อดีตมีแซมบ้าปัจจุบันมีซุมบ้า

/data/content/26147/cms/e_cegklmqsuvy1.jpg


          หากมองย้อนกลับจากปัจจุบันสู่กาลอดีต คนวันนี้ที่เป็นคน ยุคปัจจุบัน เริ่มเข้าใจกันมากขึ้นว่า ภูมิปัญญาแต่อดีตที่คน รุ่นเก่าโบราณ กลั่นความคิด กลั่นมันสมอง สร้างสรรค์สิ่งดีงาม ให้กับการดำรงชีวิตมันหาใช่เรื่องด้อยค่า หรือมีคุณค่าน้อยกว่า งานสร้างสรรค์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันเลย


          สังคมวันนี้เราจึงมักเห็นของโบราณ ถูกนำเอามาเป็น แรงจูงใจกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารโบราณ ภูมิปัญญาโบราณ ไม่รวมแม้แต่การออกกำลังกายแบบโบราณ ที่เรียกกันว่า การเต้นรำ


          ปานมณี ยังจำติดตาถึงท่วงท่าการเต้นรำในจังหวะต่างๆ อาทิ รุมบ้า, แทงโก, ชะช่าช่า และอื่นๆจนมาเห็น หน่วยงานของ สสส. คือ การสร้างเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรม "Stretching ยืดหยุ่น ยืดเหยียด ตอน Zumba Dance เต้นสะบัด ขจัดไขมัน" ชื่อ "Zumba Dance เต้นสะบัด…ขจัดไขมัน" เลยทำให้นึกถึงจังหวะโบราณ ในสมัยที่ ปานมณี ยังชื่นชอบการเต้นรำบนฟลอร์ลีลาศที่ชื่อ จังหวัด แซมบ้า


          เลยทำให้ต้องค้นหาว่า แซมบ้า กับ ซุมบ้า ที่ สสส.นำมาจัดกิจกรรมนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากน้อยอย่างไร?


          "Zumba Dance ซุมบ้า แดนซ์" ในวันนี้เกิดขึ้นด้วย เหตุผลที่ว่า การออกกำลังกายที่เป็นความตั้งใจเพื่อออกกำลังกาย ไม่ใช่เรื่องของความตั้งใจจนเกินไป แต่เป็นเรื่องของความ สนุกสนานและปลดปล่อยความเครียดไปกับดนตรีสุดเร้าใจสามารถ เผาผลาญพลังงานได้ถึง 800-1,000 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง โดยไม่รู้สึกเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย ทั้งหมดนี้สามารถชดเชยได้ด้วย การเต้นที่เรียกกันว่า "Zumba Dance ซุมบ้า แดนซ์"


/data/content/26147/cms/e_abcgjrtw1239.jpg


          ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โดยมี ชัชวาล สิงหเสนี หรือ ครูตั๋ง Dance & Exercise Instructor เป็นผู้สอนออกสเต็ปการเต้นในครั้งนี้โดยเผยว่าการเต้นซุมบาเป็น การออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนานเร้าใจ มีทั้งจังหวะช้า-เร็ว สลับกันไปโดยแบ่งเป็น "ซุมบ้า ฟิสเนต" (Zumba Fitness) ซึ่งเหมาะกับวัยรุ่น"ซุมบ้า โกลด์" (Zumba Gold) สำหรับผู้สูงอายุ และ "ซุมบ้า อะโตมิก" (Zumba Atomic) สำหรับเด็กๆ


          ความโดดเด่นของ "ซุมบ้า แดนซ์" ไม่เพียงแต่เป็นการเต้นที่สนุกสนาน สามารถขยับร่างกายได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า ยังช่วย ทำให้หน้าท้องแข็งแรง ยืดหยุ่นข้อและกระดูกเท่านั้น ยังช่วย เผาผลาญพลังงานได้มากถึง 800-1,000 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับการเผาผลาญพลังงานของแต่ละคน)


          "การเต้นซุมบ้าเหมือนกับการเต้นรำที่ทุกคนสามารถเต้นตามได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อนก็สามารถเต้นได้เลย แต่หากต้องการเต้นให้มีท่วงท่าสวยงาม ก็อาจจะต้องเรียนรู้การเต้นลาตินเพิ่มเติม เพราะ "ซุมบ้า แดนซ์" นั้น อาศัยกลิ่นอายดนตรีลาตินเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น เมอร์แรงเก้ (Merengue Rhythm) ซัลซ่า (Salsa Rhythm) คลัมเบิล (Crumble Rhythm) และ เร็กเก้ (Reggae Rhythm)


/data/content/26147/cms/e_egiklqrvwy59.jpg


          นอกจากนี้ยังมี แนวดนตรีของการเต้นระบำหน้าท้อง (Belly Dance) ฟลาเมงโก้ (Flamenco dance) แทงโก้ (Tango Dance) ซู๊ก (Zouk dance) ร็อกแอนด์โรล (Rock 'n' Roll Dance) และอาจจะมีแนวเฮ้าส์ (House Dance) เข้ามาผสมด้วย ซึ่งท่าเต้นจะมีความคล้ายคลึงกันแตกต่างกันเพียงจังหวะของเพลงเท่านั้น สามารถเต้นเองได้ที่บ้าน เพราะเสน่ห์ของ "ซุมบ้า แดนซ์" คือ เต้นได้อย่างสนุกสนานโดยไม่จำเป็นต้องมีคู่เต้น"


          การเต้นในแต่ละครั้งใช้เวลาเพียง 45 นาที หากนับรวมการอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) และปรับร่างกายให้ร้อนน้อยลง (Cool Down) หลังเต้น ก็ใช้เวลารวมเพียงวันละ 1 ชั่วโมงต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน ก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญควรสวมรองเท้าที่ เหมาะสมและสำรวจความพร้อมของร่างกายว่ามีการบาดเจ็บที่หลัง หัวเข่าหรือข้อเท้าหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้


/data/content/26147/cms/e_adijsux23467.jpg


          หลังจากออกสเต็ปการเต้นอย่างสนุกสนานแล้ว ขจิตตราภรณ์ เมืองถ้ำ หรือ ดิว พนักงานบริษัท 1 ในผู้ร่วมกิจกรรม ครั้งนี้ เผยว่าชอบการเต้นอยู่แล้วและเคยลองเต้นในฟิตเนสมาบ้าง เมื่อเห็นว่าทาง สสส. มีสอนเต้นซุมบาจึงเข้าร่วมอย่างไม่ลังเล


          "การออกกำลังกายมีหลากหลาย แล้วแต่ว่าใครจะถนัดแบบไหน สำหรับการเต้นซุมบ้าวันนี้สนุกมาก เราได้บริหารร่างกายทุกส่วนจริงๆ การเต้นซุมบ้า จึงเป็นการออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ทั้งสนุกและเผาผลาญไขมันได้ดี หากใครชอบการเต้นอยู่แล้วหรืออยากลองการออกกำลังกายรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม ก็ไม่ควรพลาด" ดิวฝากทิ้งท้าย


          น่าสนใจขนาดนี้ มาฝึกเต้นซุมบ้าให้สะบัด ขจัดไขมัน กันดีกว่า…สำหรับผู้สนใจกิจกรรมจากทางศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. สามารถติดตามได้ที่ www.thaihealthcenter.org หรือ โทร.081-7318270


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code