สรุปประชุมและตอบข้อซักถามโครงการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์หลักของ สสส. (www.thaihealth.or.th)
คำถาม : | จากการกำหนดมาตรฐานเบื้องต้นที่สามารถรองรับการใช้งานและการขยายตัวของเว็บไซต์ในอนาคต โดย กำหนดเนื้อที่ (disc space) ให้เพียงพอ และบริหารจัดการค่า bandwitch ที่เอื้อกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยผู้เข้าชมต้องได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับชมแม้ในกรณีมีผู้เข้าชมมากในขณะนั้นก็ตาม ทาง สสส. เป็นผู้จัดเตรียม server ให้ใช่หรือไม่ ? |
คำตอบ : | ใช่ ทาง สสส. เป็นผู้จัดเตรียม server ให้ โดยที่บริษัทต้องหารือร่วมกับ สสส. เพื่อแนะนำ spec ของเครื่อง server ว่าต้องการพื้นที่เท่าไร และมี bandwidth ที่เหมาะสมเท่าไร |
——————————————————— | |
คำถาม : | การทำ performance tuning เพื่อให้เครื่อง server ทำงานได้เร็วรองรับกับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของ สสส. หรือ บริษัทผู้ได้รับงานฯ ? |
คำตอบ : | สสส. เตรียมเฉพาะเครื่อง server ให้ ส่วนการทำ performance tuning เป็นหน้าที่บริษัทที่ต้องดูแลทั้งหมด |
——————————————————— | |
คำถาม : | หน้าที่ 2 ข้อ 6 การพัฒนาระบบเว็บไซต์ที่มีเสถียรภาพ จัดทำแผนบริหารจัดการฐานข้อมูลเว็บไซต์ และจัดหาพร้อม ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เหมาะสม เช่น ระบบป้องกันไวรัส ระบบป้องกันสแปมบอท (spambot) รวมถึงระบบป้องกันการคุกคามจากภายนอก บริษัทผู้ได้รับงานฯ ต้องเตรียมแค่ไหน? |
คำตอบ : | เครื่อง server ที่ทาง สสส. เตรียมนั้นตั้งอยู่ที่ data center ของ isp ซึ่งมีระบบพื้นฐานที่ห้อง data center ควรมีอยู่แล้ว ดังนั้นในส่วนของบริษัท บริษัทผู้ได้รับงานฯ ให้ทำเฉพาะในส่วนของตัว server เองเพื่อให้สามารถให้บริการได้โดยไม่ขัดข้อง ทั้งจากไวรัส สแปมบอด ต่างๆ |
——————————————————— | |
คำถาม : | การออกแบบและพัฒนาโครงร่างเว็บไซต์ (template) จำนวนอย่างน้อย 3 โครงร่าง ซึ่งจะต้องสามารถใช้ได้กับเว็บไซต์หลักและเว็บไซต์รอง หมายถึง theme ใช่หรือไม่ ? ความลึกของ themplate ขนาดไหน รูปแบบเป็นอย่างไร ? |
คำตอบ : | ใช่ โดยให้บริษัทพัฒนา theme เพื่อให้ สสส. สามารถนำมาเลือกใช้เผื่อเอาไว้เปลี่ยนแปลงในอนาคต อย่างน้อยจำนวน 3 theme ซึ่งรูปแบบ theme จะเป็นลักษณะไหน มีรูปแบบอย่างไร เจาะช่องไว้ให้แล้ว หรือสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ในภายหลัง จะเป็นอย่างไร รูปแบบไหนแล้วแต่ทางบริษัทเป็นผู้เสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณา |
——————————————————— | |
คำถาม : | เว็บไซต์หลักสามารถเชื่อมต่อและดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ภายใต้องค์กร สสส. รวมถึงระบบต่างๆ ขององค์กรได้ อาทิ เว็บไซต์ resource.thaihealth.or.th ระบบบริหารโครงการ สสส. เป็นต้น การเชื่อมโยงข้อมูลนั้น ต้องเชื่อมข้อมูลกับเว็บไซต์ และระบบต่างๆ มากน้อยแค่ไหน |
คำตอบ : | การเชื่อมต่อและดึงข้อมูลจากเว็บไซต์และระบบต่างๆ เฉพาะที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สสส. เท่านั้น ไม่เชื่อมโยงหรือดึงข้อมูลจากเว็บไซต์และระบบอื่นๆ ภายนอก โดยที่อาจจะมีประมาณ 3-5 เว็บไซต์ และ 2-3 ระบบต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สสส. อาทิ เว็บไซต์ของศูนย์เรียนรู้ สสส., เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลของ สสส., ระบบบริหารโครงการ เพื่อนำข้อมูลโครงการมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์ สสส. เป็นต้น |
——————————————————— | |
คำถาม : | เชื่อมต่อและดึงข้อมูลมาแสดงนั้นต้องทำทั้งฝั่งจากเว็บไซต์ สสส. เพื่อร้องขอข้อมูลจากเว็บแหล่งข้อมูล และการส่งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมาให้เว็บไซต์ สสส. ขอบเขตงานใน tor นี้ ต้องทำแค่ไหน |
คำตอบ : | บริษัทที่พัฒนาเว็บไซต์ สสส. ต้องร่วมหารือเพื่อจัดเตรียม web service สำหรับร้องขอข้อมูลที่ต้องนำมาแสดง และแสดงข้อมูลให้ได้ตามที่กำหนด ในส่วนของ web service ที่ส่งข้อมูลออกมานั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าของแหล่งข้อมูลนั้นๆ |
——————————————————— | |
คำถาม : | หน้าที่ 2 ข้อ 6 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทั้งหมดจะต้องรองรับการใช้งานที่ทุกคนเข้าถึงได้ ตามข้อกำหนด wcag ระดับ aa และรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตมือถือ จะตรวจสอบกันระดับใดว่าเป็น wcag ระดับ aa ต้องมี certificate หรือไม่ |
คำตอบ : | ต้องออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางที่เรียกว่า wcag 2.0 (web content accessibility guideline 2.0) ตามที่องค์กร w3c เป็นผู้กำหนด โดยผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจากโปรแกรมและเครื่องมือการตรวจสอบในเบื้องต้น และ สสส. จะเป็นผู้ประสานงานร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จัดให้มีการทดสอบการใช้งานจริง เพื่อทดสอบระบบและปรับแก้ไขให้ผู้ใช้งานจริงสามารถเข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ สสส. ได้อย่างถูกต้องที่สุด |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 2 ข้อ 6 การรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตมือถือ หมายถึงการออกแบบเว็บไซต์สำหรับแสดงบน mobile device ด้วยหรือไม่ ข้อมูลที่แสดงบน mobile device จะแสดงแค่ไหนเหมือนกับเว็บไซต์เต็มหรือไม่ ระบุอุปกรณ์ที่รองรับด้วยได้หรือไม่ และระบุเทคโนโลยีในการออกแบบพัฒนาหรือไม่ ? |
คำตอบ : |
ต้องออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับรองรับการใช้งานบนมือถือในรูปแบบที่เหมาะสม แตกต่างไปจากหน้าเว็บไซต์เวอร์ชั่นปกติ โดยอุปกรณ์บนมือถือที่สามารถรองรับได้ทางบริษัทผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้นำเสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณา โดยมุ่งหวังให้ผู้ใช้งานในปัจจุบันเข้าถึงข้อมูลภายในเว็บไซต์ สสส. ได้ง่ายและสะดวกที่สุด
สำหรับการใช้เทคโนโลยีใดในการออกแบบ บริษัทผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้นำเสนอแนวทางการออกแบบให้กับคณะกรรมการพิจารณา
|
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 3 ข้อ 18 เว็บไซต์ต้องรองรับการแสดงผลได้กับทุก web browser ในปัจจุบัน ข้อให้ระบุ web browser ที่รองรับด้วยได้หรือไม่ ? |
คำตอบ : | ต้องออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์รองรับการแสดงผล web browser ที่นิยมในปัจจุบัน โดยแสดงผลได้ดีกับ web browser เวอร์ชั่นอย่างน้อยตั่งแต่ chrome 22.0 , internet explorer 7.0, safari 4, firefox 16.0, opera 12.0 ขึ้นไป |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 3 ข้อ 17 เว็บไซต์รองรับระบบแปลภาษาไทย และอังกฤษ และสามารถเพิ่มภาษาใหม่ได้ในภายหลัง ใช้วิธีการใส่ input เพิ่ม หรือใช้โปรแกรมแปลภาษา ? |
คำตอบ : | บริษัทต้องออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับการแสดงผล 2 ภาษา ได้แก่ ไทย และอังกฤษ โดยใช้วิธีการใดบริษัทผู้เสนอราคาควรเสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณาข้อดีและข้อเสีย โดยคำนึงถึงความยากง่ายในการจัดการข้อมูลของทีมเว็บ content เป็นหลัก |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 2 ข้อ 5 บูรณาการบัญชีผู้ใช้เว็บไซต์ภายใต้องค์กร สสส. ให้สามารถเข้าถึงระบบงานต่างๆ ในลักษณะ single sign-on ต้องทำมากน้อยแค่ไหน เชื่อมโยงกับระบบอะไรบ้าง ? |
คำตอบ : | การบูรณาการบัญชีผู้ใช้เว็บไซต์ เฉพาะที่ อยู่ภายใต้การดูแลของ สสส. เท่านั้น โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าระบบเว็บไซต์ สสส. หลัก และเว็บไซต์ภายใต้การดูแลของ สสส. อย่างน้อย ได้แก่ resource.thaihealth.or.th เป็นต้น |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 7 ข้อ 5 ระบบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องมีระบบเก็บเงินหรือไม่ ? |
คำตอบ : | ในบางกิจกรรมในอนาคตอาจจำเป็นต้องมี |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 7 ข้อ 6 ในส่วนของ back end “สร้างแบบฟอร์มได้ไม่จำกัด” เป็นอันเดียวกับหน้าที่ 12 ข้อ 13 ระบบแบบสอบถาม ใช่หรือไม่ ? |
คำตอบ : | ไม่ใช่ การจัดทำแบบฟอร์มรูปแบบวิธีการใด ให้ทางบริษัทเป็นผู้เสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณา |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 9 ข้อ 9 “แสดงไฟล์ multimedia อย่างน้อย ดังนี้ wma, wmv, wav, mp3, avi, mpeg, flv, mp4 โดยแบ่งตามกลุ่มที่กําหนดพร้อมชื่อและรายละเอียด” แสดงว่าต้องสามารถ streaming ได้จากเว็บ สสส. ใช่หรือไม่ หรือ จริงๆต้องการเพียงให้ embed code จาก youtube เท่านั้น หากเป็นอย่างนั้นข้อนี้ควรกำหนดแค่ให้รองรับการ embed code จาก youtube เท่านั้นหรือไม่ ? |
คำตอบ : | ในการทำงานจริงปัจจุบันทีมเว็บ content ต้องนำไฟล์ไปไว้ใน youtube แล้ว embed code เข้าเว็บสสส. เพื่อให้แสดงวิดีโอได้ และต้อง upload file ต่างหาก เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดวิดีโอนั้นๆได้ แต่ทั้งนี้ ในข้อนี้ ให้บริษัทเสนอวิธีที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความง่ายในการดูวิดีโอของผู้ใช้งาน การบริหารเครื่องแม่ข่าย การบริหาร bandwidth และการทำงานของทีมเว็บ content เป็นหลัก |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 11 ข้อ 11 ระบบแสดงความคิดเห็นในบทความ การทำงานเป็นลักษณะไหน ระหว่างให้คอมเม้นท์ก่อนแล้วค่อยให้ทีมเว็บ content ตามลบ หรือ คอมเม้นท์แล้วยังไม่แสดงบนเว็บแต่ต้องรอให้ทีมเว็บ content approve ? |
คำตอบ : | ในการทำงานจริงปัจจุบันทีมเว็บ content ต้องคอยดูแลและลบข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่ทั้งนี้หากทางบริษัทผู้เสนอราคามีรูปแบบวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานของทีมเว็บ content สามารถดูแลระบบแสดงความเห็นได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ขอให้เสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณา |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 14 ข้อ 17 ระบบค้นหาข้อมูล (search) ในส่วนของ back end หมายถึงข้อมูลอะไร ? |
คำตอบ : | คือ ข้อมูลสถิตที่ สสส. ควรจะสามารถเรียกดูได้ตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ที่ผู้ใช้ได้ค้นหาข้อมูล (search) จากเว็บไซต์ สสส. |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 14 ข้อ 18 ระบบเว็บบล็อก (weblog) สามารถเขียนได้ทุกคนหรือไม่ หรือต้องมีระดับการใช้งานจำนวนหนึ่งถึงจะยอมให้เขียน ? และในส่วนของการมีเทมเพลตเป็นของส่วนบุคคล หมายถึง ? |
คำตอบ : |
สามารถเขียนได้ทุกคน โดยที่ผู้ใช้จะต้องสมัครสมาชิกก่อน
ผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบพื้นหลัง รูปภาพ หรือรูปแบบต่างๆ ที่บริษัทผู้เสนอราคาควรนำเสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณา
|
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 16 ส่วนที่ 3 ย่อหน้า 3 “ต้องดำเนินการภายใน 4 ชม.” ครอบคลุมแค่ไหน เพราะบางส่วนบริษัทไม่ได้เป็นผู้ดูแล เช่น หากเครื่องแม่ข่ายเสีย ไฟดับ ฯลฯ ? |
คำตอบ : | ครอบคลุมการทำงานที่เกิดจากความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม หรือ เกิดจากการลงโปรแกรมต่างๆ บนเครื่องแม่ข่าย (ที่เป็นส่วนที่อยู่ในความดูแลของบริษัท) แต่หากเกินกว่าที่เป็นความดูแลของบริษัทก็ให้รีบติดต่อ สสส. เพื่อร่วมกันดำเนินการหาแนวทางแก้ไข |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 3 ข้อที่ 13 พัฒนาระบบสำรองข้อมูลที่สามารถสั่งสำรองข้อมูลผ่านทางเครือข่ายได้ โดยต้องดำเนินงานสำรองข้อมูลเป็นรายสัปดาห์ และสามารถย้อนหลังข้อมูลได้อย่างน้อย 3 เดือน บริษัทต้องเตรียมแค่ไหน? |
คำตอบ : | ทาง สสส. เตรียมพื้นที่ตัวหลัก และตัวสำรองให้ ส่วนเครื่องมือที่ใช้และวิธีการสำรองนั้นให้ทางบริษัทเป็นผู้จัดเตรียม |
——————————————————— | |
คำถาม : | จากหน้าที่ 3 ข้อที่ 14 “จำนวนผู้เข้าชม 30,000 uip/วัน” มีผลต่อการตรวจรับหรือไม่ เพราะบริษัทต้องส่งงานภายในเวลาที่กำหนด แต่จำนวนมีผู้เข้าชมจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับตอนใช้งานและเนื้อหาในเว็บไซต์ด้วย |
คำตอบ : | เป้าหมาย 30,000 uip/วัน เป็นเป้าหมายเพื่อให้บริษัทนำเสนอแนวทางในการพัฒนาให้กับคณะกรรมการพิจารณา ให้เห็นแนวทางเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย (จากเดิมประมาณ 24,000 uip/วัน) ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการตรวจรับใดๆ และการวัด uip นี้จะใช้ googleanalytic |
——————————————————— |