วิ่งสู่ชีวิตใหม่

คำว่า "บูรณาการ" น่าจะเป็นทฤษฎีการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ ที่ขาดมิได้ อาจจะเนื่องมาจากวิถีชีวิตของคนในสังคมใหม่ยุคนี้ มีความซับซ้อนมากขึ้น การใช้กฎเกณฑ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนำมาพัฒนา หรือ แก้ไขปัญหาของการดำเนินชีวิตจะยึดถืออยู่ แต่เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว ย่อมจะเกิดผลช้า หรืออาจจะทำให้ไม่เกิดผลสำเร็จที่มีความ "เสถียร" อย่างสมบูรณ์


วิ่งสู่ชีวิตใหม่ thaihealth


แฟ้มภาพ


แค่เพียงการรับรู้ในข้อมูล หรือเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันของคนทุกวันนี้ ก็ยังต้องอาศัยการบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงจากสิ่งอื่นๆ เข้ามาให้เป็นส่วนเดียวกับ สิ่งที่เรากำลังทำอยู่


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับสมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว วิ่งสู่ชีวิตใหม่ (Thaihealth Day 10k Run 2015) ภายใต้คอนเซ็ปต์ "วิ่งเปลี่ยนชีวิต" ขึ้น ณ ห้อง Let's Go Green ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. โดยงานวิ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พ.ย.นี้ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กทม. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี และสร้างมาตรฐานการวิ่งสู่มาตรฐานสากล


แรงบันดาลใจจากการแถลงข่าวของผู้จัดงานนี้ ได้รับแนวคิดมาจาก ภาพยนตร์ไทยเรื่อง "รัก 7 ปี ดี 7 หน" ที่ มีคำพูดตอนหนึ่งในเรื่องว่า "ถ้าคุณอยากวิ่ง คุณวิ่งกิโลเดียวก็พอ แต่ถ้าคุณอยากพบชีวิตใหม่ คุณค่อยมา วิ่งมาราธอน" จึงทำให้เกิดโครงการ "วิ่งสู่ชีวิตใหม่"  เพื่อปลุก กระแสการวิ่ง และชวนประชาชนหันมาใส่ใจการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ


วิ่งสู่ชีวิตใหม่ thaihealthอ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิแผนกิจกรรมทางกาย สสส. กล่าวถึงเป้าหมายที่อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี ว่า อยากให้ 365 วัน ของคนไทยทุกคนมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องเพราะสามารถทำได้ทุกวัน ทุกนาทีที่เราออกกำลังกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ


อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ปรากฏการณ์รันนิ่งบูมเกิดขึ้น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2530 บนสะพานพระราม 9 ที่เหล่า นักวิ่งหน้าใหม่นับหมื่นคนออกมารวมตัวกันวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยมี ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "วิ่งสู่ชีวิตใหม่" มาร่วมปลุกระดม และสร้างกระแสให้คนไทย ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เมื่อระยะเวลาผ่านมาเกือบ 30 ปี ปรากฏการณ์รันนิ่งบูมครั้งที่สองได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับภาพยนตร์เรื่องรัก 7 ปี ดี 7 หน และ ศ.นพ.อุดมศิลป์ ก็ได้ขอความร่วมมือกับทางภาพยนตร์เรื่องนี้ปลุกกระแสให้คนไทย ตื่นตัวด้านสุขภาพ จนกำเนิดงาน "วิ่งสู่ชีวิตใหม่" ใน กทม. ที่รวมพลเหล่านักวิ่งวัยรุ่นหน้าใหม่มาร่วมกันสร้างเสริมสุขภาพ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2555


"สำหรับงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ปีนี้ นักวิ่งหน้าใหม่จะหายเหนื่อยระหว่างที่วิ่ง เนื่องจากมีกองเชียร์และนักวิ่งเกือบหมื่นคนให้กำลังใจตลอดทาง รวมไปถึงการดูแลนักวิ่งอย่างดี เมื่อนักวิ่ง ตั้งใจออกมาวิ่ง ชีวิตของเขาเหล่านั้นก็ถูกเปลี่ยนไปแล้ว และยิ่งเจอ สังคมเพื่อนนักวิ่งยิ่งทำให้การตัดสินใจวิ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และ เมื่อเป็นแบบนี้แล้วก็มั่นใจได้ว่าคุณภาพชีวิตเขาจะดีขึ้น และส่งผลดี ทั้งการใช้ชีวิต ครอบครัวและหน้าที่การงาน" อ.ณรงค์ กล่าว


คุณพจน์ เพิ่มพรพิพัฒน์ ประธานสมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย และนักวิ่งวัย 70 ปี เล่าให้ฟังว่า การวิ่งได้เปลี่ยนชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากช่วงอายุ 40 ปีร่างกายเกิดความเมื่อยล้า เจ็บป่วยง่ายจากการทำงานหนักมาตั้งแต่วัยเด็ก หลังจากวิ่งได้ 2 ปี ชีวิตดีขึ้น ร่างกายดีขึ้นมาก และแข็งแรงจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งตนอยากให้งานวิ่งสู่ชีวิตวิ่งสู่ชีวิตใหม่ thaihealthใหม่นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของความ ภาคภูมิใจสำหรับผู้เริ่มวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น และนักวิ่งหน้าใหม่ทุกคน นอกจากนี้ยังมีนักวิ่งรุ่นอาวุโสอายุประมาณ 60-70 ปี ออกมา วิ่งด้วย เพื่อร่วมสะสมระยะทางการวิ่งร่วมกัน 100,000 กม.


ความพิเศษของงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ในปีที่ผ่านๆ มาคือ การกำเนิดนักวิ่งหน้าใหม่ประมาณ 60-70% และในปีนี้เองจะเกิดมาตรฐานการวิ่ง พัฒนาสนามวิ่งสู่ระดับมาตรฐานสากล โดยจะ นำมาใช้กับงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ปี 2558 เป็นครั้งแรก โดยมีเครื่องมือ จับระยะทางรวมของนักวิ่ง พร้อมทั้งมีกลุ่มอาสาสมัคร 3 ทีม ประกอบด้วย 1. ทีมวิ่งนำเวลา (Pacer) 2. ทีมปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน (First Aid / EMS) 3. ทีมสนับสนุนการบริการท้ายขบวนวิ่ง (Sweeper) เพื่อช่วยกันสร้างความสุข ที่เกิดจากการวิ่ง สร้างความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน และการให้ความสำคัญกับนักวิ่งกลุ่มท้ายๆ ที่จะเข้าเส้นชัย


สำหรับ คุณพัชรมน เนมิราช หรือ กุ๊กกี้ครูโยคะ ที่กลุ่มนักวิ่งรู้จักกันดีว่าการวิ่งได้มอบชีวิตใหม่ให้เธอ จากการเผชิญโรคภัย ไม่ว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อน และมะเร็งเต้านม นักวิ่งหญิง แกร่งเล่าให้ฟังว่า เธอเข้าออกโรงพยาบาลในปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ผ่าตัดมาแล้ว 5 รอบ และเมื่อต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา เพิ่งรับการผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันมะเร็งลุกลาม ระยะเวลาการในวิ่งกว่า 2 ปี ทำให้ร่างกายเธอแข็งแรงและสามารถ ฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว จนหมอขอเป็นกรณีศึกษา และในต้นปีหน้างานวิ่ง "จอมบึงมาราธอน" เธอจะลงวิ่งมาราธอนแรก ในชีวิตหลังจากผ่านโรคร้ายต่างๆ มาได้


ได้รับรู้ คุณประโยชน์ของการออกกำลังอย่างนี้แล้ว หากต้องการที่จะนำเอาการออกกำลังกายไปบูรณาการเข้ากับ วิถีชีวิตประจำ สามารถสมัครและลงทะเบียนงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ ได้ที่ http://register.thaihealthdayrun.com/main/register/10 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามได้ที่ www. thaihealthdayrun.com หรือ http://www.guurun.com/ event/thai-health-day-10k-run-2015/ และ เฟซบุ๊ค Thai Jogging Magazine


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code