ประกาศ
การประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการภาคีในพื้นที่
หลักการและเหตุผล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีสุขภาวะได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะประชาชนทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด พื้นที่เสี่ยง อุบัติเหตุ เป็นต้น และส่งเสริมปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีในพื้นที่ มีสื่อสร้างสรรค์ ผลักดันให้เกิดกฎหมายและนโยบายเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น ทำให้เกิดโครงการต่างๆ มากมายกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
โครงการดังกล่าวจำนวนมากเป็นโครงการนวัตกรรม ปรากฏผลลัพธ์อย่างงดงาม น่าที่จะนำเสนอผ่านสื่อมวลชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเผยแพร่ผลงานเพื่อจุดประกายในสังคม และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ภาคีเจ้าของผลงานและประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ด้วย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจึงมีโครงการที่จะเผยแพร่ผลงานในพื้นที่ต่างๆ เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อนำเสนอผลงานที่ภาคีและสำนักได้ดำเนินการจนเกิดผลสัมฤทธิ์ในการสร้างเสริมสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของโครงการผ่านสื่อมวลชนระดับประเทศ และสื่อท้องถิ่น ถึงกิจกรรมความ
ก้าวหน้า และความสำเร็จของโครงการ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และสร้างกระแสให้เกิดความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
2. เพื่อกระตุ้นให้สื่อมวลชน เข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของโครงการ แก่สาธารณชน
3. เพื่อให้สื่อท้องถิ่นตระหนักในคุณค่าของผลงาน โครงการและให้ความร่วมมือในการนำเสนอ
4. เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสสส.และภาคีในการสร้างสรรค์งานสร้างเสริมสุขภาวะแก่ประชาชน
กรอบของการปฏิบัติงาน
1. ติดตามผลงานและลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล และเผยแพร่งานของโครงการ
2. รับผิดชอบการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม ความก้าวหน้า ความสำเร็จของโครงการในพื้นที่
ผ่านสื่อกลาง สื่อภูมิภาค และสื่อของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
3. สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ของโครงการ
4. ให้บริการคำแนะนำแก่ภาคีเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ผลงานของโครงการ
5. ประสานสื่อมวลชนส่วนกลาง และสื่อภูมิภาคร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ร่วมกับคณะกรรมการ
กองทุน สสส. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เป้าหมาย
1. ประสานสื่อมวลชนในการลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยสื่อมวลชนส่วนกลาง ประกอบด้วยสื่อโทรทัศน์ ไม่น้อยกว่า 1 สถานี สื่อหนังสือพิมพ์ ไม่น้อยกว่า 5 ฉบับ โดยเป็นสื่อมวลชนฉบับที่มียอดจำหน่ายสูง ไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ และสื่อภูมิภาคร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ร่วมกับคณะกรรมการกองทุน สสส.
2. ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่
2.1 ความสำเร็จและความก้าวหน้าของโครงการ ตลอดจนความรู้สึกที่ดีของผู้ได้รับทุน และประชาชน
ผู้ได้รับผลประโยชน์ในพื้นที่เดือนละ 4 ครั้งในรูปแบบของข่าว ภาพข่าว และบทความ
2.2 เผยแพร่ผ่านสื่อส่วนกลาง
– โทรทัศน์สาธารณะและ/หรือเคเบิลทีวี ไม่ต่ำกว่า 1 สถานี, โทรทัศน์เสรี ไม่ต่ำกว่า 1 สถานี
– สื่อหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 5 ฉบับ ในรูปแบบของข่าว หรือบทความ
(ฉบับที่มียอดจำหน่ายสูงและฉบับที่เป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะกลุ่ม)
– วิทยุส่วนกลาง 3 สถานี
2.3 เผยแพร่ผ่านสื่อท้องถิ่น (เช่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิทยุท้องถิ่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว ฯลฯ)
ไม่ต่ำกว่า 150 ครั้งต่อปี
2.4 เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ ไม่ต่ำกว่า 30 เรื่อง
2.5 ข่าวประเด็นใหญ่ที่ทำให้เกิดกระแสระดับประเทศ ไม่ต่ำกว่า 6 ประเด็น โดยนำเสนอในแต่ละ
ประเด็นอย่างต่อเนื่อง
2.6 ผลิตข้อมูลสำหรับเผยแพร่ในสื่อของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
อันประกอบด้วย ภาพข่าวเคลื่อนไหว ในรูปแบบคลิปวีดีโอ ความยาว 1 นาที ในแต่ละโครงการ
ที่ได้เผยแพร่ รวมถึงสารคดีวิทยุ ความยาว 1 นาที และบทความ
3. ภาคีพึงพอใจต่อการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และเข้าใจถึงบทบาทการประชาสัมพันธ์
เพื่อเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ
พื้นที่ปฏิบัติงาน
พื้นที่ที่มีโครงการของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเผยแพร่เดือนละ 4 เรื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2554 – 30 พฤศจิกายน 2555
งบประมาณ
สสส. สนับสนุนภายในวงเงิน 3,500,000 บาท (สามล้านห้าแสนบาทถ้วน) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ติดต่อประสานงาน ค่าตอบแทนคณะทำงานตามประสบการณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติ
1. เป็นคณะทำงานผู้มีอาชีพและมีประสบการณ์ด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร การวิเคราะห์ข้อมูล
2. สามารถจัดกลไกการปฏิบัติงานได้ทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาคครอบคลุมพื้นที่ที่กำหนด
3. สามารถติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้
การเสนอข้อมูล
จัดทำเสนอ จำนวน 5 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย
1. ข้อเสนอด้านแนวคิด วิธีการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ
2. ข้อเสนอด้านงบประมาณ พร้อมรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม
3. รายชื่อ และประวัติการทำงานของคณะทำงานทั้งหมด
ข้อเสนอดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองโครงการ การพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติโครงการ และปรับปรุงโครงการตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และ สสส. ก่อนการสนับสนุนอีกครั้งหนึ่ง
**จัดส่งที่**
น.ส.ขวัญลดา จิราดิษย์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เลขที่ 979 อาคารเอส.เอ็ม ทาวเวอร์ชั้น 34
ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ผลงานที่กำหนดให้ส่งมอบเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน
1. สรุปสื่อที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยแยกประเภทของสื่อ ระบุจำนวนและมูลค่า
2. สรุปวิเคราะห์งานทั้งหมดที่ได้ดำเนินการมา
3. สรุปรายงานการใช้จ่าย ตามแบบรายงานที่กำหนด
– ประกาศฉบับนี้ขอแจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม – 18 พฤศจิกายน 2554
เปิดให้ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2554
– ประกาศผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก เพื่อมานำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ ผ่านทางเว็บไซด์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)