ระวัง!! นั่งท่าเดิมนาน เสี่ยงกระดูกคอเสื่อม ถึงขั้นหมดสิทธิขยับ

แพทย์แนะเปลี่ยนอิริยาบถ ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลัง

 

ระวัง!! นั่งท่าเดิมนาน เสี่ยงกระดูกคอเสื่อม ถึงขั้นหมดสิทธิขยับ 

          พบมากในหนุ่มสาวออฟฟิตที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ท่าเดิมนานๆ อยู่เป็นประจำโดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถนำมาซึ่งอาการปวดทรมานจากปัญหาหมอนรองกระดูกต้นคอ แนะนำควรไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อป้องกันปัญหาซ้ำซ้อน

 

          เกี่ยวกับกรณีนี้ นพ.สุรศักดิ์ อินทซิ่นศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง เปิดเผยกับ “ผู้สื่อข่าวพิเศษ” ว่าโดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณต้นคอหรือบริเวณรอบๆ สะบัก มักจะมีอาการปวดร้าวมาที่แขนหรือถ้าเป็นมากก็อาจจะชาที่แขนร่วมด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างตรงจุดอาจได้รับการรักษาในเรื่องของโรคกล้ามเนื้ออักเสบและการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะได้ผลดีในระยะเริ่มต้นแต่ในระยะยาวจะส่งผลให้ยิ่งมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากหมอนรองกระดูกต้นคอได้เคลื่อนตัวไปกดทับเส้นประสาทแล้ว

 

          ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณีของนางพรรทิพา แสนทวี อายุ 38 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มาเข้ารับการตรวจรักษาจากศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง เนื่องจากมีอาการปวดร้าวร่างกายซีกขวาจนไม่อาจขยับเขยื้อนตัวได้ หลังจากที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ mri แล้วพบว่าหมอนรองกระดูกต้นคอแตกไปกดทับเส้นประสาทถึง 2 ตำแหน่ง จึงได้ทำการผ่าตัดแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยและผู้ป่วยหายจากอาการดังกล่าวในที่สุด

 

          หลังจากผ่านพ้นการผ่าตัดได้เพียงวันเดียวนางพรรทิพา แสนทวี ได้เปิดเผยรายละเอียดว่า “เกิดอาการคอเคล็ดจึงไปหาหมอ แต่ส่วนใหญ่หมอจะวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบก็เลยทำกายภาพบำบัด ทำได้มา 2 ครั้งก็เกิดอาการปวดด้านขวามาก จนไม่สามารถลุกเดินได้ต้องนอนราบอย่างเดียว กระดิ๊กตัวไม่ได้เลย พอดีมีคนแนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง ซึ่งคุณหมอตรวจพบว่ากระดูกที่ต้นคอแตก 2 ระดับ ต้องผ่าตัดพอผ่าเสร็จแล้วอาการปวดหายไปเลย ดีขึ้นมากค่ะ” นางพรรทิพา กล่าวด้วยน้ำเสียงสดชื่น

 

          ทางด้าน นพ.สุรศักดิ์ อินทชื่น ศัลยแพทย์ต้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง “ข้อแตกต่างระหว่างอาการกล้ามเนื้ออักเสบกับหมอนรองกระดูกต้นคอนี้นะครับ โดยเฉพาะหมอนรองกระดูกต้นคอนี้นะครับ โดยเฉพาะหมอนรองกระดูกต้นคอผู้ป่วยจะเงยหน้าไม่ค่อยได้มีอาการปวด แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเวลาเงยหน้า กลับจะรู้สึกสบายขึ้น ในผู้ป่วยรายนี้หมอเลือกทำแบบแผลเล็กบริเวณต้นคอ ก็เปิดแผลไปประมาณ 2.5 เซนติเมตร เราก็พยายามเปิดแผลให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ เพื่อทำให้ผู้ป่วยฟื้นสภาพได้เร็วก็สามารถที่จะกลับไปทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้นครับ ซึ่งหลังจากผ่าตัดแล้วผู้ป่วยก็สามารถที่จะลุกนั่ง ยืน เดิน เคลื่อนไหวแขนได้ทันทีครับ

 

          ในตอนท้าย ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อโรงพยาบาลรามคำแหง ได้กล่าวเตือนผู้ที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะๆ และออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังหรือกระดูกต้นคอส่วนนั้นให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดอากรปวดและเสื่อมสภาพของกระดูกไดก่อนวัยอันควร

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 

 

update: 23-06-51

 

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code