22 ก.ย. 64 2,802 ครั้ง สสส.สนับสนุนสำนักอนามัย กทม.มอบสื่อประชาสัมพันธ์ Home isolation เน้นเข้าถึงชุมชน 2,016 แห่ง สร้างความเข้าใจการรักษาตัวเองที่บ้าน ลดเสี่ยงโควิด-19พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ผู้อำนวยการสำนักอนามัย รับมอบสื่อรณรงค์จาก นางสาวรุ่งอรุณลิ้มฬหะภัณรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว และเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เพื่อนำสื่อรณงค์ประชาสัมพันธ์ Home isolation คู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน (ฉบับปรับปรุงใหม่) จำนวน4,032 ชิ้น ไปติดตั้งในพื้นที่ กทม.กว่า 2,016 ชุมชน
23 ส.ค. 64 1,958 ครั้ง "หญิงตั้งครรภ์" เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดโควิด-19 จำนวนมาก โดยล่าสุด (19 ส.ค.2564) พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตถึง 3 คน และข้อมูลตั้งแต่ระหว่าง 1 เม.ย.- 18 ส.ค.2564 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด 2,327 ราย เสียชีวิต 53 ราย ทารกติดเชื้อ 119 ราย เสียชีวิต 23 ราย ในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนแล้ว 22 ราย ซึ่งหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยง อาการหนักกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า และเสียชีวิต 1.5-8 คนใน 1,000 คน
31 พ.ค. 64 12,390 ครั้ง เมื่อออกไปในที่สาธารณะ สิ่งสำคัญคือต้องอยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อชะลอการแพร่ระบาดของโควิด -19 ฝึกและเตือนตนเองพร้อมคนรอบข้างให้ทำตัวให้ชินเมื่อจำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน
08 ก.พ. 64 6,834 ครั้ง ถ้าคุณเป็นสายออกกำลังกายกลางแจ้ง ชอบไปใช้บริการสวนสาธารณะ หรือสถานที่ออกกำลังกายต่างๆ แต่ไม่อยากเสี่ยงกับโควิดในช่วงนี้ SOOK มีแนวทางปฏิบัติดีๆ เมื่อต้องไปออกกำลังกายนอกบ้านมาแนะนำกัน
27 ม.ค. 64 2,014 ครั้ง ขณะนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ต้องมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่อย่างเคร่งครัด จึงขอความร่วมมือผู้ใช้บริการศูนย์สร้างสุขทุกวัย (ศูนย์เยาวชน)ทั้ง 35 แห่ง ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 36 แห่ง พิพิธภัณฑ์เด็ก 2 แห่ง และหอสมุดเมือง 1 แห่ง รวม 74 แห่ง เคร่งครัดการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน เช่น เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ผู้เข้าใช้บริการต้องแสดงบัตรสมาชิกและสวมหน้ากากอนามัย ลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นไทยชนะ หรือลงชื่อพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ตรวจวัดอุณหภูมิ ไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
27 ม.ค. 64 1,689 ครั้ง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยพร้อมตรวจสอบคุณภาพวัคซีนโควิด-19 ในรูปแบบเชื้อตาย Adenoviral vector และ DNA หรือ mRNA รองรับการขึ้นทะเบียนวัคซีน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศ
21 ม.ค. 64 1,710 ครั้ง ช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ประชาชนควรเลือกปรุงและกินอาหารให้เหมาะสมถูกหลักโภชนาการ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอยู่ที่บ้าน(Work From Home)ควรกินอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม เน้นกินข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ กินผักและผลไม้หลากหลายสีช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน โดยแต่ละมื้อควรกินแค่พออิ่ม เคี้ยวอาหารช้าๆ จะได้ย่อยง่ายและช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม ปรุงอาหารประเภท อบ ตุ๋น ต้ม นึ่ง ย่าง เลี่ยงเมนูทอด หรือแกงกะทิ ลดการกินจุบจิบ บริโภคผัก และผลไม้รสไม่หวานจัดเป็นประจำ งดการกินอาหารมื้อดึก ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อวัน เลี่ยงน้ำหวานน้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะวัยทำงานควรตระหนักถึงความสำคัญของความอ้วนที่อาจส่งผลต่อการติดเชื้อ และเพิ่มความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้ผู้ที่นิยมสั่งอาหารนอกบ้านควรเลือกร้านที่ได้มาตรฐาน.
21 ม.ค. 64 3,374 ครั้ง สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร ได้วางมาตรการเชิงรุกในการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ในตลาดสดและตลาดนัดในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน โดยตลาดนัดจตุจักรได้ร่วมกับสำนักงานเขตจตุจักร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ค้า ตลาดเทวราช ร่วมกับสำนักงานเขตดุสิตและสำนักอนามัย ลงพื้นที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทางน้ำลายให้กับ ผู้ค้า ตลาดบางกะปิ ร่วมกับสำนักงานเขตบางกะปิ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 คนต่างด้าว ตลาดธนบุรี ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ล้างพื้นถนนและพื้นทางเดิน ตลาดรัชดาภิเษก ร่วมกับสำนักงานเขตธนบุรี ศูนย์บริการสาธารณสุข 27 ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทางน้ำลายให้กับผู้ค้า พร้อมกันนี้ ได้ประสานความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 แก่ผู้ค้าในตลาด
21 ม.ค. 64 3,600 ครั้ง แนะผู้ที่ต้องทำงานนอกบ้าน หรือไปธุระออกจากบ้าน เมื่อกลับมาถึงบ้านให้รีบล้างมือ อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย ก่อนใกล้ชิดเด็กและผู้สูงอายุ พร้อมจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้โล่ง โปร่ง ระบายอากาศได้ดี เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19
19 ม.ค. 64 1,971 ครั้ง แนะ 5 วิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้สูงอายุปลอดภัยจากโรคโควิด 19 เน้นให้หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน หากไม่จำเป็น ที่สำคัญหากคนในบ้านมีประวัติเสี่ยงหรือไปสถานที่แออัดมา ให้เว้นระยะห่างจากผู้สูงอายุอย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะหากได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
19 ม.ค. 64 1,770 ครั้ง โรงพยาบาลสนามมีความสำคัญและจำเป็นต่อการรับมือการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่นี้อย่างไร? นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เกินกำลังรองรับของโรงพยาบาล เช่น จ.สมุทรสาคร มีผู้ป่วยเกินกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะหาเตียงในโรงพยาบาลมารองรับ 1,000 กว่าเตียง เราก็จะจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเป็นการเร่งด่วน ลักษณะของผู้ป่วยต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ
18 ม.ค. 64 6,346 ครั้ง โรงพยาบาลสนาม สำคัญอย่างไร ? ทำไมต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19เป็นจำนวนมาก แล้วจะส่งผลกระทบต่อชุมชนในบริเวณนั้นหรือไม่ ? หลากหลายคำถามที่เกิดขึ้นจนเป็นประเด็นให้กล่าวถึงกันมากในสังคม โดยเฉพาะใน “โลกโซเชียล”
15 ม.ค. 64 2,687 ครั้ง จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ปีงบประมาณ 2564 หนึ่งในรูปแบบบริการที่ สปสช.ได้พัฒนาการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกาย ลดการเดินทางและลดความแออัดในโรงพยาบาล คือ บริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) ขณะนี้เริ่มนำร่องให้บริการระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 มีโรงพยาบาลที่มีความพร้อม และสมัครใจเข้าร่วมโครงการขณะนี้ 15 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล (รพ.) ศิริราช รพ.รามาธิบดี รพ.ราชวิถี รพ.ประสาทวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ รพ.กลาง รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ รพ.ตากสิน รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ รพ.ราชพิพัฒน์ รพ.สิรินธร รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ รพ.ลาดกระบัง รพ.มะเร็งลำปาง และ รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน ตลอดจนโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีความพร้อมในเขตสุขภาพที่ 1-12 ประกอบกับในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการระบาดรอบใหม่ ทำให้ระบบดังกล่าวเป็นทางเลือกช่วยสนับสนุนให้มาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ขอแนะนำให้ผู้ป่วยใช้สิทธิบัตรทองติดต่อสอบถาม
13 ม.ค. 64 2,581 ครั้ง เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมสถานประกอบการร้านอาหาร ณ ร้านกินปู เมืองนนท์ ร้าน Makoto และร้านสุกี้ตี๋น้อย (บุฟเฟ่ต์) จังหวัดนนทบุรี ว่า ในช่วงการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มในแต่ละวัน สถานประกอบกิจการร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง เป็นอีกกิจการที่ต้องเฝ้าระวัง และคุมเข้มมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ตั้งแต่การเลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาดจากตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย หรือแหล่งจำหน่ายสินค้าที่เชื่อถือได้หรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ และควบคุมความสะอาดภายในร้าน มีการจัดสถานที่ไม่แออัด ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ความหนาแน่น จัดวางโต๊ะอาหารให้มีระยะห่าง จัดที่คีบอาหารและช้อนกลางแยกไว้ตามโต๊ะ ส่วนบริเวณที่ตักอาหาร ผู้บริโภคไม่ควรไปยืนออกันหรือแออัด ควรเว้นระยะห่างที่เหมาะสม จำกัดเวลาในการนั่งกินอาหาร รวมถึงจัดให้มีระบบระบายอากาศภายในอาคาร ทำความสะอาดพื้นผิวในจุดที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อโควิด-19 เช่น ห้องน้ำ ลูกบิดประตู หรือราวจับทางเดิน เป็นต้น
13 ม.ค. 64 3,657 ครั้ง เปิดเผยกรณีมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตในพื้นที่ กทม.หลังเข้ารับการรักษาได้เพียง 2 วัน โดยประเด็นการเสียชีวิตดังกล่าวทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องอาการและความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะมีภาวะอ้วน และมีอาการไข้มาหลายวัน แต่ไม่ได้มาพบแพทย์แต่แรก กระทั่งมีอาการหายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วย ทำให้อาการของโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ ด้วยความห่วงใย จึงย้ำให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสังเกตอาการตัวเองใกล้ชิด หากมีอาการไข้ ไอ หรือมีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบพบแพทย์ พร้อมแจ้งข้อมูลจริง เปิดเผยประวัติการเดินทาง เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
12 ม.ค. 64 1,776 ครั้ง บุหรี่เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดอื่นๆ รวมถึงโรคเส้นเลือดสมอง ซึ่งรวมกันแล้วเป็นสาเหตุการเสียชีวิตระดับต้นๆ ของโลก บุหรีส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ได้แก่ นิโคติน คาร์บอนไดออกไซด์ ทาร์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และไฮโดรเจนไซยาไนต์ ผู้สูบบุหรี่แต่ละรายจะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากบุหรี่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นกับระยะเวลาที่สูบ ปริมาณที่สูบ ลักษณะพันธุกรรม การมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย