สานเครือข่าย ‘มหาวิทยาลัยแห่งสุขภาวะ’

          "การมีสุขภาพที่ดีและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้มีสุขภาพที่ดีนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะปัจจัยเหล่านี้จะก่อให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่"


          แต่ในพื้นที่ของสถานศึกษาและชุมชนโดยรอบต่างก็เต็มไปด้วยประชากรต่างถิ่นฐานมาอยู่รวมกันซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาวะต่างๆ ได้ง่าย "ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตยกตัวอย่างสถานการณ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่ออดีต ในพิธีลงนามความร่วมมือเป็นเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษากว่า 70 แห่ง


/data/content/26146/cms/e_efikmsvyz248.jpg

         ทีมเชียร์ลีดดิ้ง จากโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี


          "เมื่อปี 2555 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ริเริ่มโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพและมหาวิทยาลัยนวัตกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาพที่ยั่งยืน (RSU Healthy Campus) ภายใต้การสนับสนุนจาก สสส.โดยเน้นประเด็นสำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ การลดละ เลิกบุหรี่ สุรา และสิ่งเสพติด อาหารและโภชนาการปลอดภัย การป้องกันอุบัติเหตุจากจราจรการพัฒนาจิต การแก้ไขปัญหาทางจิตใจและการปรับตัวทางสังคม การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ความรักและเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รวมไปถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน"


          ดร.อาทิตย์บอกว่าอีกว่า ทางมหาวิทยาลัยยังพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน งานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นิสิตและบุคลากรมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น แม้มหาวิทยาลัยจะผ่านวิกฤติทางธรรมชาติมาอย่างหนัก แต่ก็ไม่มีย่อท้อและได้สานต่อโครงการในระยะที่ 2 โดยการเชิญเครือข่ายมหาวิทยาลัยเอกชนร่วมเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลทั้งในระดับชาติและนานาชาติออกไปในอนาคต


/data/content/26146/cms/e_ceijkmnpuxz2.jpg/data/content/26146/cms/e_agjkloprsu68.jpg

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาวะ


          ในการลงนามความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาวะให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น "ทพ.กฤษดา เรืองอารีรัชต์" ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์และบอกอีกว่า สถาบันการศึกษานับว่าเป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่นได้เป็นอย่างดีดังนั้นการตัดสินใจและเดินหน้าร่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพครั้งนี้นับว่าเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่


          "กลุ่มวัยรุ่น นิสิต นักศึกษา ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะที่ไม่ดี อาทิ มีสถานที่เที่ยว สถานบันเทิงและสิ่งยั่วยุต่างๆ รอบสถานศึกษา ทั้งยังมีช่วงเวลาที่ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกายมากนัก ทำให้ความเคยชินกลายเป็นพฤติกรรมสะสมไปจนถึงวัยทำงาน และในที่สุดก็เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งปัจจุบันพบในคนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ สสส. เองจะช่วยเป็นน้ำมันหล่อลื่น ทั้งการนำนักวิชาการเข้ามาช่วยในส่วนขององค์ความรู้ กานำเอาบทเรียนที่เคยเกิดขึ้นและมีผลลัพท์ที่ดีมาให้เกิดการเรียนรู้และเป็นต้นแบบ" ทพ.กฤษดากล่าว


/data/content/26146/cms/e_afgopvwxy124.jpg/data/content/26146/cms/e_efknortvwx28.jpg


          ในมุมมองของ "ดร.พรชัย มงคลวนิช"อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยามและนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เล่าว่า แนวคิดในการดูแลสุขภาพ คือ การเสริมสร้างสุขภาพที่แท้จริง นอกจากการให้ความรู้ความเข้าใจแล้ว ยังต้องสร้างความตระหนัก ให้ทุกคนมีสำนึกที่ดีด้วย ที่สำคัญคือ การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งพร้อมก้าวเดินไปด้วยกัน


          "ถ้าจะให้เกิดความยั่งยืน เราต้องเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยไม่มีรั้วในแง่ของความคิด กล่าวคือมหาวิทยาลัยและชุมชนต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชุมชนจะต้องมองว่ามหาวิทยาลัยเป็นห้องทดลองและมหาวิทยาลัยเองก็ใช้ชุมชนเป็นห้องทดลอง เป็นแหล่งเรียนรู้ในการทำงาน เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้จากกระบวนการจริง ยกตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่รกร้างว่างเปล่าในชุมชนให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ เปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดของคนในชุมชนไปพร้อมๆ กันนอกจากจะเป็นพื้นที่ออกกำลังกาย นักศึกษาจะได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนไปด้วย" ดร.พรชัยกล่าว


/data/content/26146/cms/e_bcdhpquvz238.jpg


          ทางฝั่งตัวแทนนักศึกษา "เจมส์" หรือ"นายจิรายุ ตั้งศรีสุข" นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก มหาวิทยาลัยรังสิตก็ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพผ่านโครงงาน JUST SAY NO ลด ละ เลิกยาเสพติด โดยหวังให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด นอกจากนี้ยังจะสร้างแนวร่วมกลุ่มเยาวชนในรั้วมหาวิทยาลัยก่อนที่จะกระจายความรู้ออกไปสู่ชุมชนด้วย


          "ปัญหาวัยรุ่นกับยาเสพติดถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะวัยรุ่นถือเป็นวัยคึกคะนอง ทั้งความอยากรู้อยากลอง ในฐานะที่เรามีพื้นที่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็พยายามใช้ให้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารเจมส์ก็ขอฝากเยาวชนว่า บางครั้งสิ่งที่เราทำอยู่และคิดว่ามันถูกต้อง ถ้าเราย้อนกลับไปมันอาจจะส่งผลไม่ดีต่อเราในอนาคตได้" นายจิรายุ ฝากทิ้งท้าย


 


 


          ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

Shares:
QR Code :
QR Code