คุยสบายๆ เรื่องใต้กระโปรง

คุยสบายๆ เรื่องใต้กระโปรง

เพราะวันนี้ เด็กส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศ และมักจะปรึกษากับเพื่อนสนิทมากกว่าพ่อแม่ สถานการณ์ในสังคมไทยจึงอยู่ในภาวะ เด็กปรึกษาเด็ก ซึ่งสะท้อนว่าบรรยากาศในสังคม ครอบครัว โรงเรียน ไม่เอื้อต่อการสื่อสารเรื่องเพศ

แพทย์หญิงเบญจพร ปัญญายง ทำให้เด็กและเยาวชนไทยขาดที่ปรึกษาและข้อมูลเรื่องเพศที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัย จนเกิดปัญหาพ่อแม่วัยใส่ขึ้นจำนวนมาก จากการศึกษาของแพทย์หญิงเบญจพร ปัญญายง พบว่า ปี 2552 มีเด็กและวัยรุ่นคลอดจำนวน 122,736 คน นั่นคือ ประมาณ 336 คนต่อวัน

ด้วยเหตุนี้ แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและศูนย์สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จึงมีแนวคิดที่จะรณรงค์เรื่อง เพศเชิงบวก ขึ้นในชุมชน ซึ่งนอกจากจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการเปิดประเด็นพูดคุยเรื่องเพศในชุมชนแล้ว อีกภารกิจที่สำคัญ คือ การผลิตสื่อการเรียนรู้ เพื่อใช้ในการสื่อสารเรื่องเพศ

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ด้าน นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า การรณรงค์เรื่องเพศเชิงบวกมีเป้าหมายเพื่อปรับทัศนคติเรื่องเพศในสังคมไทย จากที่มองเรื่องเพศเป็นเรื่องลามก อย่าไปเรียนรู้ เปลี่ยนให้เป็นเชิงบวก เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ถ้าคุยกันอย่างเปิดใจก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย แหล่งข้อมูลเรื่องเพศควรจะต้องเริ่มที่ครอบครัวก่อน เป็นการให้วัคซีนกับเขาไปเรื่อยๆ ซึ่งการรณรงค์ในเรื่องนี้ สสส.ได้มีการผลิตสื่อ คุยเรื่องเพศ ไม่ยากอย่างที่คิด ขึ้นมา ทั้ง แผ่นพับ โปสเตอร์ คู่มือ โดยจะเน้นข้อมูลที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย นำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ใหญ่ใช้สื่อสารกับเด็ก และเป็นข้อมูลที่เด็กๆ ที่จะใช้ศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง

ตัวอย่างของสื่อที่ สสส.ผลิตขึ้น ได้แก่ แผ่นพับ และโปสเตอร์ จาก ด.ช.เป็น นาย เต็มตัว บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของเด็กชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ทั้งทางร่างกาย และอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ทางเพศ ช่วยไขข้อข้องใจ คลายความวิตกกังวล และช่วยให้เด็กชายมีมุมมองที่ดีต่อร่างกายของตัวเอง

คุยสบายๆ เรื่องใต้กระโปรง

แผ่นพับ และโปสเตอร์ ทำไงดี จะเป็นสาวแล้ว นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยสาวไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ วิธีการนับรอบเดือน การใช้ผ้าอนามัย การรักษาสุขอนามัยเมื่อมีประจำเดือน และการตกขาว เป็นต้น

แผ่นพับ ประจำเดือนความมหัศจรรย์ของผู้หญิง ที่ช่วยให้เด็กผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนได้รู้ถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประจำเดือน และการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง รวมถึงการเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างง่ายๆ ด้วยวิธีการนับรอบเดือน

แผ่นพับ คู่มือรักฉบับกระเป๋า เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่าน แต่สามารถนำไปใช้ได้จริง พร้อมข้อมูลศูนย์ให้คำปรึกษาเมื่อต้องการความช่วยเหลือกรณีท้องไม่พร้อม

โปสเตอร์ จู๋ของนาย นายรู้จริงปะ ทำให้รู้เกี่ยวกับอวัยวะเพศของตัวเองว่า มันทำงานอย่างไร จะดูแลรักษาความสะอาดอย่างไรได้บ้าง

คุยสบายๆ เรื่องใต้กระโปรง

โปสเตอร์ หน้าอก … มีดีกว่าที่คิด ที่นำเข้าไปสู่โลกของการเรียนรู้เกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะของเต้านม ทัศนคติและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเต้านม การวัดรอบอกของตัวเอง การใส่ยกทรง ไปจนถึงวิธีการสังเกต การดูแลสุขภาพของเต้านม และสำรวจเต้านมของตัวเอง เพื่อระแวดระวังภัยจากโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับเต้านมได้ เช่น มะเร็งเต้านม

โปสเตอร์ ตะลุยจักรวาลแห่งจิ๋ม แนะนำให้เรารู้จักกับอวัยวะเพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบภายนอก หรือภายในร่างกาย เพื่อให้การรู้จักนี้นำไปสู่การเข้าใจถึงการดูแลสุขอนามัยที่ถูกหลักการ และไม่ยาก ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

โปสเตอร์ หน้า 7 หลัง 7 นับยังไง…ไม่ให้พลาด แนะนำวิธีการนับระยะปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ ว่ามีวิธีการนับที่ถูกต้องอย่างไร และข้อพึงระมัดระวังสำหรับการใช้วิธีนี้ในการคุมกำเนิด

คู่มือ คุยเรื่องเพศ ไม่ยากอย่างที่คิด คู่มือเล่มเล็กๆ ที่รวบรวมเทคนิควิธีการในการเริ่มต้นพูดคุยเรื่องเพศกับเด็กๆ พร้อมคำถาม-คำตอบง่ายๆ ให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่คนไหนๆ ที่ต้องการคุยเรื่องเพศกับลูก โดยไม่รู้สึกกดดันตัวเอง และเด็ก และ ชุดนิทรรศการ เรื่องเพศคุยได้ ยิ่งคุยยิ่งเข้าใจ เพื่อจุดประกายแนวคิด เรื่องเพศ คุยได้ ให้กับชุมชน

คุยสบายๆ เรื่องใต้กระโปรง

จุดที่ยากคือผู้ปกครองกลัวว่าถ้าเอาเรื่องราวเหล่านี้ไปสอนเด็ก เด็กจะนำไปใช้ผิดๆ หลายคนตั้งคำถามว่าจุดกึ่งกลางอยู่ตรงไหน เพราะว่าถ้ามากไปก็ชี้นำ น้อยไปก็ไม่รู้ ความจริงแล้วเราต้องเริ่มคุยเรื่องเพศตั้งแต่วัยที่เค้ายังไม่สนใจ อย่างช่วง 2-3 ขวบเด็กเริ่มจับอวัยวะเพศตัวเอง ก็อย่าตีมือเค้า ไม่อย่างนั้นเด็กจะคิดว่าเป็นของไม่ดี เป็นของต้องห้าม ต้องปล่อยให้เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าลูกไม่สนใจ ก็ต้องมีวิธีสอนอย่างแยบยล วิธีง่ายๆ คือเอาสื่อที่ผลิตไปวางในห้องน้ำ วางใกล้นิตยสาร หรือจะเปิดเว็บไซต์ของโครงการไว้ก็ได้ เหมือนเป็นสัญญาณว่าพ่อแม่เปิดใจนะ ลูกก็จะเข้ามาคุยด้วย นางสาวณัฐยา บอก

หากสนใจ สามารถขอรับสื่อเหล่านี้ได้ฟรี ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ชั้น 15 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.0 2298 0500 ต่อ 5113 หรือ e-mail: [email protected] โดยทาง สสส. จะอำนวยความสะดวกด้วยการส่งทางไปรษณีย์ให้ฟรี หรือจะเข้ามาคุยที่แฟนเพจ เรื่องเพศ…คุยได้ ที่ facebook.com เรื่องเพศคุยได้

อยากให้ทุกคนปลดล็อก มองเรื่องเพศใหม่ จากเชิงลบให้เป็นเชิงบวก แล้วต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ให้มากที่สุด เธอบอก

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code