พลังงานทางเลือก ภูมิปัญญาหาได้ ที่อุทัยเก่า

บ้านหนองไม้ หมู่ที่ 9 ต.อุทัยเก่า อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี เป็นหมู่บ้าน 1 ใน 5 แห่งแรกของ ประเทศที่ได้รับเลือกจากกรมพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน ให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน ด้านพลังงานทดแทน

พลังงานทางเลือก ภูมิปัญญาหาได้ ที่อุทัยเก่า
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

แม้จะเป็นเทคโนโลยียุคบุกเบิก แต่สำหรับผู้สนใจด้าน พลังงานทดแทน เรียกได้ว่าค่อนข้างครบถ้วนหลากหลาย ใช้ได้ในชีวิตจริง อุปกรณ์และเครื่องใช้หลายชิ้นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ธัญชนก เปรมจิตร์ ตัวแทนฐานเรียนรู้ด้านพลังงานให้ข้อมูลที่มาที่ไปของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ แห่งนี้ว่า เริ่มขึ้นเมื่อปี 2548 ที่ผ่านมามีอุปกรณ์ตัวไหนเสีย ชาวบ้านก็ซ่อมแซมดูแลเองได้บ้าง

“ครั้งแรกเรามีทุนหมุนเวียน 30,000 กว่าบาท แต่ตอนนี้เหลือ 10,000 กว่าบาท เพราะเอามาซ่อมแซมพวกเครื่องจักร”

พลังงานทางเลือก ภูมิปัญญาหาได้ ที่อุทัยเก่าในเรื่องพลังงานทดแทนจะมีหลายฐานย่อย ธัญชนกบอกว่าทางศูนย์ฯ สามารถให้ความรู้สำหรับกลุ่มศึกษาดูงาน สาธิตวิธีการทำงานของแต่ละเทคโนโลยี

นอกจากเป็นฐานเรียนรู้ด้านพลังงานแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดกลุ่มแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากเปลือกมะพร้าว กิจกรรมกลุ่มเพาะเห็ดฟาง และเชื่อมโยงกับการทำงานของกลุ่มสตรีแปรรูปอาหาร ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันอีกด้วย

ธัญชนก ให้ข้อมูลภาคทฤษฎีคร่าวๆ ก็ถึงคราวผู้ใหญ่ อดุลย์ สวัสดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 จะพาชมฐานเรียนรู้

ถังเผาถ่าน 200 ลิตร จากถังต้นแบบจากกรมพลังงานทดแทนฯ ปัจจุบันชาวบ้านสามารถผลิตเองใช้เองในครัวเรือน “คนที่นี่มีกันทุกครัวเรือน สามารถโยกย้ายถังไปเผาที่ไหนก็ได้” ผู้ใหญ่อดุลย์ว่า นอกจากถ่านที่ได้ ยังมีน้ำส้มควันไม้เป็นของแถมด้วย

ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องแปรรูปผลผลิตอย่างง่ายโดยอาศัยพลังงานความร้อนเรียงรายกันนับสิบตู้ ลักษณะเหมือนบ้านย่อส่วนยกเสาสูงด้านบนตู้กรุกระจก และทำให้ลาดเทไป 2 ด้านเหมือนหลังคาบ้าน ภายในมีตะแกรงสำหรับตากผลิตภัณฑ์ที่ต้องการอบแห้ง ผนังด้านแคบปิดทึบ ด้านยาวบุตะแกรงตาถี่กันแมลงรบกวน

โซลาร์เซล ที่นี่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซล เพื่อดึงน้ำประปาของหมู่บ้านเพียงอย่างเดียว “ปกติต้องเสียค่าไฟฟ้า 3,000 บาท พอใช้โซลาร์เซล เหลือพันกว่าบาท แต่เวลาไม่มีแสงอาทิตย์ก็ต้องใช้ไฟฟ้า” แม้แผงจะไม่ใช่ของใหม่ทั้งหมด แต่ก็พอใช้สำหรับระบบน้ำประปา หมู่บ้าน ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าส่วนรวมไปได้ ตั้งแต่ติดตั้งมาก็ยังไม่ได้เปลี่ยนใหม่ อดุลย์บอกว่า เคยเสียเหมือนกัน ซ่อมเองไม่ได้ต้องโทรศัพท์แจ้งกรมพลังงานทดแทนฯ เขาจะส่งเจ้าหน้าที่จากพิษณุโลกมาดูให้

พลังงานทางเลือก ภูมิปัญญาหาได้ ที่อุทัยเก่าเตานึ่งก้อนเชื้อเห็ด การทำงานเหมือนกับหม้อนึ่งไอน้ำ ขนาดใหญ่ที่รูปลักษณ์เหมือนเตา เอาหมูเข้าไปนึ่งทั้งตัวก็ยังได้แต่ก่อนใช้แก๊สนึ่งครั้งละ 1,600 ก้อน หมดแก๊สไป 1 ถัง กว่าๆ ชาวบ้านเห็นปัญหาเลยแปลงมาใช้ฟืน ซึ่งใช้แค่ 50 กิโลกรัม ประหยัดพลังงานมากกว่า แล้วก็หาได้ในพื้นที่ “วัตถุดิบในพื้นที่เรา มีเยอะ เปลี่ยนมาใช้แบบนี้แล้วสบาย” อาจต้องนึ่งนานกว่าใช้แก๊สหน่อย โดยใช้อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ประมาณ 3 ชั่วโมง (เริ่มจับเวลาเมื่ออุณหภูมิขึ้นถึง 95 องศาเซลเซียส)

เครื่องอัดแท่งถ่าน มีกำลังการผลิตชั่วโมงละ 80 แท่ง วัตถุดิบคือกะลามะพร้าวบดผสมกับถ่านก้นเล้า หรือถ่านไม้จริงที่ใช้ตามบ้านมาผสม ช่วยให้แรงขึ้น อัตราส่วนถ่านป่นต่อ แป้งมัน 10 ต่อ 1 เคล้าให้เข้ากัน

ผู้ใหญ่อดุลย์ยอมรับว่า มีปัญหาจากเทคโนโลยีที่ทางกรมพลังงานฯ ลงไว้ให้บ้าง เนื่องจากบางอย่าง ชาวบ้านไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ ตอนนี้แกนชำรุด ซ่อมเองไม่ได้ ต้องส่งไปที่เชียงใหม่

บ่อหมักก๊าซชีวภาพ พลังงานสะอาดที่ผลิตจากสิ่งไม่พึงประสงค์ คือสุดยอดพลังงานทางเลือกของที่นี่ วัตถุดิบของบ่อหมักก๊าซ คือขี้วัว ขี้หมู ได้จากโครงการธนาคารโค และการเลี้ยงหมูหลุมในหมู่บ้าน “บ้านแถวนี้ 2-3 หลัง ก็ใช้ก๊าซจากบ่อหมักบ้าง แต่ส่วนใหญ่ ส่วนตัวก็ใช้ถ่านกันหมด ก๊าซจะใช้ในกลุ่มมากกว่า”

รูปทรงของบ่อหมักเป็นทรงโดม (fixed dome) ถ้าวางบ่อตรงจากเล้าหมูจะไม่วางสูงขนาดนี้ แต่อดุลย์ยอมรับว่า “ชาวบ้าน ทำกันเอง ตอนทำอ่านแบบผิดไปหน่อย เลยออกมาสูงไปนิด ปกติมันต้องต่ำๆ ยกเล้าหมูขึ้นไปอีก”

สิ่งที่ลอดออกมาจากถังเกรอะของบ่อหมักนี้ ช่วยให้ต้นไม้งอกงามได้ดีมาก เพราะพริกที่อยู่บริเวณนั้น ออกผลดกแดงเต็ม ต้น เป็นประจักษ์พยาน จากนั้นผู้ใหญ่อดุลย์เดินลิ่วมาเปิดเตาที่ต่อท่อจากบ่อหมักก๊าซ พิสูจน์ความแรงของก๊าซชีวภาพ ระยะจากบ่อหมักถึงเตาไม่ควรเกิน 150 เมตร ถ้าไกลกว่านี้ ก๊าซที่ได้จะเบาลง

“แต่ก๊าซแบบนี้รั่วไม่อันตราย ไม่เหมือนแอลพีจี หรือเอ็นจีวี ต่อให้ไปก่อไฟใกล้ๆ ก็ไม่ระเบิดเพราะเป็นก๊าซมีเทนเป็นส่วน มาก” ส่วนใหญ่ท่อมักรั่วบริเวณใกล้เตารอยต่อ และส่วนที่โดนแดดเป็นประจำ

เรื่อง: อภิรดา มีเดช
ที่มา: เว็บไซต์ปันสุข สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน

สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน   สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชนสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน        

Shares:
QR Code :
QR Code