สสส.หนุน ‘แพธ’ เดินหน้า ปัญหาวัยรุ่นเด็กชายพ่อ เด็กหญิงแม่
ภาพข่าวการพบซากทารกกว่า 2 พันศพ ภายในวัดไผ่เงินโชตนาราม เป็นการตอกย้ำปัญหาการตั้งท้องโดยไม่พร้อมอย่างเห็นได้ชัดในสังคมไทย แม้จะมีหลายหน่วยงานเข้ามารณรงค์แก้ไข แต่ปัญหาดังกล่าวนี้ก็ยังไม่หมดสิ้นไปง่าย
ล่าสุดมีโครงการดีๆ เกิดขึ้นมามีชื่อว่าโครงการ up to me เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของเยาวชนในเรื่องเพศและการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้เยาวชนเกิดความตระหนักหากต้องเผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อม
“อุษาสินี ริ้วทอง” หัวหน้างานรณรงค์ทางสังคม องค์การแพธ บอกว่า แพธได้ไปคุยกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ในช่วงกลางปี 2553 เพื่อทำโครงการ up to me หรือปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น
โดยแผนงานของ สสส.มีหลายส่วน ทั้งการพัฒนาเครือข่ายให้บริการ เสริมทัศนคติในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยองค์การแพธจะรับผิดชอบการรณรงค์และให้ความรู้แก่วัยรุ่น และโครงการของเราถือเป็นโครงการเร่งด่วนที่ทำให้เสร็จไปเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา
เราได้ออกแบบกิจกรรมรณรงค์กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ครอบคลุม 24 จังหวัดทั่วประเทศ โดยคัดเลือกจากจังหวัดที่มีข้อมูลทั่วประเทศ โดยคัดเลือกจากจังหวัดที่มีข้อมูลการตั้งท้องสูง และเป็นจังหวัดที่องค์การแพธมีเครือข่ายสุขภาพทางเพศอยู่
ส่วนสาเหตุของการท้องเนื่องจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในวัยเจริญพันธุ์ ในระบบโรงเรียนหรือชุมชน และหากสถานที่ดังกล่าวไม่เอื้อให้เด็กเรียนรู้เรื่องเพศอย่างรอบด้าน หรือสร้างความเข้าใจเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเขาก็มีโอกาสตั้งท้องได้หากไม่ได้รับความรู้ในการป้องกัน
ดังนั้น ระบบการเรียนรู้ หากไม่เข้มแข็งหรือการพูดคุยในครอบครัว ไม่เปิดเผยเรื่องนี้มาก หรือระบบสุขภาพไม่เอื้อให้เด็กเข้าถึงอุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น ถุงยาง หรือยาคุมกำเนิด ก็สามารถทำให้เกิดการท้องได้ นอกจากอุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น ถุงยาง หรือยาคุมกำเนิด ก็สามารถทำให้เกิดการท้องได้ นอกจากนี้ ค่านิยมที่ปรับเปลี่ยนไปที่ไม่เคร่งครัดเหมือนสมัยก่อน ทำให้เด็กได้เจอกันและอยู่ด้วยกันมากขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ
“ทำไมเด็กถึงตั้งท้อง อาจเป็นเรื่องของสภาพธรรมชาติของวัยของเขาที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ สภาพค่านิยม วัฒนธรรม หรือสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป” อุษาสินี กล่าว
หัวหน้างานรณรงค์ทางสังคม องค์การแพธ บอกอีกว่า หากเปรียบเทียบสถิติสำหรับประเทศไทยกับต่างประเทศ เนื่องจากไทยมีระบบติดตามข้อมูลที่ดีในเชิงสาธารณสุข รวมถึงสังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ประเทศเวียดนาม เรื่องเพศในวัยรุ่นอาจไม่เคร่งครัดมากนัก สังคมอาจจะเปิดกว้างมากกว่าประเทศไทย ระบบการป้องกันของเขาอาจจะเข้าถึงวัยรุ่นได้มากกว่า
หากไปดูในประเทศอังกฤษหรืออเมริกา ก็ถือว่าการตั้งท้องของวัยรุ่นสูง หากเป็นเนอร์เธอร์แลนด์ เยอรมนี ภาวการณ์ตั้งท้องในวัยรุ่นต่ำ อาจเป็นเพราะผู้ใหญ่ในสังคมของ 2 กลุ่มประเทศนี้มีทัศนคติแตกต่างกัน
“หากดูสถานการณ์ในประเทศไทย อย่างเช่น ตามข่าวเด็ก ม.6 ซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต และยุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ที่อันตรายสูง และปรากฏการณ์ทารก 2 พันศพที่ไม่ได้หมายถึงวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว จะมีผู้หญิงท้องไม่พร้อมในสถานการณ์ต่างๆ เช่น คนที่ทำงานแล้วหรือมีคู่แล้ว แต่ไม่พร้อมจะรับผิดชอบในเรื่องเศรษฐกิจก็เป็นได้”
การทำงานของแพธยอมรับว่า ปัญหาเรื่องนี้เพราะการศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเท่าทันวัยรุ่น ที่สมัยนี้ต้องรับรู้เรื่องเพศหลากหลายรอบด้าน ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนอย่างเดียว บางครั้งข้อมูลที่อยู่รอบตัวอาจไม่เป็นประโยชน์และมีความเชื่อที่ผิดๆ อยู่ ขณะที่โรงเรียนก็ไม่สามารถให้คำตอบเรื่องนี้ได้อย่างเท่าทัน
ระบบบริการสุขภาพก็ยังติดขัด เช่น เด็กต้องการปรึกษาตั้งแต่คบแฟน หรือว่าหากจะมีเพศสัมพันธ์หรือกำลังอาจจะมี จะป้องกันอย่างไร การเข้าถึงถุงยางอาจจะเข้าถึงยาก แต่หากดูข้อมูลที่ สสส.เปิดเผยออกมาไม่นานมานี้ จำนวน 336 คนต่อวันเป็นอัตราการคลอดของแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ถือว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วง เพราะในช่วงวัยและปัญหาด้านเศรษฐกิจ วุฒิภาวะในการเลี้ยงดูตัวเองอาจไม่เต็มที่ในการพัฒนาตัวเขาและครอบครัวต่อไปได้
“อุษาสินี” บอกว่า แพธเข้าไปรณรงค์ร่วมกับ สสส.ในเรื่องนี้โดยใช้กิจกรรม 3 ชั่วโมง เข้าไปในโรงเรียนต่างๆ ในโรง เข้าไปในโรงเรียนต่างๆ ในโรง เรียนมัธยมและในสายอาชีวะ ตอนนี้ทำจบลงแล้ว 236 โรงเรียน เราจะขอเวลาคือช่วงเช้าอาจทำกับมัธยมต้น ช่วงบ่ายก็ทำกับมัธยมปลาย
โดยจะนำเสนอหนังสั้นทางเลือกแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนละ 15 นาที ระหว่างคั่นหนัง เราจะมีกิจกรรมชวนคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในตอน 2 เราก็มีประเด็นต่างออกไปให้เด็กทำกิจกรรมเสริมความรู้ในเรื่องการคุมกำเนิด ตอนที่ 3 จะนำเสนอข้อมูลทางเลือกต่างๆ หากท้องไม่พร้อมมีทางเลือกอะไรบ้าง ตั้งแต่การยุติการตั้งครรภ์อย่างไร คิดอย่างไร จะปรึกษาใคร
เนื้อหาของภาพยนตร์จะมีตัวเอกคือ “ทัน” และ “ออย” ซึ่งเป็นแฟนกัน และมีกลุ่มเพื่อนของตัวละครชายหญิงทั้ง 2 ฝ่าย ต่อมา เพื่อนของตัวละครชายหญิงทั้ง 2 ฝ่าย ต่อมา “ทัน” ชวน “ออย” ไปบ้านทำอาหารกินกัน พอจบจะเป็นข้อคิดว่า “ออย” ควรไปหรือไม่ หรือหากเราเป็น “ทัน” เมื่อ “ออย” ไม่ไปจะทำอย่างไร หรือจะต้องเตรียมตัวอย่างไรหากต้องอยู่ด้วยกัน 2 ต่อ 2
ต่อมาจะนำเสนอหาก “ออย” มีเพศสัมพันธ์จะทำอย่างไร และจะมีประสบการณ์สัมพันธ์จะทำอย่างไร และจะมีประสบการณ์เพื่อนๆ ที่มาบอกถึงแนวทางการป้องกัน การใช้ถุงยาง หรือการเอาตัวรอดจากแฟน ตอน 3 ตัวละครจะท้องแล้ว และจะทำอย่างไรกับสถานการณ์ดังกล่าว และหาทางออกอย่างไร จะมีการนำเสนอข้อมูลที่เพิ่มขึ้น โดยนำเสนอให้เห็นภาพจะกระทบต่อชีวิตของเราอย่างไร และหากพ่อแม่รู้จะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่เราจำลองให้เห็นว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง
“หนังตอนสุดท้ายจะจบแบบไม่มีคำตอบว่า 2 คนนี้จะเลือกอย่างไร แต่คนดูจะรู้ว่ามีทางเลือกอย่างไรเป็นส่วนที่เอาไปคิดต่อ เป็นประเด็นทิ้งท้ายเอาไว้” หัวหน้างานรณรงค์ทางสังคม องค์การแพธ กล่าว
‘องค์การแพธ’ จุดประกาย ขยายนวัตกรรม เพื่อโลกแห่งสุขภาวะ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณะประโยชน์ระหว่างประเทศ ด้านการแก้ปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสุขภาวะที่ดีของมนุษยชาติ
ปัจจุบันมีสำนักงานย่อยทั้งสิ้น 29 แห่งใน 19 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา (สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม www.path.org)
องค์การแพธ (path) เริ่มดำเนินงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้ด้อยโอกาสในสังคม ทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน และองค์กรชุมชนในการพัฒนาและผลักดันนวัตกรรม องค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยี
โดยเน้นยุทธศาสตร์การทำงานที่สอดคล้องกับปัญหา วัฒนธรรมท้องถิ่น และวิถีชีวิตชุมชน อันนำไปสู่การสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สภากาชาด ไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณ ประโยชน์ ในการพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพและความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีและวิชาการสาธารณสุข เพื่อพัฒนาสุขภาพของผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์