06 มิ.ย. 66 10,104 ครั้ง กระแสเครื่องดื่มแนวใหม่ ทั้งอิ๊วโซดา โคล่า เติมเกลือ กาแฟเติมเกลือ ถึงแม้จะอินเทรนด์ แต่ทำลายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว
31 ส.ค. 65 2,378 ครั้ง สสส.-เครือข่ายลดบริโภคเค็ม-WHO หนุน 4 มาตรการ “ลดการบริโภคเกลือโซเดียม” ดึง ผู้ประกอบการปรับสูตรอาหาร-กำหนดนโยบายจัดซื้ออาหารอ่อนเค็มในองค์กร-ติดฉลากคำเตือน/สัญลักษณ์สี- สื่อสารสร้างความตระหนักรู้ ช่วยคนไทยปรับพฤติกรรมการกิน มุ่งเป้าลดกินเค็มลง 30% ลดเสี่ยงป่วย-ตายจากโรค NCDs ภายในปี 2568
03 ก.พ. 65 3,615 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีโซเดียมสูงเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และหัวใจวายได้ในที่สุด แนะเลี่ยงเติมผงปรุงรสหมดซองและกินน้ำซุปหมดถ้วย
01 ธ.ค. 64 3,661 ครั้ง การกินเค็มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดแนวคิดใช้มาตรการภาษีโซเดียม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในอาหาร เพื่อช่วยให้ประชาชนลดปริมาณบริโภคเกลือ
28 ต.ค. 64 5,677 ครั้ง โซเดียมไม่ได้มีเเค่ในเกลือหรือเครื่องปรุงรสเท่านั้น เเต่โซเดียมมีหลายรูปแบบที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมมากมาย ซึ่งหากได้รับมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ มาดูกันว่า อาหารหรือผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้างที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
20 ก.ย. 64 3,057 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ตกเป็นเหยื่อของการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมัน น้ำตาล โซเดียมสูง โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มผสมน้ำตาล ที่เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนในเด็ก
01 ก.ค. 64 5,684 ครั้ง หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “โซเดียม” แล้วคุณคิดว่าโซเดียมคืออะไร หมายถึงเกลือ หรืออาหารที่มีรสเค็มหรือเปล่า วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับโซเดียมที่ชื่อคุ้นหู แต่ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นคุ้นชินกันให้มากขึ้น
31 มี.ค. 64 1,800 ครั้ง ตามที่มีข่าวการท้าทายกินเกลือของคนต่างชาติผ่านสื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังนั้น ขอเตือนว่าไม่ควรเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าว เนื่องจากการบริโภคเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็มมากเกินไปส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณสูงเกินความต้องการ โดยปริมาณที่แนะนำไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน โดยจากผลสำรวจปี 2563 พบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงถึง 4,351.7 มิลลิกรัมต่อวัน สูงกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า ส่งผลทำให้คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการบริโภคโซเดียมเกินกว่าความต้องการในแต่ละวันทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นและเสื่อมเร็วขึ้น การรับโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องในระยะยาวส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิต เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ไต เบาหวาน และอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
05 พ.ย. 63 2,296 ครั้ง การบริโภคโซเดียมที่ล้นเกินของคนไทย จึงทำให้เร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ.2559-2568 ตั้งเป้าประชาชนบริโภคเกลือและโซเดียมลดลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อลดโอกาสที่จะนำไปสู่การป่วยการเสียชีวิตและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs
31 ก.ค. 63 1,811 ครั้ง การบริโภคเกลือในปริมาณมากเกินพอดีจะส่งผลให้ เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น หัวใจวาย อัมพาต และความเสื่อมของไตนำที่นำไปสู่ ภาวะไตวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของคนทั่วโลก
20 ก.ค. 63 5,812 ครั้ง ในปัจจุบันนี้โรคอ้วนและอ้วนลงพุงมีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของการเกิดนั้นมาจากการที่กินมากเกินไป (overeating) จากการศึกษาพบว่ารสชาติของอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนกินอาหารมากขึ้น โดยพบว่ารสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อการกินมากที่สุด รสชาติเค็มเปรียบเหมือนยาเสพติดโดยเร่งการผลิตโดปามีนซึ่งเป็นสารเคมีในสมองส่งผลต่ออารมณ์ความพึงพอใจ ความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกอยากอาหาร เมื่อติดรสชาติเค็มแล้วหากไม่ได้รสชาติเค็มก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย นอกจากนี้ผู้ที่ติดรสชาติเค็มเพียงแค่นึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มก็สามารถทำให้เกิดความรู้หิวและอยากอาหารขึ้นมา จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่ชอบกินเค็มอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินเค็มเนื่องมาจากพอความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น กินก็มากขึ้น โอกาสการได้รับพลังงานที่มาจากอาหารก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
30 มิ.ย. 63 4,850 ครั้ง การบริโภคเกลือในปริมาณมากเกินพอดีจะส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โดยโรคความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น หัวใจวาย อัมพาต และความเสื่อมของไตนำที่นำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนจำนวนมากทั่วโลกในแต่ละปี มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมต่ำ สามารถจะลดระดับความดันโลหิตลงได้ ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงมีการรณรงค์ให้ลดการรับประทานอาหารรสเค็มเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
22 มิ.ย. 63 9,272 ครั้ง อาหารเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ เพราะร่างกายจะได้รับพลังงานและสารอาหารต่างๆ จากอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย สำหรับวัย ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความต้องการพลังงานลดลงจากวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากปริมาณมวลกล้ามเนื้อน้อยลง มีอัตราการเผาผลาญอาหารต่ำกว่าเดิม แต่ความต้องการสารอาหารอื่นๆ รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ยังไม่ลดลง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของอาหาร โดยเน้นทานอาหารที่พลังงานต่ำแต่มีสารอาหารครบถ้วน