‘ครู’ กลไกสำคัญ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหนึ่งวัน เด็ก ๆ ใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นนอกจาก "ครู" จะมีหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ให้กับเด็ก ๆ แล้ว ยังถือว่ามีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหา "นักสูบหน้าใหม่" ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างดีทีเดียวด้วย


เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ร่วมกับศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ และสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดการโรงเรียนปลอดบุหรี่" เมื่อเร็ว ๆ นี้


\'ครู\' กลไกสำคัญ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ thaihealth\'ครู\' กลไกสำคัญ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ thaihealth


"นางวราภรณ์ หงษ์ดิลกกุล" วิทยากรจากเครือข่ายครูส่วนกลาง มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เล่าว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีกิจกรรมอยู่ 3 ส่วน คือ 1. การเปลี่ยนทัศนคติให้คุณครูเห็นความสำคัญว่าโรงเรียนปลอดบุหรี่มีความจำเป็น เพราะเด็กอยู่ในมือครูโดยเฉพาะเด็กเล็ก ถ้าเราสามารถที่จะทำให้ครูเห็นความสำคัญและความจำ เป็น ครูก็จะทำ ให้สังคมในโรง เรียนปลอดบุหรี่ ได้


นางวราภรณ์เล่าต่อว่า ต่อมาคือการสร้างความรู้ความเข้าใจซึ่งสำคัญมาก โดยเรื่องบุหรี่จะมีข้อมูลอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่  สารพิษในบุหรี่ กลยุทธ์บริษัทบุหรี่ และกลวิธีที่จะทำให้โรงเรียนปลอดบุหรี่ โดยจะเน้นไปที่เทคนิควิธีการคิดต่าง ๆ เพื่อให้คุณครูได้นำไปใช้สอดแทรกในการเรียนการสอน และสุดท้ายคือ การสร้างทักษะเรียนรู้การทำสื่อการเรียนการสอนแบบง่าย ๆ เพื่อนำไปสอนเด็กได้


\'ครู\' กลไกสำคัญ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ thaihealth\'ครู\' กลไกสำคัญ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ thaihealth


"โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนขยายโอกาสซึ่งมีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยม ต้น ส่วนใหญ่ พ่อแม่จะทำงานโรงงานจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูกเท่าที่ควร เด็ก ๆ มักจะอยู่กับเพื่อน และสื่อใหม่ ๆ ประเภทสมาร์ทโฟน สื่ออินเทอร์เน็ต และจากประสบ การณ์จะเห็นว่า เด็กที่สูบบุหรี่ เป็นช่วงประถมปลายและมัธยมต้น เพราะเป็นช่วงวัยที่อยาก รู้อยากลองทำ ตามเพื่อน" ว่าที่ร้อยตรีนิมิตร โพธิ์เชย จากโรง เรียนชุมชนวัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี บอกเล่า


ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงข้อมูลที่สนับสนุนการห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน เพื่อลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชน โดยการสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2554 พบว่าเด็กไทยอายุ 15-18 ปี สูบบุหรี่กว่า 4 แสนคน และเกินครึ่งหรือเกือบ 3 แสนคน สูบบุหรี่ซิกาแรตเพียงอย่างเดียว  ซึ่งเด็กจำนวนกว่า 2 แสนคนซื้อบุหรี่แบบแบ่งขาย เพราะเด็กมีอำนาจซื้อต่ำ ทั้งนี้ในแต่ละวันบุหรี่ถึง 1 ล้าน 6 แสนมวนสูบโดยเด็กและเยาวชน


\'ครู\' กลไกสำคัญ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ thaihealth


รศ.ดร.นันทวรรณ  วิจิตรวาทการ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้สมาคมการค้ายาสูบไทยเห็นแก่อนาคตของเด็ก ๆ และหยุดคัดค้านบทบัญญัติที่ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่ ในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพราะในความเป็นจริง ยอดขายของการซื้อบุหรี่ในเด็กวัย 15-18 ปี ปีละ 1,800 ล้านบาท เพราะการขายบุหรี่แบบแบ่งซองขายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ ติดบุหรี่ ที่สำคัญการขายบุหรี่แบบเป็นรายมวนทำให้เด็ก ๆ ไม่เห็นคำเตือนบนซองบุหรี่


ขณะนี้มี  97 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายห้ามแบ่งซองขายแล้วรวมถึงเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว เมียนมาร์ สิงคโปร์ และบรูไน


 


         


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

Shares:
QR Code :
QR Code