ศาลสั่งควบคุมมาบตาพุด เขตมลพิษร้ายแรง

เร่งดำเนินการลด-ขจัดสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

 

 ศาลสั่งควบคุมมาบตาพุด เขตมลพิษร้ายแรง

          เมื่อวันที่ 3 มี.ค. นางสายสุดา เศรษฐบุตร ตุลาการศาลปกครองระยอง ได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 192/2550 ระหว่างนายเจริญเดชคุ้มที่ 1 กับพวกรวม 27 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งในคำฟ้อง ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า การดำเนินการของนิคมอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลมาบตาพุด ก่อให้เกิดผลบกระทบทางสิ่งแวดล้อม และต่อสุขอนามัยของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดอย่างรุนแรง จนทำให้ประชาชนในท้องถิ่นเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก

 

          แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติละเลย มิได้ประกาศกำหนดให้พื้นที่ตำบลมาบตาพุดและเทศบาลเมืองมาบตาพุดตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมร้ายแรงฯ เป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการควบคุม ลดและขจัดมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 บัญญัติไว้

 

          ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ปรากฎตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษเอกสารแนบท้ายการประชุม ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งที่ 11/2548 ว่า ปัญหามลพิษทางอากาศพบสารอินทรีย์ระเหยมากกว่า 40 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง 20 ชนิด ใน 20 ชนิด พบสารอินทรีย์ระเหยก่อมะเร็งที่มีค่าเกินระดับการเฝ้าระว้งคุณภาพอากาศในบรรยากาศจำนวน 19 ชนิด

 

          การประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษทางอากาศในพื้นที่มาบตาพุด สรุปว่าหากแหล่งกำเนิดทุกแหล่งในพื้นที่มาบตาพุด ระบายมวลสารทางอากาศออกในอัตราสูงสุดตามค่าที่ได้รับอนุญาต จะมีผลทำให้ค่าความเข้มข้นของมวลสารในบางค่าสูงกว่ามาตรฐานของคุณภาพอากาศในบรรยากาศ

 

          สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้นำเสนอข้อมูลจากโครงการศึกษาระบาดวิทยาของโรคมะเร็งในประเทศไทยของจังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2540 – 2544 รายงานว่า สถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของอำเภอเมืองระยองจังหวัดระยองสูงกว่าอำเภออื่นๆ เป็น 3 เท่า และ 5 เท่า คุณภาพน้ำคลองสาธารณะปี พ.ศ.2550 คลองสาธารณส่วนใหญ่มีการรับน้ำทิ้งจากชุมชนส่วนคลองที่รับน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม พบค่าปริมาณของแข็งละลายน้ำรวมมีค่าสูง แสดงว่าได้รับผลกระทบจากิจกรรมในพื้นที่

 

          ส่วนปี พ.ศ. 2551 น้ำคลองสาธารณะในพื้นที่มาบาบตาพุดอยู่ในระดับเสื่อมโทรมน้ำมีสีดำคล้ำ กลิ่นเหม็น พบการปนเปื้อนโลหะหนัก ได้แก่ นิกเกิล ปรอท ทองแดง โครเมียมและสารหนู สูงเกินมาตรฐาน บางแห่งระดับคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินเสื่อมโทรมมาก (ใช้ประโยชน์ด้านการคมนาคม) บางแห่งเสื่อมโทรมมาก (ใช้ประโยชน์ด้านการคมนาคม) บางแห่งเสื่อมโทรม (ช้ประโยชน์ด้านการคมนาคม) บางแห่งเสื่อมโทรม (ใช้ประโยชน์ด้านอุตสหกรรม) คุณภาพน้ำในคลองต่างๆ มีแนวโน้มที่เสื่อมโทรมลง

 

          คุณภาพน้ำทะเลในบางครั้งพบค่าปรอท ไฮโดรคาร์บอน เหล็ก ทองแดง เกิน เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้าทะเลชายฝั่งคุณภาพน้ำบาดลและบ่อน้ำใต้ดินระดับตื้นส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตราน พบการปนเปื้อนโลหะเกินมาตรฐานคือมีสังกะสี แมงกานีส สารหนู และพบสารอินทรีย์ระเหยง่ายเกินมาตรฐาน

 

          ที่ผ่านมาได้มีการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษในประเทศไทยแล้ว 17 พื้นที่ไม่ปรากฎว่า ต้องมีการตรวจวัดหาค่าต่างๆ เช่นเดียวกับในพื้นที่มาบตาพุด นอจกานี้ยังมีเอกสารทางวิชาการอีกหลายรายการล้วนแต่ระบุว่าปัญหามลพิษในท้องที่มาบตาพุดกระทบกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน

 

          ศาลจึงรับฟังว่าเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดเป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหามลพิษ ซึ่งมีแนวโน้มที่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรือกาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลดและขจัดมลพิษได้

 

          ศาลจึงมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดทั้งหมด รวมทั้งตำบลเนินพระ ตำบลมาบข่า และตำบลทับมา ทั้งตำบล ตลอดจนท้องที่ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉางทั้งตำบล เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ศาลที่มีคำพิพากษา

 

          ด้านนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความ นายศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ นายรัชยุทธ วงศ์ภุชชงค์ ประธานชุมชนซอยร่มพัฒนามาบตาพุด นายเจริญ เดชคุ้ม และ พวก ผู้ฟ้องคดีดังกล่าว เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยทุกคนระบุว่ารู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากต่อสู้เรื่องดังกล่าวมาเป็นระยะเวลายาวนาน

 

          “อยากฝากถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ช่วยดูแล อย่าให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอุทธรณ์คดี เพราะต้องใช้เวลานานหลายปี ระหว่างนั้นโรงงานอุตสหกรรมจะเกิดขึ้นอีก ขอให้ยึดหลักธรรมาภิบาลอยู่ร่วกมัน เพื่อพี่น้องประชาชนชาวระยอง”

 

          นายสุรชัย กล่าวว่า คดีนี้เป็นคดีสำคัญ และเป็นคดีตัวอย่างที่ประชาชนมาบตาพุดได้รับผลกระทบ จึงลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ ให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตามกฎหาย เพราะปัจจุบันนี้มาบตาพุดมีความรุนแรงเรื่องมลพิษ และขอขอบคุณนักวิชาการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่นำข้อมูลยืนยันว่ามาบตาพุดมีปัญหารุนแรงเรื่องมลพิษ

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

 

 

update 04-03-52

 

Shares:
QR Code :
QR Code