สุรากับอุบัติเหตุจราจร
อุบัติเหตุจราจรที่มีความรุนแรงและพบบ่อยในปัจจุบัน มักเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา จากการศึกษาพบว่า ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทั้งที่เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตร้อยละ 60 เมื่อตรวจพิสูจน์แล้วจะพบแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด (มากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับอาการแสดงของผู้ดื่มสุรา
ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (ม.ก.%)
|
อาการและผลต่อร่างกาย
|
30
|
สนุกสนาน ร่าเริง
|
50
|
ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว
|
100
|
เดินไม่ตรงทาง
|
200
|
สับสน
|
300
|
ง่วง งง ซึม
|
400
|
สลบ อาจถึงตาย
|
ความสัมพันธ์ของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร
ระดับแอลกอฮอล์
ในเลือด(ม.ก.%)
|
สมรรถภาพในการขับรถ
|
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา
|
20
|
มีผลเพียงเล็กน้อยเฉพาะบางคน
|
ใกล้เคียงกับคนไม่ดื่มสุรา
|
50
|
ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 8
|
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 2 เท่า
|
80
|
ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 12
|
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 3 เท่า
|
100
|
ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 15
|
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 6 เท่า
|
150
|
ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 33
|
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 40 เท่า
|
มากกว่า 200
|
ลดลงเป็นสัดส่วนกับระดับแอลกอฮอล์ในเลือด
|
ไม่สามารถวัดได้เนื่องจากควบคุมการทดลองไม่ได้
|
ที่มา: มูลนิธิเมาไม่ขับ
Update:14-07-51