25 ก.ค. 65 1,960 ครั้ง กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า จากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้มีเด็กอายุ 0-18 ปีติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะทำให้มีการพบผู้ป่วย MIS-C (มิสซี) เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเป็นอาการที่พบในเด็กหลังติดเชื้อโควิด-19
25 ก.ค. 65 3,219 ครั้ง WHO ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ด้านสาธารณสุขไทยประกาศเตรียมแนวทางรองรับและป้องกัน พร้อมเน้นย้ำประชาชนถึงวิธีป้องกัน ไม่ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ใช้ของใช้ร่วมกัน หากมีอาการเข้าข่ายให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
21 ก.ค. 65 2,702 ครั้ง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนนักท่องเที่ยวช่วงมรสุมไม่ควรลงเล่นน้ำทะเล เนื่องจากมีคลื่นลมแรง และอาจถูกกระแสน้ำย้อนกลับ หรือคลื่นทะเลดูด คลื่นดอกเห็ด พร้อมแนะวิธีสังเกตและวิธีการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
19 ก.ค. 65 2,139 ครั้ง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือประชาชนตรวจสอบสภาพรถยนต์ ความพร้อมของร่างกายก่อนการขับขี่ยานยนต์ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด พร้อมแนะนำการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนสำหรับรถรับ-ส่งนักเรียน เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเยาวชน
19 ก.ค. 65 2,743 ครั้ง โรค "NCDs" หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็น กลุ่มของโรคประกอบด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันเลือดสูง อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด ถุงลม โป่งพองและมะเร็ง ใน 4 โรคแรกนั้นเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นหลัก หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะนำมาสู่การเป็นโรคร้ายแรงต่อไปและเสียชีวิตได้ การรักษา ที่สำคัญในเบื้องต้นคือการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ลดความเครียดและนอนหลับ ให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แพทย์จึงต้องแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีความกังวลใจเกี่ยวกับการกินยารักษาโรคเหล่านี้เพราะได้ยินกันมาว่า "กินยานานๆ แล้วจะเป็นโรคตับ โรคไต หรือ ตับไตจะเสียจากการกินยานานๆ" คำพูดนี้เรามาพิจารณาดูกันว่าเป็นจริงมากน้อยเพียงใด?
19 ก.ค. 65 1,912 ครั้ง แนะวัด ศาสนสถาน และสถานประกอบการ ทุกแห่ง ล้างห้องน้ำให้สะอาดเพื่อรองรับประชาชนที่ไปใช้บริการ โดยเฉพาะจุดที่มีการสัมผัสบ่อย เพื่อลดความเสี่ยงโรคโควิด-19
19 ก.ค. 65 7,605 ครั้ง จากกรณีที่มีสาวเล่าประสบการณ์ร้าย ไม่ดื่มน้ำเปล่าหลายปี แต่ดื่มน้ำอื่นแทนน้ำเปล่าจนป่วยนั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง การดื่มน้ำเปล่าสะอาด และเพียงพอจะช่วยรักษาสมดุล ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เนื่องจากน้ำส่งผลกับการทำงานของสมอง หากขาดน้ำ สมองจะกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งส่งผลให้ความเครียดเพิ่มสูงขึ้น จึงเน้นย้ำดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด โดยดื่มให้เหมาะสม เพียงพอ ช่วยรักษาสมดุลและทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
17 ก.ค. 65 1,885 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแนะประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยว เดินทางไกลหรือกลับภูมิลำเนาในช่วงวันหยุดยาว ต้องหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากพบว่ามีความเสี่ยงให้ตรวจ ATK ทันที ก่อนเริ่มกลับเข้าทำงาน พร้อมให้สถานที่ทำงานปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อลดความเสี่ยงโควิด-19
12 ก.ค. 65 1,586 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนท่องเที่ยว เดินทางไกล กินผลไม้ น้ำผลไม้คั้นสดรสเปรี้ยว คลายง่วง พร้อมย้ำยึดหลัก UP ต่อเนื่อง ลดเสี่ยงโควิด-19
12 ก.ค. 65 2,772 ครั้ง โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ชี้เสมหะ คือ สิ่งข้นเหนียวเหมือนเมือกที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเป็นปกติอยู่แล้ว แต่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
08 ก.ค. 65 1,394 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ย้ำ ไม่เริ่มอาหารบดหรืออาหารแข็งก่อน 6 เดือน เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังไม่สามารถรับอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้ แนะนำให้ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และหลัง 6 เดือน จึงให้กินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น
08 ก.ค. 65 2,321 ครั้ง แนะผู้ปกครองสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระวังป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โดยเฉพาะขณะนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ เน้นย้ำป้องกัน ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ส่วนการรักษาส่วนใหญ่ เป็นการรักษาตามอาการ หากไม่ดีขึ้นรีบไปพบแพทย์ทันที
01 ก.ค. 65 2,321 ครั้ง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ชวนประชาชนร่วมรณรงค์ตรวจเอชไอวี ภายใต้แนวคิด “HIV ตรวจเร็ว รู้ก่อน ก้าวต่อได้” พร้อมเชิญชวนผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยคนไทยสามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและประชาชนทั่วไปได้รับการตรวจและทราบสถานะการติดเชื้อของตนเองโดยเร็ว
01 ก.ค. 65 1,785 ครั้ง โรคฟันผุเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ไม่ใช่โรคที่ติดต่อผ่านการหอมหรือจูบ ควรใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
01 ก.ค. 65 4,775 ครั้ง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเชื้อราคือความอับชื้นที่สะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของบ้าน โดยจะพบร่องรอยของเชื้อราได้ตามเฟอร์นิเจอร์เครื่องนอน ตู้เสื้อผ้า และพื้นที่ที่มีรูรั่วหรือรอยแตกของบ้านที่มีน้ำซึมและน้ำรั่วไหลเข้าภายในบ้าน ทำให้เปียกและอับชื้นเกิดเป็นแหล่งของเชื้อราได้หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรค