18 ต.ค. 64 2,180 ครั้ง ในช่วงกินเจติดต่อกันเป็นเวลา 9 วัน ส่งผลให้ร่างกายมีการปรับระบบการย่อยอาหารจากที่ย่อยเนื้อสัตว์มาเป็นพืชผักแทน เมื่อร่างกายต้องกลับมากินอาหารตามปกติ ผู้บริโภคจึงปรับสภาพร่างกายด้วยการกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ผักและผลไม้ กินให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เลือกอาหาร รสไม่จัด ไม่หวาน มัน เค็ม เผ็ด เปรี้ยวมากจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์สีแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เพราะทำให้ย่อยยากในช่วงแรก จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยได้ สำหรับการดื่มนม แนะนำให้เริ่มดื่มนมวัวครั้งละน้อยๆ ประมาณครึ่งแก้ว และค่อยเพิ่มเป็นครั้งละ 1 แก้วได้ ในเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
19 ต.ค. 63 3,115 ครั้ง เทศกาลกินเจ ระหว่างวันที่ 16-25 ตุลาคมนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคจะต้องมีความรู้และมีความเข้าใจหลักโภชนาการเพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี
19 ต.ค. 63 2,084 ครั้ง เทศกาลกินเจประจำปี 2563 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 17-25 ต.ค. ทำให้ประชาชนบริโภคผักและผลไม้แทนการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย จึงได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต ขอความร่วมมือในการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในช่วงเทศกาลดังกล่าวเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารทั้งสารบอแรกซ์ ยาฆ่าแมลง สารฟอร์มาลิน สารกันรา(กรดชาลิซิลิค) และสารฟอกขาว ซึ่งสารเคมีต่างๆเหล่านี้จะแอบแฝงในผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารแห้ง และอาหารแปรรูปที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารเจ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคของประชาชน