กลับมาอีกครั้งกับ “ห้องเรียนพ่อแม่”

ที่มา : เว็บไซต์ SOOK BY สสส.


ภาพประกอบจากเว็บไซต์ SOOK BY สสส.


กลับมาอีกครั้งกับ


เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป..วิธีการเลี้ยงลูกก็เปลี่ยนตามแล้วจะดูแลเจ้าตัวน้อยยังไงให้เข้าใจ ทันต่อยุคสมัย และเติบโตอย่างมีคุณภาพ? มาร่วมเรียนรู้หลากหลายเทคนิควิธีในการเลี้ยงลูกพร้อม workshop สนุก ๆ อีกมากมาย


1.“เทคนิควิเคราะห์ปัญหาของลูกอย่างสร้างสรรค์”


บ่อยครั้งที่การพูดคุยของพ่อแม่กับลูกมักลงเอยด้วยความไม่เข้าใจ และก่อให้เกิดความขัดแย้งแม้จะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม อาจด้วยยังขาดทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ภาในบ้าน กิจกรรม “เทคนิควิเคราะห์ปัญหาของลูกอย่างสร้างสรรค์” คือ เทคนิควิธีการรับฟังเชิงรุก เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาของลูก และสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งนอกจากจะลดความขัดแย้งแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว ทำให้บ้านมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสุข และไม่นิยมความรุนแรง


วันที่จัด : 29 มิ.ย.62


วันรับสมัคร : 1-14 มิ.ย.62


2.“สัมผัสแห่งการเคลื่อนไหว สู่พัฒนาการที่สมดุลย์"


การเคลื่อนไหว คือกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รูดอลฟ์ สไตเนอร์ (1861 -1925) ชาวออสเตรีย ผู้ก่อตั้งแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ ได้ศึกษาและคิดค้นวิธีการพัฒนาการเคลื่อนไหว  12 senses ที่มีส่วนช่วยให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ “สัมผัสแห่งการเคลื่อนไหว สู่พัฒนาการที่สมดุลย์" เป็นกิจกรรมที่จะให้พ่อแม่ได้รู้จักกับหลักการสัมผัส 3 senses จาก 12 senses ซึ่งเป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่สามารถนำไปเสริมทักษะ EF ด้านการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) รวมถึงการมุ่งเป้าหมาย (Goal Directed Persistence) เพื่อนำไปใช้กับลูก ตลอดจนแก้ข้อติดขัดจาพัฒนาการการเคลื่อนไหวของลูก  3 senses ที่ว่าคือ


-Sense of Movement การพัฒนาความสามารถของลูกในมิติของ การรู้ทิศทาง มีเป้าหมาย พัฒนากล้ามเนื้อและข้อต่อมากขึ้น


-Sense of Touch การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากการสัมผัส และประสบการณ์ต่อโลกภายนอก


-Sense of life การดำรงตนให้รู้สึกสบาย ผ่านกิจกรรมการนวดน้ำมันแบบ Rhythmic   เพื่อสร้างความสงบ ความไว้วางใจ หรือ แม้กระทั่งลดอาการทรมานทางจิตใจได้


วันที่จัด : 20 ก.ค. 62


วันรับสมัคร : 1-13 กค.62


3.“อยู่กับลูกให้เป็น”


การที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน อาจส่งผลให้มีเวลาอยู่กับลูกน้อยลง กระนั้นก็ตาม แม้จะไม่สามารถนำห้วงเวลาที่ตกหล่นไปนั้นกลับคืนมาได้ แต่ช่วงเวลาที่อยู่กับลูกนั้นจะทำอย่างไรให้เป็น "เวลาคุณภาพ" ให้มากที่สุด


ทักษะ "การอยู่กับลูกให้เป็น" จึงเป็นกิจกรรมที่จะเรียนรู้เทคนิควิธีการใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการพูดคุยรับฟังโดยปราศจากตัดสิน หรือยัดเยียดค่านิยมที่ตนยึดถือให้กับลูก การยอมรับ การเข้าใจความเป็นตัวตนของลูก หรือแม้แต่วิธีการแยกตนเองออกมาจากลูกโดยที่ลูกไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง กระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างวินัยและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข


วันที่จัด : 24 ส.ค.62


วันรับสมัคร : 1-17 สค.62


4.“ชวนลูกเล่น”


พ่อแม่หลายคนอาจเคยตั้งคำถามในใจว่า จะชวนลูกเล่นอย่างไรให้ลูกสนุก ได้เรียนรู้และเสริมพัฒนาการของลูกไปพร้อม ๆ กัน


กิจกรรม “ชวนลูกเล่น” จะบอกเทคนิคการเล่นที่ตอบโจทย์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นวิธีการออกแบบกระบวนการเล่นมากกว่าการคาดหวังชิ้นงานที่เป็นผลลัพธ์ การจัดสภาพแวดล้อมของบ้าน การสังเกต ทดลอง ตั้งคำถามและลงมือทำ ซึ่งจะไปเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย/อารมณ์/สังคม/สติปัญญา


วันที่จัด : 28 ก.ย.62


วันรับสมัคร : 2-21 ก.ย.62


5.“สร้างลูกให้เป็นนวัตกร”


ใครว่า "นวัตกร" สร้างยาก…ง่าย ๆ เพียงแค่รู้หลักและแนวคิดพื้นฐานการสร้างนวัตกร จากการฝึกทักษะโครงงานเล็ก ๆ  (Project Base Learning) และเทคนิคสร้างบทสนทนากับลูก การชวนตั้งคำถาม แนวทางการค้นหาเป้าหมาย การสร้างแรงบันดาลใจ กระทั่งก่อเกิดการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ได้ในที่สุด ลูกคุณก็เป็นนวัตกรได้ไม่ยาก


วันที่จัด : 26 ต.ค.62


วันรับสมัคร : 1-19 ต.ค.62


กลับมาอีกครั้งกับ


6.“เลี้ยงลูกต่าง Gen ต้องทำอย่างไร”


ช่องว่างระหว่าง Generation อาจสร้างความไม่เข้าใจระหว่างกัน ด้วยประสบการณ์ที่แตกต่าง สภาพแวดล้อมและสังคมที่ไม่เหมือนกัน การมองชีวิตที่ต่างมุม การชวนพ่อแม่มาร่วมกันเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น อาจช่วยให้พ่อแม่ได้รู้จักทั้งตนเองมากขึ้น เข้าใจในความต่างระหว่าง Gen ใด การไม่ยึดติดกับกรอบความคิดของตน ยอมรับในความแตก และเทคนิคการสื่อสารอย่างเข้าใจ เพื่อลดช่องว่างระหว่าง Gen ในครอบครัว


วันที่จัด : 23 พ.ย.62


วันรับสมัคร : 1-16 พ.ย.62


7.“เทคนิคการฟังให้ได้ใจลูก”


พื้นฐานของการสร้างวินัยเชิงบวกและสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสาร เช่น การฟังอย่างเข้าใจ การคุยอย่างไรให้ลูกสนใจฟัง “เทคนิคการฟังให้ได้ใจลูก” เป็นการเรียนรู้และฝึกทักษะ ด้วยการสร้างสถานการณ์ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนจากการฟังที่ผิดพลาด ฝึกการอ่านภาษากาย เพื่อพัฒนาคุณภาพการฟังและการสื่อสารของครอบครัวอย่างเข้าใจ


วันที่จัด : 21 ธ.ค.62


วันรับสมัคร : 2-14 ธ.ค. 62


8.“เรื่องเล่าจากภายใน"


"เรืื่องเล่าจากภายใน" เป็นการนำเสนอเครื่องมือให้กับพ่อแม่ ในการเชื่อมโยงการถ่ายทอดความรู้สึกภายในของเด็กที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เช่น ความโกรธ ความเสียใจ ความมีเมตตา เพื่อให้ลูกได้รู้เท่าทันอารมณ์ตลอดจนฝึกฝนการจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม ผ่านวิธีการทดลอง การเปรียบเทียบและบทบาทสมมุติ เพื่อให้รู้เทคนิคในการหยุดและเท่าทัน โดยใช้สัญลักษณ์ในการเตือนตนและพิจารณาตอบสนองให้เหมาะกับสถานการณ์ ซึ่งพัฒนาเป็นต้นแบบของการสร้างคุณธรรมต่าง ๆ ภายในบ้าน


วันที่จัด : 25 ม.ค.63


วันรับสมัคร : 1-17 ม.ค.63


9.“พ่อแม่ยุคใหม่กับมุมมองเรื่องเพศเชิงบวก"


พ่อแม่มีส่วนสำคัญในการลดปัญหาทางเพศ การใช้ความรุนแรง และการคุกคามทางเพศ การไม่เปิดใจรับฟังพูดคุยเรื่องเพศกับลูก อาจเป็นอุปสรรคในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ลูกในเรื่องเพศ  แต่หากพ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกรู้จักในเรื่องเพศและมีวิธีการสื่อสารข้อมูลในเชิงบวก ก็จะช่วยให้ลูกเกิดทัศนคติในการเคารพในพื้นที่ร่างกายทั้งของตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนช่วยลดความรุนแรงและการคุกคามทางเพศลง


วันที่จัด : 22 ก.พ.63


วันรับสมัคร : 3-15 ก.พ. 63


10.“กินอย่างไรให้ลูกมีสุขภาวะที่ดี”


อาหารสำเร็จรูปที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด เราจะมั่นใจอย่างไรว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ ที่เพียงพอ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูก "กินอย่างไร ให้เด็กมีสุขภาวะดี" เป็นการชวนครอบครัวมาทบทวนถึงพฤติกรรมการบริโภคของลูก การแลกเปลี่ยนข้อมูลอาหารเพื่อสุขภาพ การออกแบบมื้ออาหารอย่างง่ายให้ได้สุขภาวะ และเคล็ดลับในการปรับพฤติกรรมการบริโภคของลูก เพื่อให้การบริโภคเป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่เป็นภาระ แต่ก่อเกิดสุขภาวะที่ดีของคนในครอบครัว


วันที่จัด : 28 มี.ค. 63


วันรับสมัคร : 2-20 มี.ค. 63


ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปต้องเป็นสมาชิกศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถส่ง ชื่อ – นามสกุล/ อายุ และเบอร์โทรมาที่ Email. : [email protected] Line : @SOOK หรือคลิก http://bit.ly/linesook หรือโทร 081-731-8270 หรือ 02-343-1500 กด 2

Shares:
QR Code :
QR Code