ถอดบทเรียน สร้างเมืองจักรยาน ‘ไทเป’

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ถอดบทเรียน สร้างเมืองจักรยาน 'ไทเป' thaihealth


แฟ้มภาพ


ระยะที่เมืองไทยกำลังตั้งไข่สร้างทางจักรยาน ประสบการณ์จากแต่ละประเทศถูกหยิบยกมาพูดคุย มหานครไทเป ประเทศไต้หวัน เป็นตัวอย่างของการสร้างเมืองจักรยานติดอันดับโลก


เวทีประชุมวิชาการ เดิน-จักรยาน ครั้งที่ 4 ภายใต้ธีม "เดิน จักรยาน เป็นงานของทุกคน" ซึ่งจัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย ได้มีโอกาสเชิญ ดร.เผิง เจิ้น เฉิง(Dr.Cheng-sheng Pong) ผู้ตรวจการ สำนักโยธาธิการ รัฐบาลนครไทเป ประเทศไต้หวัน มาถอดบทเรียนการสร้างเมืองจักรยานที่ไทเป


ถอดบทเรียน สร้างเมืองจักรยาน 'ไทเป' thaihealthดร.เผิง เจิ้น เฉิง  เล่าว่า ในปี 2540 นครไทเป เริ่มเส้นทางจักรยานครั้งแรก ริมแม่น้ำสู่ทางจักรยานในเมือง นับเป็นการออกแบบทางจักรยานใหม่สำหรับเมืองในเอเชีย ใช้วิธีขยายทางเท้าให้กว้างขึ้น และจัดสรรพื้นที่ใหม่ให้เหมาะกับการเดินเท้าและขับขี่จักรยาน โดยมีทางจักรยาน 71.47 กม. ใช้ทางร่วมกับรถอื่น ๆ 308.33 กม. และทางจักรยานริมแม่น้ำรวม 112 กม.


ทั้งนี้แผนสร้างเครือข่ายทางจักรยานในปี 2558-2562 มุ่งส่งเสริมให้จักรยานเป็นพาหนะสำหรับชีวิตประจำวัน เช่น พักผ่อนหย่อนใจ จับจ่ายซื้อของ และเดินทาง รวมทั้งปรับเส้นทางการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร และปลอดภัยสำหรับการใช้จักรยาน ปัจจุบันเมืองไทเปมีทางจักรยานรวม 379.8 กม.


ผู้ตรวจการสำนักโยธาธิการ รัฐบาลนครไทเป กล่าวต่อว่า การปรับพื้นที่นครไทเปให้เป็นเมืองจักรยานนั้น ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน เช่น ติดตั้งชิ้นงานศิลป์ ส่งเสริมการเขียนภาพบนกำแพง ติดโมเสกกำแพงกั้นน้ำท่วม สร้างสนามเด็กเล่น นอกจากนี้ยังริเริ่มโครงการกำแพงแห่งความสุข  ประชุมร่วมทำวิสัยทัศน์ถนนและแข่งขันออกแบบถนน-ภูมิทัศน์ สำหรับการพัฒนาสภาพแวดล้อมการใช้จักรยานในไทเป  ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากร สภาพการจราจร และเงื่อนไขทางสังคม รัฐมุ่งให้ไทเปเป็นเมืองจักรยานอย่างยั่งยืน


ด้าน น.ส.นภาวดี โรจนธรรม และ น.ส.สุพิชญา ศุภพิพัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยถอดบทเรียน สร้างเมืองจักรยาน 'ไทเป' thaihealthเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอเรื่องข้อเสนอเพื่อพัฒนาระบบเชื่อมต่อระหว่างการเดินทางโดยจักรยานกับระบบขนส่งสาธารณะ โดยได้วิจัยและสรุปความคิดเห็นว่า หากมีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้จักรยานที่ต้องการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะ 60.9% ของผู้ที่ไม่เคยใช้จักรยาน เพื่อการสัญจรในชีวิตประจำวันจะหันมาลองใช้ และ 94.1% ของผู้ที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันอยู่แล้วคิดว่าจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น


'"นอกจากนี้ตรงจุดเชื่อมต่อการคมนาคม เช่น สถานี และป้ายรถ ควรอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายจักรยานขึ้น-ลง รวมถึงที่จอดควรมีความปลอดภัย ขณะที่รถสาธารณะก็ควรจัดการที่ทางของรถจักรยานให้เหมาะสม และมีระบบเก็บค่าโดยสาร"


 …ประเด็นการส่งเสริมเรื่องการใช้จักรยานไปเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะยังไม่ได้ถูกพูดถึงในแผนแม่บทจักรยานระดับประเทศมากนักในขณะนี้ …


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มองว่า ทุกคนมีความฝันที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นเมืองเดินและจักรยานคล้ายนครไทเป การจัดประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้จะมาตอบความฝันที่คิดไว้ถอดบทเรียน สร้างเมืองจักรยาน 'ไทเป' thaihealthเพราะ มีตัวอย่างจริงที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้งนี้ สสส. มีพันธกิจในการจุดประกาย กระตุ้น สานเสริมพลังบุคคล และองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่สำคัญนั้นคือการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันคนไทยป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นอันดับ ต้น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม


จากการสำรวจของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนไทยมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม (Physical Activity : PA) เพียงร้อยละ 67.6 และเยาวชนที่อายุ 6-14 ปี มีกิจกรรมทางกายลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราอ้วนลงพุงที่เพิ่มขึ้น


"สสส. ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายในปี 2563 เราจะเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมทุกช่วงวัยให้เป็นร้อยละ 80 จะใช้การเดิน และจักรยานเป็นตัวเลือกในการเดินทาง ปีที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ส่งเสริมการใช้จักรยานในโอกาสต่าง ๆ และเกิดนโยบาย 3 ส. คือ 1 สนาม 1 สวนสาธารณะ และ1 เส้นทาง ในทุกจังหวัดและกำลังขยายไปในแต่ละอำเภอด้วย "  ดร.สุปรีดา ทิ้งท้ายถอดบทเรียน…สานฝันให้ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการเดินและเมืองจักรยานเพื่อสุขภาพที่ดี


          

Shares:
QR Code :
QR Code