ผลสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือคนที่รักที่สูบ

เนื่องด้วยวันที่ 31พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือคนที่รัก สูบบุหรี่ จำนวน 1,076คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า


ผู้ที่สูบบุหรี่ร้อยละ 85.3 ระบุว่าเคยคิดที่จะเลิกสูบบุหรี่ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 53.8 ระบุว่า คิดจะเลิกสูบเพื่อตัวเอง และร้อยละ 31.5 ระบุว่า คิดจะเลิกสูบเพื่อครอบครัวและคนที่รัก ในขณะที่ ร้อยละ 14.7 ระบุว่าไม่เคยคิดจะเลิกสูบ สำหรับเหตุผลที่ปัจจุบันยังไม่เลิกสูบบุหรี่ คือ ยังทำใจเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ ใจไม่แข็งพอ (ร้อยละ 30.3) รองลงมาคิดว่า เป็นเพราะความเครียดกับเรื่องต่างๆ (ร้อยละ 17.0) และ เป็นความเคยชิน (ร้อยละ 7.1)


การเลิกคิดว่าจะสูบบุหรี่หรือไม่


เมื่อถามว่าเวลาสูบบุหรี่ เคยคำนึงถึงคนรอบข้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัวหรือคนที่รักบ้างหรือไม่ พบว่า


ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 85.2 คำนึงถึงและจะไม่สูบในที่ที่มีคนอยู่ ร้อยละ 6.3 คำนึงถึงแต่เชื่อว่าเขาจะไม่ว่าและเดินหนีออกไปเอง ในขณะที่ ร้อยละ 8.5 ไม่คำนึงถึงและให้เหตุผลว่าถ้าเขาไม่ชอบก็ควรเดินหนีไปเอง


เวลาสูบบุหรี่ เคยคำนึงถึงคนรอบข้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัวหรือคนที่รักบ้างหรือไม่


ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือมีคนที่รักสูบบุหรี่ว่าเคยบอกให้เลิกสูบบุหรี่หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.0ระบุว่า เคยบอกให้เลิกสูบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 53.3ต้องการให้เลิกสูบเพื่อครอบครัวและคนที่รัก และร้อยละ 29.7ต้องการให้เลิกสูบบุหรี่เพื่อตัวเอง ในขณะที่ ร้อยละ 17.0ไม่เคยบอกให้เลิกสูบ โดยให้เหตุผลว่า บอกไปแล้วก็ไม่ยอมเชื่อ มันเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่กล้าบอก โตแล้วคิดเองได้ ฯลฯ ส่วนวิธีที่ปฏิบัติเมื่อต้องอยู่ใกล้ๆ คนที่กำลังสูบบุหรี่ ร้อยละ 60.2จะเดินหนีไปเอง รองลงมาร้อยละ 9.4จะพยายามอยู่ห่างๆ และร้อยละ 9.2จะเอาผ้าปิดจมูก กลั้นหายใจ


สำหรับความคิดเห็นต่อนโยบายรณรงค์ให้ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ ของภาครัฐไม่ว่าจะเป็น นโยบายการใช้ภาพคำเตือนหน้าซองรณรงค์ประชาสัมพันธ์/การใช้ข้อความรณรงค์โฆษณา จากดารานักร้องให้ “ลด ละ เลิก” สูบบุหรี่/หรือแม้กระทั่งการขึ้นภาษีบุหรี่อันจะทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นนั้น พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 19.2ที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้สูบสูบน้อยลง และมีเพียงร้อยละ 1.7เท่านั้นที่ระบุว่าจะเลิกสูบไปเลย ขณะที่ร้อยละ 73.9เชื่อว่ายังสูบเหมือนเดิม


ส่วนความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ ของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการห้ามประชาสัมพันธ์บุหรี่ผ่านสื่อต่างๆ/การห้ามขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี/หรือแม้กระทั่งการห้ามแสดงผลิตภัณฑ์บุหรี่ที่จุดขายโดยให้ใช้คำว่า“ที่นี่มีบุหรี่ขาย”แทน เพื่อลดจำนวนผู้สูบใหม่นั้นก็พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 32.5 เท่านั้นที่เชื่อว่าสามารถช่วยลดจำนวนผู้สูบใหม่ได้ มีเพียงร้อยละ 67.5 ที่เชื่อว่าไม่สามารถช่วยได้


 


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

Shares:
QR Code :
QR Code