สธ.ห่วงโรคพิษสุราเรื้อรัง

ส่งผลต่อหัวใจ

 สธ.ห่วงโรคพิษสุราเรื้อรัง

          น.พ.วีรพล นิธิพงศ์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.สมุทรปราการ เปิดเผยว่า สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะดื่มสุราโดยไม่จำกัดหลังจากดื่มไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะเริ่มดื้อแอลกอฮอล์ คือ ต้องการดื่มสุรามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะให้สุราออกฤทธิ์เท่าเดิม นอกจากนี้เมื่อไม่ได้ดื่มสุราจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก มือสั่น

 

          ซึ่งผลเสียของโรคพิษสุราเรื้อรัง ส่งผลต่อหัวใจ หลอดเลือดและตับ จะทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ มีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มสุรา 2-3 เท่า ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งได้ง่าย อาทิ การดื่มสุราพร้อมกับการสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงจะเกิดโรคมะเร็งปาก เกิดโรคตับอักเสบ ตับแข็ง ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ริดสีดวงทวาร และหากได้รับแอลกอฮอล์เกินขนาดอาจทำให้เสียชีวิต ทำให้ความสามารถในการขับขี่พาหนะลดลง รวมถึงเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการลงแดงไม่มาก หลังจากหยุดสุรา 12-72 ช.ม. จะมีอาการหงุดหงิด มือและตัวสั่น แพทย์จะให้ยาและสารทางเส้นเลือด เมื่ออาการดีขึ้นจะให้กลับบ้านได้ และรับยาไปกินต่อ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการลงแดงรุนแรง ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

 

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

 

 

 

 

 

update : 07-09-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : สุนันทา สุขสุมิตร

 

Shares:
QR Code :
QR Code