จิตแพทย์เผย 7 ตุลา กระทบจิตใจ-เครียด
ชี้ซึมเศร้ารุนแรงกว่าประสบภัยพิบัติ
ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์ กล่าวในการสัมมนา “วิกฤตจิตใจจากภัย 7 ตุลาฯ การเยียวยาและทางออก” เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ว่า เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความรุนแรงในแง่ความคิดที่แตกต่างซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก ความรุนแรงที่ปรากฎต่อสื่อต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นภัยพิบัติและรุนแรงมากกว่าภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น สึนามิ น้ำท่วม ซึ่งกาลเวลาสามารถเยียวยาให้หายไปได้ ดังนั้น อาจจะต้องมีการปรับจิตใจนำหลักพุทธศาสนามาช่วยเยียวยา
ศ.พญ.นงพงา กล่าวย้ำถึงผู้ปกครองว่าอย่าให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หรือวัยรุ่น บริโภคข่าวสารหรือสื่อมากเกินไปเพราะเด็กเป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนโน้มน้าวจิตใจได้ง่าย จึงไม่ควรบริโภคสื่อหรือการกระทำใด ๆ ซ้ำ ๆ ผู้ใหญ่เองก็ควรถามตัวเองให้แน่ชัดว่าบริโภคข่าวต่อไปไหวหรือไม่ หากรู้สึกว่าไม่สบายใจ หดหู่ เครียด ควรหยุดบริโภคข่าวทันทีและหากิจกรรมอื่นทำด้วย
ด้าน ผศ.นพ.พนม เกตุมาน หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยา บาล กล่าวว่า ขอให้สื่อมวลชนให้ความรู้กับประชาชนในการบริโภคข่าวสารและอย่านำเสนอแต่ในแง่ลบ ควรมีทางออกให้สังคม อย่าเสนอภาพความรุนแรงซ้ำ ๆ การสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบควรใช้หลักจิตวิทยาหรือให้จิตแพทย์ไปสนทนาด้วยเพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
update 13-10-51