ร่วมวิ่ง หยุดคำพูด `ปัญญาอ่อน`

          เวลานี้ในสังคมเกิดปรากฏการณ์การออกกำลังกายด้วยการวิ่งร่วมกับการช่วยเหลือและทำบุญไปพร้อม ๆ กัน ประเทศไทยจัดงานวิ่งกว่า 500 ครั้งทั่วประเทศใน 1 ปี แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลาม แม้จะต้องเสียเงินค่าสมัครวิ่งเฉลี่ย 300-500 บาท


/data/content/25214/cms/e_fghilvz23678.jpg


        งานวิ่งที่ เป็นทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์ของสนามในกรุงเทพฯในช่วงเดือน ก.ค.ส.ค.นี้คือ HUMAN RUN ที่นิตยสารอะเดย์จัดขึ้นจะวิ่งในวันที่ 31 ส.ค. บริเวณท้องสนามหลวง เพราะเปิดรับสมัคร 2 สัปดาห์แรกเมื่อต้นเดือน ก.ค. ปรากฏว่ามีนักวิ่งสมัครเต็มแล้ว 4,000 คน


          เช่นเดียวกับงานวิ่ง The Rainbow Run 2014 ครั้งที่ 3 สร้างสถิติจากในปีแรกมีผู้สมัครหลักร้อยทะลุไปหลักครึ่งหมื่น วัตถุประสงค์วิ่งเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษในประเทศไทยของมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม จะวิ่งในวันที่ 3 ส.ค.นี้ที่สวนลุมพินี ปรากฏว่านักวิ่งสมัครเต็มแล้ว 5,000 คน เช่นกัน (แต่สำหรับคนอยากวิ่งก็ไปร่วมวิ่งได้แต่ไม่ได้รับเหรียญ)


          สถาพร จันทร์ผ่องศรี หรือครูดิน อดีตนักวิ่งทีมชาติไทย โค้ชผู้สอนวิ่ง กล่าวถึงงานวิ่ง The Rainbow Run 2014 ว่า งานนี้ไม่ใช่การแข่งขัน แต่จะมาบอกว่าแต่ละคนมีความสามารถพิเศษสามารถอยู่ได้ในสังคม มีนักวิ่งที่มีลักษณะแบบนี้เทรนจนติดทีมชาติ และในสวนสาธารณะลุมพินีมีนักวิ่งที่มีสภาวะความต้องการพิเศษ ได้ถูกเทรนจนสามารถเป็นนักวิ่งแนวหน้ามาแล้ว


/data/content/25214/cms/e_dfnoqrxy1679.jpg


        "ไม่ใช่ความแตกต่างแต่เป็นการค้นพบความสามารถของเขาเอง ที่จะมายืนในสังคมนี้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ กิจกรรมนี้ไม่ได้หยุดแค่ตรงนี้จะเป็นกิจกรรมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้คนทั้งประเทศไทยได้ช่วยกันทำให้สังคมก้าวต่อไปด้วยความพิเศษ สิ่งที่เขามีอยู่อย่า ปิดกั้นช่องทาง อย่าปิดโอกาสของเขา แล้วเราจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพเกิดขึ้นในสังคมไทย" โค้ชผู้ สอนวิ่งกล่าว


          นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าว ว่า ปัจจุบันสังคมยังขาดความเข้าใจกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กอยู่ในระบบโรงเรียนถูกรังแก ถูกเบียดถูกไล่ออกจากระบบการศึกษา เช่นเดียวกับเอดิสันเขามีปัญหาเช่นนี้แต่ได้รับโอกาส จนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นหลอดไฟได้ หรือโมสาร์ท เขาเป็นเด็กไฮเปอร์อยู่ไม่สุข แต่พ่อแม่ค้นพบว่าเขามีความอัจฉริยะ อย่างน้อยสังคมควรให้โอกาสและเขาเหล่านั้นก็จะไม่เป็นภาระทางสังคม


          มูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม ได้อธิบายถึงความต้องการพิเศษไว้ว่า เรียกว่ามีภาวะออทิสซึม มีสมองที่ทำงานแตกต่างจากคนทั่วไป อาจจะเรียนรู้แตกต่าง ได้ยิน ได้รู้สึก และได้กลิ่นแตกต่างจากคนทั่วไป เด็ก ๆ ที่มีออทิสซึมอาจจะรู้สึกลำบากในการบอกคนอื่นว่า "เขาคิดหรือรู้สึกอย่างไร" บางครั้งเขาใช้รูปภาพเพื่อสื่อสาร และเด็กที่มีออทิสซึมอาจจะพูดเรื่องเดียวซ้ำไปซ้ำมา ไม่เข้าใจว่าเรารู้สึกอย่างไร ทำเหมือนไม่ได้ยินเราพูด ไม่อยากแบ่งของเล่นหรือเล่นกับเรา รู้สึกไม่ดีเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวร่างกายที่ดูแตกต่าง (โยกตัวไปมา สะบัดมือไปมา)


          เด็กที่มีออทิสซึมมีจุดแข็งคือเข้าใจรูปภาพ ตั้งใจทำบางอย่างอยู่เรื่องเดียว เรียนรู้กิจวัตรประจำวัน เรียนรู้ทีละน้อยในแต่ละครั้ง เล่นกับคนอื่นที่เขารู้จักดี จุดอ่อน คือ ความเข้าใจคำศัพท์ การเปลี่ยนแปลงไปทำอย่างอื่น ศึกษาวิธีใหม่ ๆ ในการทำสิ่งต่าง ๆ การรู้จักเพื่อนใหม่


          ดังนั้นการสื่อสารกับเด็กกลุ่มนี้สอนให้เขาทำอะไรทีละขั้นตอน ให้เขาสบตากับเราก่อนพูดกับเขา พูดดี ๆ กับเขา /data/content/25214/cms/e_acijopqrstx1.jpgเล่นกับเขา และให้ทางเลือกในการเลือกกิน เล่น เป็นต้น


          นางโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ประธานมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวว่า งานจัดเป็นปีที่ 3 ปีนี้เน้นรณรงค์เชิญชวนให้สังคมหันมาให้ความสำคัญกับคำพูดที่ให้เกียรติกัน โดยเสื้อยืดประจำปีนี้จึงมีคำเขียนว่า "คำพูดมีความสำคัญ พูดกันดี ๆ" (Words matter. Speak Kindly.) เพื่อสนับสนุนให้เลิกใช้คำพูดที่ทำร้ายเด็ก ๆ โดยเฉพาะคำว่า "ป.ญ.อ." (ปัญญาอ่อน) ซึ่งเป็นคำพูดที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และร่วมสนับสนุนโครงการสัมมนาให้กับกลุ่มพ่อแม่ทั่วประเทศมีความคิดเชิงบวกกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


          น.ส.จุฬาลักษณ์ สยามวาลา ตัวแทนกลุ่มนักวิ่ง Punky Runners ผู้ร่วมจัดงานเดอะ เรนโบว์ รัน บอกเล่าถึงการจัดงานว่าจะเริ่มตั้งแต่หกโมงเช้า โดยจะวิ่งภายในสวนลุมพินีจำนวน 1 รอบเท่ากับ 2.5 กม. ซึ่งรายการวิ่งสูงสุด 10 กม. หลังจากนั้นประมาณ 8โมงเช้าจะมี กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาร่วมกิจกรรมวิ่ง 50 เมตร


          "วิ่ง" นำสิ่งดี ๆ ให้เกิดกับสังคมเชื่อว่ากระแสนี้จะยั่งยืนและเบิกบานในหัวใจคนไทยตลอดไป


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ