หมอจิตอาสา สู่ ‘แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว’

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


หมอจิตอาสา สู่ \'แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว\'  thaihealth


เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งออกมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนสังคมไทยในยุคดิจิตอล ให้ผู้คนได้รับคำแนะนำ ข่าวสาร โดยเฉพาะข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นจริง ชัดเจน และถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนไหนของประเทศ หยุดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ภายใต้ชื่อ "แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว" ทั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊กมีผู้รักสุขภาพติดตามหลักแสน


ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องเชิดชู เหตุนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมอบโล่เกียรติคุณเพื่อขอบคุณทีมแพทย์อาสาในโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว (SOS Specialist) เมื่อหลายวันก่อน นำโดย นพ.อดุลย์ชัย ธรรมาแสงเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทีมแพทย์อาสาในโครงการ ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางทั้งหมด 33 คน รวมทั้งหมด 14 สาขาวิชาชีพ


หมอจิตอาสา สู่ \'แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว\'  thaihealth


นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานคณะกรรมการสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 2 กล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์กับคนที่ไม่ได้อยู่ในตัวเมืองเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้รับความสะดวกสบาย เมื่อไปออกหน่วยที่ต่างจังหวัดเพื่อเข้าไปช่วยผู้ป่วยต้องนั่งรถไปรับคนไข้อยู่หลายชั่วโมง กว่าคนไข้คนหนึ่งจะเดินทางมารักษากับหมอได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เขาต้องเดินทางข้ามภูเขาแล้วต่อรถเข้ามาอีก กว่าจะมาถึงมือแพทย์ได้ ตนเคยมีประสบการณ์ทำงานรักษาผู้ป่วยที่ จ.นครพนม ในพื้นที่ห่างไกล


หมอจิตอาสา สู่ \'แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว\'  thaihealth


ด้าน รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุน สสส. เผยที่มาโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียวว่า เมื่อสองปีที่แล้วโครงการนี้ได้นำเสนอผ่านโครงการสนับสนุนทุนการสร้างสรรค์สื่อและกิจกรรมเพื่อสุขภาวะ (Co-Creative Project) ขณะนั้นประชาชนส่วนใหญ่สับสนในการรับข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพราะมีการแชร์ข้อมูลที่ผิดลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ก สสส.เห็นควรเข้าไปสนับสนุนทั้งบุคลากรทีมทำเว็บไซต์และกราฟฟิก รวมถึงสนับสนุนความคิดเห็นในการพัฒนาโครงการให้มีรูปแบบที่สามารถโต้ตอบกับคนที่สอบถามจากทางบ้านได้ จนปัจจุบันจึงได้เห็นว่าเมื่อหลายสาขาวิชาชีพมีจิตอาสามารถทำงานร่วมกัน มีการจัดการที่ดีสามารถทำให้งานออกมาประสบความสำเร็จได้เช่นกัน พร้อมทั้งน้อมนำพระบรมราโชวาทจากพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ใจความโดยรวมว่า "เป็นหมอ ต้องช่วยคนไทยด้วยกัน" เป็นแรงผลักดันให้ทำงานเพื่อประชาชน


ด้าน นพ.อดุลย์ชัย ธรรมาแสงเสริฐ หรือ หมอเกมส์ ผู้รับผิดชอบโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว บอกว่า ได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นเมื่อ 15 เมษายน 2558 ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ คือ ความทันสมัยของเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนช่วยให้คนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางจริงๆ ได้อย่างสะดวกสบาย


หมอจิตอาสา สู่ \'แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว\'  thaihealth


ปัจจุบัน ในเว็บไซต์แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว แบ่งออกเป็น 16 ห้อง ให้คำแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นห้องกระดูกและข้อ, กายภาพบำบัด, หูคอจมูก, ห้อง LAB, จิตเวช, อายุรกรรม, ตา, เวชศาสตร์และครอบครัว, ทันตกรรม, ผิวหนัง, เวชศาสตร์นิวเคลียร์, รังสีวินิจฉัย, ศัลยกรรม, แพทย์แผนจีน, โภชนาการและห้องโรคเด็ก


"สสส.เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดเว็บไซต์แพทย์เฉพาะทางบาทเดียวขึ้น โดยเข้ามาช่วยเหลือตั้งแต่กระ บวนการวางแผนหาแนวคิดและวางรูปแบบการโต้ตอบในเว็บไซต์ เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์และกราฟฟิกต่างๆ เรียกได้ว่า สสส.เข้ามาปูทางให้ตั้งแต่แรกเหมือนทำทางเดินเพื่อให้เด็กที่เริ่มหัดเดิน เดินได้ถนัดและสะดวกมากยิ่งขึ้น" นพ.อดุลย์ชัยกล่าว


สำหรับทีมแพทย์เฉพาะทางที่เข้าร่วมโครงการด้วยจิตอาสา อย่าง นพ.ชัยวัฒน์ วชิรศักดิ์ศิริ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศิริราช รับผิดชอบห้องอายุรกรรมในโครงการ กล่าวว่า โครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียวทำให้คุณหมอหลายๆ คนได้เข้าใกล้คนไข้ไปอีกหนึ่งก้าว เวลาว่างของเรามีประโยชน์ต่อคนอีกมากมาย เพราะมีคนไข้เข้ามาสอบถามวันละ 30-40 ข้อความต่อวัน


"หมอเคยติดธุระ แล้วไม่ได้เข้าไปตอบคำถามประมาณ 3 วัน พบคำถามกว่าร้อยกว่าข้อความ ทำ ให้รู้ว่ายังมีประชาชนอีกหลายคนที่รอให้หมอช่วยอยู่" นพ.ชัยวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย


ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและความรู้ไม่ไกลตัวด้านการแพทย์ รวมทั้งขอคำปรึกษาด้านสุขภาพได้ที่เว็บไซต์ www.sosspecialist.com และเฟซบุ๊กแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว

Shares:
QR Code :
QR Code