ชีน้อยพบธรรม ครอบครัวพบสุข

       ถอดบทเรียน “ชีน้อยพบธรรม ครอบครัวพบสุข” ปี 2 ยกระดับป้องกันเด็กเยาวชนหญิงเข้าสู่วงจรอบายมุข สร้างศาสนทายาทนักบวชสตรีและขยายเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์


/data/content/24776/cms/e_aijlnwxy3468.jpg


       เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ณ สำนักรัตนไพบูลย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ คณะทำงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ/ภาคีศาสนากับเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ ได้ประชุมสรุปบทเรียนคืนข้อมูลงานบวชแม่ชีน้อย ภายใต้แนวคิด“แม่ชีน้อยพบธรรม ครอบครัวพบสุข”ปีที่ 2 ขึ้น โดยมีเป้าหมายการทำงาน เพื่อสร้างศาสนทายาทและสังฆอาสา พร้อมทั้งยกระดับฝีมือ วิธีการ กระบวนการทำงานของคณะแม่ชีในการป้องกันเด็กเยาวชนหญิงเข้าสู่วงจรอบายมุขคือ ผู้นำทางจิตวิญญาณ


      การประชุมครั้งนี้ คนที่มาเป็นระดับหัวหน้าสำนักแม่ชีและผู้บริหารโครงการภายในสำนักที่เป็นสมาชิกเครือข่ายอยู่ทั้งหมด 19 ท่าน ซึ่งทุกที่มีความสนใจเรื่องการบวชแม่ชีน้อย และกำลังอยู่ในระหว่างพูดคุยรายละเอียดของหลักสูตรที่ใช้ในการบวช ตลอดจนคณะวิทยากรที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยระยะต่อไปคือสำรวจสำนักแม่ชีที่มีความสนใจจัดโครงการบวชแม่ชีน้อยในปี 2558 เพื่อจะกำหนดทิศทางและเริ่มประชาสัมพันธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมกับรวมทีมคณะแม่ชีที่ทำงานด้านวิชาการมาจัดทำหลักสูตรต่างๆที่ใช้ในการอบรมของเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ให้แต่ละท่านไปรวบรวมข้อมูลมาและจะพูดคุยกันในการประชุมครั้งต่อไป โดยมีสำนักแม่ชีที่จัดกิจกรรมในปีที่ผ่านมาจำนวน 4 สำนัก นำคุยถึงกิจกรรมที่ผ่านมา ที่น่าสนใจคือ มีสำนักงานแม่ชีจากภาคใต้มาร่วมเวทีและกิจกรรมครั้งนี้ด้วย


/data/content/24776/cms/e_cfghnosxz269.jpg


        บทสรุปจากการถอดบทเรียนได้ค้นพบว่า


       แม่ชีชูใจ ปทุมนันท์ : แรงบันดาลในการทำงาน


       งานนี้ เริ่มต้นจากรักและศรัทธาในแม่ชีที่ศรีลังกาก่อน จากนั้นก็มาทำงานค่ายช่วยงานบวชสามเณรมานานกว่า 21 ปี เห็นเด็กผู้หญิงบวชบ้างแต่ก็ประปราย เหมือนเป็นไม้ประดับ ให้ความสำคัญกับสามเณรมากว่าเด็กหญิงที่บวช ก็เลยเริ่มจัดบวชแม่ชีน้อยตั้งแต่นั้นมา ถึงตอนนี้ทำไป 82 คน ที่ผ่านมาได้ร้างลาห่างหายไประยะหนึ่ง ภายหลังจึงได้รวมตัวกับแม่ชีเพื่อนๆเป็น “เครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์” มาฟื้นการบวชแม่ชีน้อยอีกครั้งหนึ่ง เพราะนับวันแม่ชีจะไม่มีใครมาบวชเรียน /data/content/24776/cms/e_bceflnotuvy5.jpgแนวทางในอนาคตยังคงเน้นการเป็นอุบาสิกาที่งดงามตามหลัก 5 ดี การสร้างศาสนทายาท ให้มีการบวชแม่ชีน้อย เพื่อเป็นหน่อเนื้อของแม่ชีใหญ่ ที่สำคัญคือทำโอกาสการบวชเรียนศึกษาพระธรรมเป็นเรื่องของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย


      แม่ชีกาญจนา โภคสวัสดิ์ : เสียงตอบรับจากเด็กๆและครอบครัว


      กิจกรรมที่ทำ เป็นการนำเอาคนใกล้ตัว เช่น หลาน มาบวชก่อน เพื่อให้ผู้ปกครองคนอื่นๆได้เห็น มีการเรียนรู้การช่วยเหลือตนเองตั้งแต่เช้า บ่าย เย็น  เช่น กิจกรรมเล่นขายของ ศีล 5 ภาพวาดและหลายๆอย่าง เวลาค่ำมีการออกพื้นที่ฉายหนัง พ่อแม่ดีใจที่ลูกหลานอยู่กับแม่ชีมีความเปลี่ยนแปลง สวดมนต์เป็น กลับไปบ้านมีพฤติกรรมใฝ่ธรรม พี่ๆน้องๆในครอบครัว เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในทางที่ดี ไปทำกิจกรรมขายของกับเด็กๆที่ตลาดนัด เอาน้ำยาปรับผ้านุ่ม ทำให้เด็กให้รู้จักการทำบัญชี การจัดการ ความรับผิดชอบ ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ก่อเกิดเป็นเครือข่ายฯ ขายของ ไปแจกที่บ้านแล้วเก็บเงินภายหลัง งานแบบนี้ ต้องทำให้ต่อเนื่อง ย้ำเรื่อยๆปัจจัยแวดล้อมสำคัญมากต่อการเปลี่ยนแปลง


       แม่ชีจุติภา ทรรพสุทธิ์ : ปรับรูปแบบขยายแนวทาง


      ช่วงที่ลูกหญิงบวช ได้มีการชวนให้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่เข้ามาปฏิบัติพร้อมเด็ก จนเกิดโครงการลูกบวช พ่อบวช แม่บวช โยสิ่งที่ได้จากผู้ใหญ่คือ การทำปวารณาให้พ่อแม่งดเหล้าบุหรี่ตลอดลูกบวช(สัญญากับลูก) ครั้งที่ผ่านมา ได้ผลเชิงประจักษ์มา 1 คนจาก 20 คน  ก่อเกิดกลุ่มแม่ชีน้อยสืบทอดศาสนทายาท เน้นความซื่อตรงกับตนเอง สิ่งตอบรับคือการทำทานหรือการใส่บาตรของชุมชน มีแนวทางอนาคตคือให้บวชเป็นผ้าขาวก่อน สิ่งสำคัญคือการรู้จักหาทุน ทำให้มีโครงการฯ งบประมาณ (คู่มือ)


      นายประญัติ เกรัมย์ ฝ่ายภาคีศาสนา:หนุนเสริมหาเพื่อนร่วมงาน


      ปีแรก เป็นการรีบทำเพราะเห็นว่า พอทำกันอยู่ตามความสนใจและช่วงนั้น มีข่าวบวชเณรเยอะ แต่งานบวชชีน้อยแทบไม่มีเลย ถึงจะมีบ้างเหมือนงานเสริม พอทำไปแล้วได้ผลจริง คือ เห็นชัดว่า แม่ชีตื่นตัวและรวมตัวทำงานด้วยกัน ช่วยเหลือกัน จนอยากจะทำปีที่ 2 เพื่อให้มีรูปมากขึ้น ไม่ขยายตัวมาก เน้นคุณภาพงานที่ตอบโจทยากรทำงานของแม่ชี/data/content/24776/cms/e_dijklwz13456.jpgกับเด็กหญิงและการร่วมป้องกันปัญหาสำหรับผู้หญิง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่หรือมีเพศสัมพันธ์ ปีนี้เองก็เห็นชัดว่า ต้องสร้างพื้นที่รอบๆให้เข้าใจการบวชของผู้หญิง ให้เกิดการยอมรับและมาร่วมกันทำให้มากขึ้นไปอีก


      แรงกระตุ้นและต้นทุนเพื่อการทำงานต่อ


      ตอนนี้เปรียบแม่ชีเหมือนรถยี่ห้อดี แต่ขาดน้ำมันคือเงินทุนบางส่วนในการเคลื่อนงาน จึงต้องรวมตัวกันและทำงานให้สังคมประจักษ์ในศักยภาพ โดยเน้นบทบาทด้านการเสริมสร้างโอกาสแก่ผู้หญิงด้วยกัน สามารถทำงานแบบส่งลูกต่อกันและกันในเชิงกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน ผู้หญิง มีประเด็นร่วมในการทำงานที่ชัดเจน ช่วยเหลือกันได้ มีการแบ่งเวลาและจังหวะในการทำงานที่ต่อยอดกันและกัน อาจมีกองทุนในการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลืองานกันต่อๆไป และพัฒนาพื้นที่หรือจุดประสานงานกลางเพื่อเชื่อมงานแม่ชีไทยทั้งประเทศ ทำให้ภาพแม่ชีน้อยปรากฏในสายตาใหม่


 


 


     ที่มา: คณะทำงานเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์

Shares:
QR Code :
QR Code