ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ในบทบาทสสส.โลก
เครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (the international network of health promotionfoundations:inhpf) หรือ “เครือข่าย สสส.โลก” เริ่มจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของกองทุนสร้างเสริมสุขภาพจากทั่วโลก เครือข่ายทำงานผ่านสองพันธกิจหลัก ได้แก่ ขยายผลการดำเนินงานของกองทุนสร้างเสริมสุขภาพที่จัดตั้งแล้ว ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกัน เป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสร้างเสริมสุขภาพใหม่ ๆ
เครือข่าย สสส. โลกประกอบด้วยองค์กรจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนกิจกรรมด้านสร้างเสริมสุขภาพ แต่ละองค์กรสมาชิกอาจมีลักษณะเฉพาะของตน ทั้งนี้ความสนใจในการจัดตั้งกองทุนสร้างเสริมสุขภาพกำลังขยายตัวเพราะประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกรับรู้ถึงประโยชน์ในการมีทุนที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ในปัจจุบันเครือข่ายมีสมาชิกหลัก (full members) ที่เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งคล้ายคลึงกับ สสส. จากทั่วโลกจำนวน 8 องค์กร จาก 7 ประเทศ และมีสมาชิกรอง (associated members) จากอีกราว 6 ประเทศ ดังนี้ สมาชิกหลัก (full members) ประกอบด้วย (สสส.ออสเตรีย) (สสส.สวิตเซอร์แลนด์) (สสส.เกาหลีใต้) (mysihat) (สสส.มาเลเซีย) (thaihealth) (สสส.ไทย) (tongahealth) (สสส.ตองก้า) (สสส.แห่งรัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลีย) (healthway) (สสส.ออสเตรเลียตะวันตก)
ทั้งนี้ผลประโยชน์ต่อ สสส. และประเทศไทย ในการเป็นสมาชิกเครือข่ายอาทิ 1. สสส. จะได้รับการสนับสนุนด้านการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับนานาชาติ เช่น การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนคล้าย สสส. ในประเทศต่างๆ 2. มีการรับรู้ และการยอมรับในผลงานและความเป็นผู้นำของ สสส. จากประเทศสมาชิกในเครือข่ายนานาชาติ
ในทุกปีเครือข่ายจะมีการจัดประชุมประจำปีเพื่อสรุปผลการทำงานของเครือข่ายในรอบหนึ่งปี และวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรสมาชิกในปีต่อไป ซึ่งเจ้าภาพการประชุมจะหมุนเวียนไปตามประเทศสมาชิกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมาที่ประชุมได้เสนอให้ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษา สสส. และภาคีสำคัญด้านการควบคุมยาสูบ เป็นเลขาธิการเครือข่าย สสส. โลก (secretary general of the international network of health promotion foundations :inhpf) โดย ศ.นพ.ประกิต จะดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ 1 กันยายน 2554-31 สิงหาคม 2556 เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ทั้งในด้านการพัฒนาขีดความสามารถองค์กรสมาชิก ด้านการยกระดับงานสร้างเสริมสุขภาพ และด้านการสนับสนุนให้เกิดกองทุนสร้างเสริมสุขภาพในประเทศต่างๆ
นพ.ประกิต กล่าวว่า การได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการเครือข่าย สสส. โลกเป็นผู้เดินหน้าให้ประเทศที่กำลังจะจัดตั้ง สสส. เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่าย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ประเทศที่กำลังจะจัดตั้ง สสส. ขึ้น เช่น สปป.ลาว ที่กำลังมีการดำเนินการจัดตั้งกองทุนยาสูบ อุบัติเหตุจราจร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนซึ่งมีลักษณะเดียวกับประเทศไทย ที่ใช้เงินจากภาษีสุราและยาสูบ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีหลายประเทศที่มีแนวคิดจะจัดตั้ง สสส. ขึ้นเช่น แอฟริกาใต้ เวียดนาม ที่กำลังจะผ่านกฎหมายเช่นกัน
นอกจากการส่งเสริมสุขภาพที่เป็นเรื่องใหม่คือเรื่องของโรคไม่ติดต่อแต่ละประเทศที่เป็นภาระหนักขนาดนี้คือประชากรมีน้ำหนักเกิน ซึ่งแต่ละประเทศได้ดำเนินการด้านใดไปบ้างแล้วเอามาแบ่งปันกัน เช่น ประเทศไทยทำโครงการเด็กไทยไม่กินหวาน โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม คนไทยไร้พุง นมผงไม่มีน้ำตาล แต่ละประเทศได้มีการหารือแล้วว่าจะทำโครงการร่วมกันโดยตั้งเป้าไว้ว่าหนึ่งเรื่องใช้เวลาทำ 3 เดือน
“มีความจำเป็นมากที่ต้องมีเครือข่าย สสส. เพราะระบบที่มีอยู่ตั้งรับคนที่ป่วยแล้ว อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างของประเทศไทยก็เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของปีงบประมาณถ้าเราลงทุนไปในระบบปัจจุบันจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ มีตัวอย่างเมื่อปี 2529 แคนาดาวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตของคน พบว่าการแพทย์แคนาดาติดหนึ่งใน 5 ของโลก แต่ก็มีคนตาย เมื่อย้อนกลับไปดูว่าสาเหตุตายป้องกันได้ อุบัติเหตุรถยนต์วิเคราะห์ 75 เปอร์เซ็นต์ มาจากพฤติกรรมคน 20 เปอร์เซ็นต์ มาจากเรื่องโครงสร้างมาจากถนนและรถ 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องบริการสุขภาพ หมายความว่าถ้าสร้างโรงพยาบาลไม่สามารถลดการตายที่เกิดจากอุบัติเหตุถ้าไม่จัดการพฤติกรรมคนและสิ่งแวดล้อม เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่รับมือกับคนที่ป่วยแล้ว มีกิจกรรมที่ต้องทำคือนโยบายสาธารณะเช่นห้ามดื่มแล้วขับ ควบคุมการกินเหล้า สูบบุหรี่ ถ้าไม่ทำตรงนี้สร้างโรงพยาบาลรักษามะเร็งเพิ่มขึ้น”
ระบบดูแลสุขภาพต้องมองหลากมิติ การตั้งรับไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้คนได้รวมทั้งการทำงานประสานกันทั้งภูมิภาคจะช่วยเสริมการแข็งแกร่งให้ สสส. โลกได้เช่นกัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์