สสส. หนุนภาคี ส่งเสริมการศึกษาแรงงานข้ามชาติ

“ไม่อยากเห็นคนที่ไม่เท่าเทียมกัน และคนที่ยากลำบากกว่าในสังคม คนที่มีโอกาศกว่าต้องช่วยเหลือคนที่ลำบากกว่า” ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว ผู้จัดการโครงการมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) กล่าวถึงแนวคิดเริ่มต้นในการทุ่มเททำงาน เพื่อช่วยเหลือทั้งคนไทย และแรงงานข้ามชาติให้ได้รับการศึกษา


สสส. หนุนภาคี ส่งเสริมการศึกษาแรงงานข้ามชาติ thaihealth


 เมื่อกลางเดือน มิถุนายน ที่ผ่านมา ทพ. กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำทีมลงพื้นที่เยี่ยมมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) โดยมีวัตถุประสงค์ในการเยี่ยมครั้งนี้คือ ได้เข้าใจกระบวนการทำงานของภาคี และพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงปัญหาอุปสรรคที่ภาคีกำลังเผชิญอยู่ พร้อมให้แนวทางแก้ไขและช่วยเหลือ


ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว ผู้จัดการโครงการมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) เล่าถึงการทำงานของมูลนิธิฯ ว่า มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ทำงานกับคนอพยพย้ายถิ่น โดยในปี พ.ศ.2547 แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มอพยพเข้ามาในประเทศไทย จึงได้ทำงานกับแรงงานต่างชาติเป็นหลัก เมื่อมีแรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานไม่ครอบคลุม ลูกหลานของแรงงานไม่ได้รับการศึกษา ออกจากระบบสสส. หนุนภาคี ส่งเสริมการศึกษาแรงงานข้ามชาติ thaihealthการเรียนเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ การได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล ฯลฯ ทางมูลนิธิฯ จึงได้ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนจากชนบททั้งคนไทยและคนต่างชาติ รวมทั้งเสริมสร้างโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตและอนาคตที่ดีขึ้น ด้วยการให้การศึกษา พัฒนาวุฒิภาวะ การเสริมสร้างค่านิยมในการรักบ้านเกิด และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน 


มูลนิธิฯ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานช่วยเหลือกลุ่มเยาวชนเป็น 3 ระดับคือ 1.การจัดการศึกษา เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตด้านอื่นๆ จัดตั้งศูนยการเรียนเด็กข้ามชาติ ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวไทยที่ไม่มีเอกสารประจำตัว ชาวพม่า ชาวกัมพูชา เป็นต้น 2. จัดการศึกษาร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และมูลนิธิดำเนินการจัดการศึกษาเองด้านภาษาไทยในระดับอ่านออก เขียนได้ และส่งเด็กไปเรียนในโรงเรียนสังกัดรัฐบาล 3. โครงการพัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. เน้นผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคลทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพื่อให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


 “ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในเส้นทางการศึกษาคือ เด็กที่เรียนในสังกัด กทม. จะมีทั้งศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป เดินทางกลับประเทศต้นกำเนิด ออกกลางคันเพื่อหางานทำ ส่วนเด็กที่เรียน กศน. มีทั้งที่ยังศึกษาอยู่ และออกไปทำงาน รวมถึงย้ายกลับประเทศต้นกำเนิดนั้น โดยเด็กทั้ง 2 กลุ่มการศึกษาจะได้ทำงานในตำแหน่งที่ดี เช่น เป็นฝ่ายตรวจสอบสินค้า หัวหน้างาน ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีความรู้ และมีคุณภาพ อีกทั้งเด็กๆ ยังมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีในสังคมไทย” ผู้จัดการโครงการมูลนิธิ กล่าวเพิ่มเติมสสส. หนุนภาคี ส่งเสริมการศึกษาแรงงานข้ามชาติ thaihealth


นโยบายด้านการศึกษาของรัฐฯ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ให้ความเห็นชอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนเข้าเรียนในสถานศึกษา เพื่อให้เด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร รวมทั้งให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้แก่สถานศึกษาที่ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่คนกลุ่มนี้ในอัตราเดียวกับเด็กไทย ทางสถานศึกษาจึงรับนักเรียนข้ามชาติเข้าเรียน และปัจจุบันมีสถานศึกษาที่ให้ความร่วมมือคือ โรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนสังกัด กทม. การศึกษานอกระบบ ศูนย์การเรียน รวมแล้วจำนวน 84,540 คน ที่ได้เข้าเรียน แต่ยังคงมีเด็กกว่า 165,460 คน ที่เข้าไม่ถึงการศึกษารูปแบบใดเลย


“อุปสรรคที่พบในเด็กที่เข้าไม่ถึงการศึกษาคือ โรงเรียนยังปฏิเสธการเข้าเรียนของเด็กข้ามชาติ โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีเลขประจำตัว แต่ศูนย์การเรียนก็เป็นทางเลือกให้เด็ก แต่ก็ไม่มีสถานะทางกฏหมายจึงไม่สามารถออกหลักฐานทางการศึกษาได้ การแก้ปัญหาเบื้องต้นเพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาคือ การสนับสนุนสถานประกอบการให้จัดโรงเรียน ในโรงงาน เพื่อให้การศึกษาแก่ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ซึ่งได้นำร่องแล้ว 2 โรงงาน” ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว กล่าว


ด้าน ทพ. กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า การไหลเข้ามาของแรงงานข้ามชาติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และหากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอนาคตอันใกล้นี้ แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจะเดินทางเข้ามาทำงานได้อย่างเสรี ต้องสร้างทัศนคติด้านบวกในเรื่องแรงงานข้ามชาติต่อสถานประกอบการ โรงเรียน เป็นต้น


สสส. หนุนภาคี ส่งเสริมการศึกษาแรงงานข้ามชาติ thaihealth“การให้การศึกษาแก่ลูกหลานแรงงานข้ามชาตินั้นไม่ใช่ภาระ แต่เป็นการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล เป็นการเปลี่ยนมุมมองให้ต่างประเทศมองว่า ประเทศไทยสามารถจัดกำลังคนได้น่าอยู่ ทางมูลนิธิฯ สามารถประสานกับทางหอการค้า ซึ่งให้ความสำคัญกับท้องถิ่นและร่วมแก้ปัญหาเพื่อให้สังคมมีความน่าอยู่ เพื่อขอความช่วยเหลือดังกล่าว นอกจากนี้ยังสามารถประสานสถานประกอบการที่เป็นภาคีของ สสส. เพื่อร่วมมือกันจัดทำโมเดลโรงเรียนในโรงงาน แก่ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิฯ ควรเชื่อมโยงเครือข่ายให้มากขึ้น บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งหาวิธีสื่อสารกับผู้กำหนดนโยบาย เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องการสร้างคน” ผู้จัดการฯ กล่าวทิ้งท้าย


การเยี่ยมภาคีของ สสส. ในครั้งนี้ ได้สร้างกำลังใจ และความปลื้มใจแก่คณะทำงานของมูลนิธิฯ เป็นอย่างมาก และได้รับแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของโครงการให้ประสบความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย…  


 


 


เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ team content www.thaihealth.or.th

Shares:
QR Code :
QR Code