผสมสีเขียว ของสดผสมของแห้ง ซึ่งก็คือเศษอาหารเหลือทิ้งในครัวทั้งหมด วิธีเตรียมดิน ใช้ใบไม้แห้งซึ่งมีจุลินทรีย์อยู่แล้วจะเป็นตัวย่อยสลายเศษอาหารต่างๆ แล้วถ้ามีอาหารรสหวาน เช่น แกงบวดต่างๆ แกงกะทิ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำจุลินทรีย์ ใส่เปลือกไข่ กากกาแฟช่วยย่อยเข้าไปด้วย ผมกับดินและปุ๋ยคอกขี้วัว คลุกให้เข้ากันใส่ถุงผูกปากไว้ใต้ต้นไม้ให้แดดส่องถึง 15 วัน ดินก็ย่อยสลายทั้งหมด ไม่มีกลิ่นเหม็นแตกต่างจาก 7 วันที่มีกลิ่นบ้าง วิธีนี้ได้ดินดีๆ ไปปลูกต้นไม้แล้ว ยังนำวัสดุเหลือใช้จากชีวิตประจำวันไปทำให้เกิดประโยชน์ได้อีกครั้ง ที่สำคัญไม่คิดว่าในเมืองหลวงจะปลูกพืชผักได้หลากหลายชนิดขนาดนี้"


ใครรักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ มีความสุขกับการปลูกต้นไม้ที่นี่พร้อมต้อนรับทุกๆ คน ในวันจันทร์-วันศุกร์ 10.00-18.00 น. และวันเสาร์ 10.00-16.00 น. โทร. 08-6332-8266 โดยศูนย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ซอยราษฎร์บูรณะ 30 ฝั่งตรงข้ามกสิกรไทยสำนักงานใหญ่

Shares:
QR Code :
QR Code