จี้รัฐสร้างระบบดูแลระยะยาวผู้สูงอายุ

เน้นให้ครอบครัวสร้างจิตสำนึกใหม่

จี้รัฐสร้างระบบดูแลระยะยาวผู้สูงอายุ 

           จี้รัฐสร้างระบบการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุ เน้นส่งเสริมครอบครัวสร้างจิตสำนึกใหม่ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน เน้นภาคประชาสังคมช่วยเหลือเกื้อกูล ควบคู่กับการพัฒนาอปท.จัดการดูแลผู้สูง อายุในชุมชนหมอบรรลุระบุสื่อเสนอข่าวคนชราถูกทอดทิ้ง เน้นแค่ขอรับบริจาคเงินไมพอแนะต้องเสนอต่อเนื่อง นำไปสู่การแก้ไขระยะยาว

 

           เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่รร.รามาการ์เด้นท์ ในการประชุมเวทีเสวนาสังคมไทยกับระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ อยู่ในสภาวะพึ่งพิงจัดโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) โดย นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์  กล่าวว่า กลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งเป็น3 กลุ่มคือ กลุ่มที่พิการ มีโรคประจำตัวเรื้งรังและถูกลูกหลานทอดทิ้ง ทั้งจากความตั้งใจและความจำเป็นซึ่งกลุ่มนี้พบมากขึ้นเรื่อยๆ การดูแลผู้สูง อายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง มีความยากคือต้องดูแลตลอดชีวิต และจะต้องใช้ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งจาก แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแลประจำนักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ประสานความรู้ร่วมกันขณะที่บ้านยังเป็นสถานที่หลักสำหรับดูแลผู้สูงอายุ มากกว่าโรงพยาบาลเพราะเป็นสถานที่ ที่มีความเครียดน้อยกว่า อีกทั้งการพาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลแต่ครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องจำเป็นจริงๆ

 

           นพ.สิริชัย กล่าวว่าการดูแลผู้สูงอายุไม่สามารถจำกัดแค่เฉพาะการรักษาโรคได้ เพียงอย่างเดียว  เพราะสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการไม่ใช่แค่เรื่องการดูแลสุขภาพ แต่อยากให้มีคนมาเยี่ยม อยากได้พูดคุยหรือความเข้าใจจากคนรอบข้าง ดังนั้นผู้ดูแล หรือทีมแพทย์จะต้องเรียนรู้เรื่องชีวิตของผู้สูงอายุด้วย เช่น ความทรงจำที่ดีของผู้สูงอายุหากรู้ สามารถพูดคุยด้วยได้ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขเพิ่มขึ้น การดูแลจะง่ายขึ้น

 

            การเข้าใจชีวิตของผู้สูงอายุโดยเฉพาะชีวิตและความคาดหวัง ผู้สูงอายุบางคนมีภารกิจในชีวิตเยอะจึงยังมีความคาดหวัง แต่บางคนไม่มีความคาดหวังอะไร บางคนอยากไปนอนโรงพยาบาลแต่บางคนอยากอยู่ที่บ้าน ผู้ดูแลก็ต้องเข้าใจด้วย หากเข้าใจตรงนี้จะทำให้การดูแลรักษาผู้สูงอายุดี ขึ้นอย่างไรก็ตามผู้ดูแลก็เป็นผู้ที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นผู้ที่ได้รับความเครียดความทุกข์จากการดูแล ดังนั้น การให้ความรู้คำแนะนำในการจัดการความเครียดของตนเอง ก็เป็นสิ่งสำคัญ นพ.สิริชัยกล่าว

 

           พญ.ลัดดา ดำริการเลิศผู้จัดการแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดีของผู้สูงอายุ มส.ผส. กล่าวว่าสังคมไทย เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยในปี 2552 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 11 และมีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงร้อยละ 6-7 จึงจำเป็นต้องมีการวางระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยเฉพาะที่อยู่ใน ภาวะพึ่งพิงต้องการผู้ดูแลโดยแนวทางการแก้ปัญหาที่สำคัญนอกจากรัฐจะต้อง สร้างระบบการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่ดีแล้วจะต้องส่งเสริมให้ครอบครัวเป็น บทบาทหลัก เพื่อให้เป็นระบบการดูแลแบบยั่งยืนสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนและภาคประชาสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างจิตสำนึกสังคมไม่ทอดทิ้งกันควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ให้ตระหนักและ เห็นความสำคัญในการจัดการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเป็นเจ้าภาพหลัก  ค้นหาผู้ สูงอายุประเภทต่างๆในพื้นที่เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสม

 

           นอกจากนี้ควรสร้าง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ  ขณะที่กระทรวงที่เกี่ยงข้อง อาทิกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯต้องร่วมกันพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยการให้ความรู้ การดูแลผู้สูงอายุ

 

           นายนิติ ช่วงรัศมีนักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์ประชาบดี กล่าวว่า ความรุนแรงในผู้สูงอายุยังมีอยู่ซึ่งศูนย์ประชาบดีเคยได้รับแจ้ง กรณีหญิงชราถูกทำร้ายร่างกายโดยบุตรชายและจากการสอบข้อเท็จจริง พบว่า  สาเหตุที่บุตรชายทำร้ายแม่ตนเองเพราะเกิดจากความเครียดที่แม่ป่วยเป็น อัมพาต  ภรรยาทิ้ง  จึงหันไปดื่มสุรา และเมื่อเมาก็จะทำร้ายแม่ตนเอง  จากการตรวจสภาพร่างกายของหญิงชราพบว่า  ถูกทำร้ายร่างกาย หน้าตาฟกช้ำและไม่อยากอยู่บ้าน แต่ ไปไหนไม่ได้ เพราะพิการ  จึงขอให้ช่วยส่งไปอยู่สถานสงคราะห์คนชรา

 

           นพ.บรรลุ ศิริพานิช กล่าวว่า ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)กล่าวว่าประเทศสิงคโปร์มีกฎหมาย หากใครไม่ดูแลผู้สูงอายุ บิดามารดาตนเอง มีโทษติดคุกเคยมีกรณีพ่อฟ้องศาล กล่าวหาลูกไม่เลี้ยงดู  แต่ลูกกลับโต้แย้งว่า เป็นเพราะพ่อไม่เคยเลี้ยงดูตนเองแต่เด็กดังนั้นการสร้างจิตสำนึก จึงมีความสำคัญ  ส่วนการนำเสนอข่าวของผู้สูงอายุของสื่อไทยยังเป็นลักษณะเสนอเพื่อขลักษณะว่าถูกทอดทิ้ง ให้มีคนบริจาคเงินซึ่งตนเห็นว่าไม่พอ สื่อควรจะต้องนำเสนอข่าวแบบติดตามต่อ เนื่องเพื่อให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วย

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

 

 

  update: 17-12-52

อัพเดทเนื้อหาโดย: อภิชัย วรสิทธิ์ขจร

 

Shares:
QR Code :
QR Code