ชี้พฤติกรรมกินยาคนไทยน่าห่วง

ใช้ยาฟุ่มเฟือย ผิดประเภท ส่งผลต่อสุขภาพ

 ชี้พฤติกรรมกินยาคนไทยน่าห่วง

          นักวิชาการห่วงคนไทยใช้ยาไม่เหมาะสม ผิดประเภท-ฟุ่ยเฟือย-เข้าไม่ถึงยา กระทบปัญหาสุขภาพทั้งระบบส่งยอดนำเข้ายานอกพุ่งถึง 5 หมื่นล้าน พร้อมหนุนทำซีแอลต่อ เพิ่มโอกาสผู้ป่วยเข้าถึงยา

 

          ที่ จ.ขอนแก่น ได้มีการจัดการประชุมสัมมนานิสิต นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 โดยสหพันธ์ นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

          รศ.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬงลง

กรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์การใช้ยาของคนไทยและทั่วทั้งภูมิภาคขณะนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะมีการใช้ยาไม่เหมาะสม เกิดขึ้นในหลายลักษณะ ทั้งการใช้ยาฟุ่มเฟือย การใช้ผิดประเภท ซึ่งเกิดจากการความไม่รู้และการส่งเสริมการขายของบริษัทยา ทำให้มีการใช้ชื่อทางการค้าแทนชื่อสามัญ จนใช้ยาซ้ำซ้อนและเกิดอันตรายในบางครั้ง ขณะเดียวกันปัญหาการเข้าไม่ถึงยาของประชาชนก็มีส่วนทำให้เกิดการใช้ยาไม่ถูกต้อง แม้ทราบว่ามียาที่ดีกว่าก็ไม่สามารถใช้ได้เพราะมีราคาสูง เนื่องจากการผูกขาดทางสิทธิบัตรของบริษัทยา ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้กับทั่วภูมิภาคอาเซียน ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

 

          “การประเมินการใช้ยาฟุ่มเฟือยและใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ทำได้ยาก  แต่เมื่อนำตัวเลขการใช้ยาทั้งหมดเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรค ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ชี้ให้เห็นว่า การใช้ยาจำนวนมากไม่ได้สร้างประโยชน์หรือป้องกันความสูญเสียจากโรคต่างๆ ได้จากข้อมูลค่าการนำเข้ายาแผนปัจจุบันเมื่อปี 2549 พบว่า มีมูลค่าสูงถึง 48,589,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4 ปีที่แล้วถึง 16.71% รศ.ภญ.จิราพร ระบุ

 

          นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่าปัญหาการเข้าไม่ถึงยาถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ต้องแก้ไขจากการที่ไทยประกาศใช้ซีแอล ส่งผลให้บริษัทยาเริ่มตื่นตัวและมีแนวโน้มจะลดราคาลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี แต่ยังไม่น่าไว้วางใจ ดังนั้นไทยควรจะสานต่อการทำซีแอลต่อไป

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

 

 

update 30-06-51

 

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code