‘บ้าน’ ที่ทุกคนต้องการ

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


'บ้าน' ที่ทุกคนต้องการ thaihealth


บ้าน คือ ที่พักพิงและเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคนที่เรารักและรักเรานั่นคือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ฝากชีวิตไว้กับบ้านหลังนี้ตลอด 24 ชม. แต่เราอาจหลงลืมไปว่าบ้านที่อยู่อาศัยทุกวันนี้ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิต ได้สะดวกมากขึ้นหรือไม่


ทั้งราวจับในห้องน้ำ ทางลาดสำหรับรถเข็นวีลแชร์ เตียงนอนที่ความสูงพอดี หรือแม้กระทั่งอ่างล้างจานที่มีพื้นที่ให้สอดรถเข็นวีลแชร์เข้าไปได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างบ้านที่เมื่อทุกคนมาอยู่ ร่วมกันก็กลายเป็นบ้านแห่งความสุข เมื่อการหกล้มของผู้สูงอายุก่อให้เกิดความสูญเสียอันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ลูกหลานจึงไม่ควรนิ่งดูดาย แนวคิด "บ้าน" ที่ออกแบบใหม่เพื่อทุกคนจึงเกิดขึ้น


ภายใต้ความร่วมมือจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำมาสู่การก่อตั้ง "ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat.UDC )" ณ เทศบาลนครรังสิต จ.ปทุมธานี


'บ้าน' ที่ทุกคนต้องการ thaihealth


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุมเขต แสวงเจริญ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat.UDC) เล่าถึงแนวความคิดการออกแบบ ไว้ว่า Thammasat.UDC จะเป็นศูนย์ให้บริการคำปรึกษา ออกแบบปรับปรุงบ้าน เป็นที่ปรึกษาให้กับภาครัฐและเอกชน รวบรวมองค์ความรู้ ค้นคว้างานวิจัย นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และคนทุกวัย จัดอบรม มีทีมวิทยากรบรรยายการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อ ทุกคน รวมถึงบริการประเมินนอก สถานที่ เป็นที่ให้คำปรึกษา แนะนำ  เผยแพร่กับประชาชน รวมถึงเป็นธนาคารอุปกรณ์ ในการรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริงของผู้สูงอายุและผู้พิการ ตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) โดยมีเป้าหมายให้คำปรึกษาไม่ต่ำกว่า 500 หลังคาเรือนต่อปี และ เกิดการปรับเปลี่ยนจริงไม่ต่ำกว่า 10 หลังคาเรือน ซึ่งปัจจุบันบ้านเรือนที่เทศบาลนครรังสิตได้ปรับบ้านจริงแล้วกว่า 34 หลังคาเรือน


'บ้าน' ที่ทุกคนต้องการ thaihealth


"เราเลือกตั้งศูนย์ที่นี่เพราะอยากใกล้ชุมชน ใกล้ชาวบ้าน สะดวกต่อการเข้ามาดูต้นแบบการติดตั้งอุปกรณ์หรือขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ เรามีการบูรณาการกับชุมชน เนื่องจากที่นี่มีช่างชุมชน มีการใช้ไม้พาเลทในระบบอุตสาหกรรมมาก เราจึงออกแบบ UD-Best เตียงสั่งตัดที่ประกอบขึ้นตามสัดส่วนของแต่ละบุคคล เน้นความปลอดภัย มีราวกั้นข้างเตียงสามารถพับเก็บได้ โดยมีช่างชุมชนเป็น ผู้ผลิต ทั้ง 2 รุ่น คือ รุ่น 1 ที่นอน และรุ่นเก็บซ่อนที่นอนผู้ดูแลไว้ใต้เตียง โดยจะมีความสูงที่เหมาะสมจากพื้นถึงข้อพับของผู้ใช้ เพื่อที่เวลาย่อตัวนั่งผู้สูงอายุจะ ไม่ต้องเกร็งมาก ซึ่งการใช้อุปกรณ์ ที่ปลอดภัย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงใน การเกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีชีวิตยืนยาว ลดภาวะการพึ่งพา" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุมเขต กล่าว


'บ้าน' ที่ทุกคนต้องการ thaihealth


ด้าน ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. บอกถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในบ้านว่า ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการหกล้มประมาณ 900-1,000 คน เฉลี่ย 2-3 คนต่อวัน หากมองถึงเหตุของการเกิดแล้วจะพบว่าเป็นอุบัติเหตุที่สามารถป้องกันได้ สสส. จึงเข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดการปรับสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ซึ่งจากข้อมูลปี 2557 พบว่า มีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่พร้อมปรับปรุงบ้าน เท่ากับว่าผู้สูงอายุส่วนมากยังไม่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน เช่น  ติดราวจับในห้องน้ำ-ห้องนอน


"สสส. สนับสนุนการประยุกต์ความรู้จากคณะสถาปัตยกรรม 5 มหาวิทยาลัยครอบคลุมทุกภูมิภาค จนเกิดเป็นศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Universal Design Center: UDC) ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แม้ปัจจุบันจะเริ่มโครงการได้ไม่นาน แต่ก็ทำให้มีการปรับบ้านแล้วทั้งหมด 102 หลัง"


'บ้าน' ที่ทุกคนต้องการ thaihealth


ด้าน ธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่เทศบาลนครรังสิตได้ เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนับสนุน งบประมาณและสถานที่ คือ อาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในการจัดตั้งศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน Thammasat.UDC เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและประชาชนในการเข้าใช้บริการ ขอคำปรึกษาเรื่องการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือปรับสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัยจากเจ้าหน้าที่ เพื่อลด ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ


'บ้าน' ที่ทุกคนต้องการ thaihealth


ด้านผู้สนใจปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม อย่าง โกศล คงสวัสดิ์วรกุล อายุ 64 ปี ให้ความเห็นหลังจากชม Thammasat.UDC ว่า ตนอาศัยที่ จ.สมุทรปราการ ทราบข่าวเปิดศูนย์ฯ นี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันนี้เป็นวันแม่จึงชวนภรรยามาดูตัวอย่างศูนย์ด้วยกัน เนื่องจากคุณพ่อเคยเซล้มในห้องน้ำ ที่บ้านถึง 2 ครั้ง  หลังจากนั้นจึงติดราวจับในห้องน้ำและทางเดินขึ้นบันได พอได้มาเห็นศูนย์ฯ นี้ก็ยิ่งกระตุ้นให้อยาก ปรับตัว เพิ่มไอเดียที่จะปรับปรุง มากขึ้น และบอกต่อคนอื่นๆ ได้ด้วย


สนใจสามารถขอรับคำปรึกษาหรือ อุปกรณ์ตัวอย่างได้ที่ ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat.UDC) หรือ เฟซบุ๊คแฟนเพจ หน่วยวิจัยและการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Shares:
QR Code :
QR Code