ต้นแบบสนามเด็กเล่นสุดครีเอทีฟ

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 


ต้นแบบสนามเด็กเล่นสุดครีเอทีฟ thaihealth


แฟ้มภาพ


รู้ใช่ไหม ร่างกายมนุษย์เราถูกออกแบบมาให้เคลื่อนไหวมากๆ นะ เรามีแขนขา ที่อิสระ มีลำตัวที่ตั้งตรง เราจะวิ่งเล่นได้อย่างดี ทีเดียว แต่สำหรับชีวิตยุคใหม่ อะไรที่สะดวกออกแบบมาให้มนุษย์ "ขี้เกียจ" ได้มากที่สุด ดูเหมือนจะกลายเป็นผู้ชนะ เราไม่ปฏิเสธความสบายหรอก แต่ถ้ารากงอกมากไปร่างกายไม่ขยับ โรคจะถามหานะจ๊ะ


ต้นแบบสนามเด็กเล่นสุดครีเอทีฟ thaihealth


ทุกเพศทุกวัยควรออกกำลังกายให้เป็นนิสัย โดยเฉพาะเด็กๆ ก็ยิ่งควรมีพื้นฐานร่างกายให้แข็งแรงดีตั้งแต่ต้น ทาง สสส. จึงมีโครงการ "แอคทีฟ เพลย์" (Active Play) ขึ้นเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายในเด็กวัย 6 – 14 ปี ทั้งในพื้นที่ชุมชน โรงเรียน และ ที่บ้าน และสำหรับต้นแบบที่จัดแสดงในงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพนี้ สสส.ก็ได้ร่วมมือกับ TCDC ทำโครงการออกแบบ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและแนวทางสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อ Active Play เป็นโครงการที่ยังไม่มีคำตอบตายตัวจึงต้องมีการค้นหาปัญหาว่า "ทำไมเด็ก จึงไม่ออกมาเล่น?" เพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการคิด เชิงออกแบบ (Design Thinking)  ในทุกขั้นตอนใช้เครื่องมือการมีร่วมกัน ของคนในพื้นที่ย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นชุมชนฮารูณ ชุมชนโปลิศสภาเด็กๆ และคุณครูจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนวัดสวนพลู โรงเรียนวัดม่วงแค โรงเรียน สตรีมหาพฤฒาราม และผู้ปกครอง กว่า 500 คน โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ถึงเดือนพฤษภาคม 2561 กิจกรรมทางกาย เป็นสิ่งสำคัญต่อคนเราทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กเพราะไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมสุขภาพแต่ยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงเด็กเกิดการเรียนรู้จำการเล่นและการเคลื่อนไหว ได้เรียนรู้ความสามารถของตน สร้างความมั่นใจ ความรู้จักตนเอง มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต กิจกรรมทางกายแบ่งเป็น 3 ระดับ 


ต้นแบบสนามเด็กเล่นสุดครีเอทีฟ thaihealth


ระดับเบา มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก เช่น การยืน การนั่ง


ระดับปานกลาง การเคลื่อนไหว ออกแรงใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เหนื่อย ในระดับการขี่จักรยาน การเดินเร็ว  ชีพจรเต้น 120 -150 ครั้ง/นาที มีเหงื่อซึม แต่ยังสามารถพูดเป็นประโยคได้


ระดับหนัก การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการทำซ้ำและต่อเนื่อง โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การวิ่ง การเดินขึ้นบันได การออกกำลัง มีการหอบเหนื่อยถึงขั้น พูดเป็นประโยคไม่ได้ ชีพจรเต้น  150 ครั้งขึ้นไป/นาที "เด็กควรเคลื่อนไหวร่างกายระดับ ปานกลางถึงหนัก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีทุกวัน ในสัดส่วน 10-20-30 นาที"


"ทฤษฎีรากฐานของการศึกษาฟินแลนด์ ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบ การศึกษาที่ดีที่สุดในโลกมีอยู่ว่าเด็กควร ต้องรักษาความเป็นเด็กไว้ให้นานที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ โรงเรียนให้ทุกคาบเรียน มีการแบ่งเวลาเล่น 15 นาทีในคาบเรียน  1 ชั่วโมง แนวคิดเรื่องการให้เด็กมีเวลาเล่นในระหว่างวันหรือในช่วงคาบเรียน ได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าเด็กได้พักเล่นระหว่างเรียน จะมีพฤติกรรมและผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ ไม่มีเวลาเล่น"


ต้นแบบสนามเด็กเล่นสุดครีเอทีฟ thaihealth


ฉะนั้น "ออกมาเล่นกันเถอะ"


เล่นสนุกกับต้นแบบที่บ้านตำรวจน้ำ


ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2561 ที่บ้านตำรวจน้ำ ซอยเจริญกรุง 36 ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็น สนามเด็กเล่นต้นแบบ เพื่อทดสอบ งานออกแบบสนามเด็กเล่นแอคทีฟ เพลย์


เดินเข้ามาถึงเราจะเจอกับเครื่องเล่นโครงไม้รูปแบบใหม่ ที่เป็นบล็อกยักษ์ต่อกัน และมีเครื่องเล่นมากมายอยู่ในนั้น เราได้สถาปนิกจาก Cloud Floor ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมออกแบบมาอธิบายให้ฟัง


โคเพลย์อิ้ง เพลย์กราวน์ (Co-Playing playground)


การพัฒนาสนามเด็กเล่นในชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ควรมีสนามเด็กเล่นมาก เพราะเด็กๆ มักชวนกันออกมาเล่นอยู่แล้ว หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมนอกจากเพิ่มความปลอดภัยแล้ว ยังเอื้อให้เกิดการเข้าสังคม การเล่นในชุมชนไม่ค่อยมีกำแพงเรื่องวัยของเด็กๆ เป็นที่ที่พบเจอเด็กต่างวัยสามารถเล่นด้วยกันได้


โครงสร้างหลักของโคเพลย์อิ้ง เพลย์กราวน์ กล่องไม้ขนาดใหญ่ที่เด็กๆ สามารถมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการปีนป่าย การขยับกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีการแบ่งโซนตาม ความเหมาะสมกับการเล่นของเด็กเล็กที่ง่ายและปลอดภัย มีความท้าทายสำหรับเด็กโต และสามารถปรับเสริมการเล่นได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของชุมชน คือเล่นได้อย่างอิสระ (Free Play) การเล่นประกอบการเรียน (Academic Play) และการเล่นเพื่อฝึกทักษะทางกีฬา (Sport Skills)


กล่องหรือบ้านไม้นี้สามารถนำมาต่อกันไปตามพื้นที่ที่มี และให้เหมาะสำหรับเด็กวัยต่างๆ เช่น เด็กเล็ก ก็ต่อเรียงกันไปชั้นเดียว สำหรับเด็กโตก็ต่อเรียงขึ้นไปในแนวดิ่ง  ด้านนอกติดแป้นชู้ตบาส ด้านในก็มีโครงสร้างเชือกปีนป่ายสูงขึ้นไปได้


แอคทีฟเลิร์นนิ่งเพลย์กราวน์ (Active Learning Playground)


เป็นการพัฒนาสื่อการเล่นในโรงเรียน สำหรับครูผู้สอน ให้สามารถปรับเปลี่ยนเรียนและเล่นให้เหมาะสมกับแต่ละวิชา โดยเน้นการเรียนรู้ในรูปแบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง ที่ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุก มีความกระตือรือร้น ควบคู่ไปกับ การมีพัฒนาการของสมองที่โลดแล่น อย่างต่อเนื่อง อาทิ สายรัดข้อมือแก้โจทย์คณิตคิดเร็ว ที่ออกแบบให้มีช่องพลาสติกใส สำหรับใส่คำตอบหรือโจทย์คำนวณ ที่มาพร้อมกับสีสันสดใส และไม่ระคายผิว ฯลฯ


การออกแบบเป็นสายรัดข้อมือ หรือสายคาดตัว ทำให้ประหยัดพื้นที่ กระจายการเล่นไปยังเด็กๆ ทุกคนได้ทั่วถึง โดยมีบัตรคำ ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนแต่ละคนมีตัวเลขหรือตัวอักษรต่างกัน เมื่อคุณครูออกแบบโจทย์ นักเรียนก็วิ่งไปจับคู่กับเพื่อนๆ เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ทำให้นักเรียนได้คิด และได้วิ่งเล่นไปพร้อมกัน


เฮ้าส์โฮลด์ แฮ็ค (Household Hack)


การประยุกต์ใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านให้กลายเป็นเครื่องเล่น เมื่อค้นพบปัญหาที่สำคัญว่าหลายบ้านไม่ได้มีพื้นที่เล่นมากพอ ทีมนักออกแบบจึงเปลี่ยนงานบ้านเป็นการเล่นที่สนุกสนาน อาทิ ถังขยะซุปเปอร์ชู้ต การฝึกกระตุ้นกล้ามเนื้อขา จากการกะน้ำหนักเท้าเพื่อเหยียบฝาถัง ให้เปิด พร้อมกับโยนวัตถุบนฝาให้ลงปากท่อที่ติดไว้ ไม้กวาดไดร์ฟกอล์ฟ การกระตุ้นกล้ามเนื้อแขนผ่านการกวาด ลูกกอล์ฟให้ลงหลุม บนที่ตักขยะ, หรือที่เช็ดกระจกที่สามารถวาดรูปเล่นได้ กระจกก็สะอาดไปด้วย


ต้นแบบเหล่านี้เกิดขึ้นจากการมี ส่วนร่วมของเด็กๆ โรงเรียน บ้าน และชุมชน นักออกแบบจึงไม่ได้ทำอย่างคิดเองเออเอง และที่สำคัญนี่คือต้นแบบ ที่พร้อมเสมอสำหรับการปรับปรุงพัฒนาไปสู่ผลลัพธ์ ที่ดีขึ้น หรือการปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน ทั้ง 3 ต้นแบบที่จัดแสดงไว้จึงมีจุดสำหรับเขียนความคิดเห็น วาดภาพที่ควรจะเป็นออกมา เสนอไอเดียสู่ผู้จัดทำโครงการ

Shares:
QR Code :
QR Code