นโยบายขึ้นภาษีและการห้ามโฆษณาบุหรี่
นโยบายขึ้นภาษีและการห้ามโฆษณาบุหรี่ของประเทศไทยที่ผ่านมา
1. การเปลี่ยนแปลงของยอดจำหน่ายบุหรี่และภาษีที่ได้รับ
– ก่อนการขึ้นภาษี (ระหว่าง พ.ศ. 2533 – 2536)
– เฉลี่ยยอดจำหน่าย = 2,013 ล้านซองต่อปี
– เฉลี่ยภาษีที่ได้รับ = 15,535 ล้านบาทต่อปี
– หลังนโยบายขึ้นภาษี (ระหว่าง พ.ศ. 2537 – 2549)
– เฉลี่ยยอดจำหน่าย = 2,030 ล้านซองต่อปี
– เฉลี่ยภาษีที่ได้รับ = 29,554 ล้านบาทต่อปี
– ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น
– เฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อปี = 14,019 ล้านบาท
– ภาษีบุหรี่ที่เก็บได้เพิ่มขึ้นระหว่าง 2537 – 2549 = 182,247 ล้านบาท
– ทำให้จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ลดลง = 2.4 ล้านคน
– เป็นคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ = 1.44 ล้านคน
– ป้องกันวัยรุ่นไทยจากการเสพติดบุหรี่ = 0.96 ล้านคน
– จำนวนคนไทยที่รอดพ้นจากการเสียชีวิตเพราะเลิกสูบบุหรี่ = 19,120 คน
2. นโยบายห้ามโฆษณาบุหรี่ของประเทศไทยที่ผ่านมา
– ทำให้คนไทยที่สูบบุหรี่เลิกสูบ = 880,000 คน
– ป้องกันวัยรุ่นไทยจากการเสพติดบุหรี่ = 528,000 คน
– จำนวนคนไทยที่รอดพ้นจากการเสียชีวิตเพราะเลิกสูบบุหรี่ = 7,010 คน
ที่มา: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
Update: 24-08-53
อัพเดตเนื้อหาโดย: คมสัน ไชยองค์การ