SOOK Design ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อคนรักสุขภาพ

/data/content/27060/cms/e_aghlmwz24579.jpg


          เป็นเรื่องจริงที่ต้องยอมรับว่า แม้จะมีเงินทองมากมายก็ไม่อาจซื้อสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงได้ นอกจากเราต้องใส่ใจดูแลด้วยตัวเอง แต่ด้วยการดำรงชีวิตของคนเราในสังคมยุคปัจจุบัน โดยแต่ละวันจะต้องตื่นแต่เช้าไปทำงาน ตอนเย็นเลิกงานแล้วต้องรีบกลับบ้าน จึงทำให้ละเลยมองข้ามเรื่องของสุขภาพไปอย่างเสียมิได้


          จนบางครั้งกว่าจะรู้ตัว โรคภัยก็มารุมเร้า ร่างกายทรุดโทรมเสียแล้ว เนื่องจากขาดการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ดังนั้นหากมีสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเตือนในชีวิตประจำวันให้เราทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพได้ ย่อมเป็นทางออกที่ดีในการเลือกใช้ เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นได้


          ด้วยบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานสร้างเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม (สกส.) จัดการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสุขภาวะที่เหมาะแก่การวางจำหน่าย ภายใต้หัวข้อ "SOOK Design Contest : Food Fit for FUN" เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาวะของคนไทย


          สำหรับกิจกรรมการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสุขภาวะฯ มีนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมการประกวดกว่า 180 คน โดยคัดเลือก 30 ทีมเพื่ออบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และมีเพียง 10 ทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ซึ่งแต่ละทีมต้องนำเสนอผลงานต้นแบบต่อคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆนางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร


          ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่ทางเราได้จัดประกวดขึ้น ซึ่งการ/data/content/27060/cms/e_bdefgjoptvw9.jpgตอบรับจากน้องๆ เยาวชนไทยต่อโครงการนี้เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก เนื่องจากเราเชื่อว่าการที่จะมีสุขภาพดี อาหารและการออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยตรง การเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับชีวิตเพื่อสุขภาพของคนไทยเอง ทั้งยังเป็นสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ในราคาที่ทุกคนจับต้องได้ จะมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้ตระหนักและสนใจในการกลับมาดูแลสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น


          รวมทั้งหลายๆ ผลงานที่ออกแบบจะมีส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กไทยเกิดความคิดอยากจะออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมต่อไปด้วย และตั้งใจว่าจะจัดโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี พร้อมติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยต่างๆ และภาคเอกชนให้มาร่วมกันเป็นเครือข่ายสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายสู่ผู้บริโภคต่อไปได้


          ด้านนายอดิศร ศุภวัฒนกุล หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน เผยว่า ปัจจุบันนี้จะเห็นว่ากระแสการรักสุขภาพมาแรงอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่มาควบคู่กันก็คือผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพต่างๆ แต่เราจะเห็นว่าพวกผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้มักจะมาจากต่างประเทศ ดังนั้นการการจัดประกวดครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เห็นผลงานของคนไทย ซึ่งน่าจะออกแบบได้ตรงกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยจริงๆ และเชื่อว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเหล่านี้จะสร้างประโยชน์กับสังคมไทยมากขึ้น


          โดยผลงานจากการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสุขภาวะที่ได้รับ รางวัลชนะเลิศ คือ ผลงานที่มีชื่อว่า "สุขกาย /data/content/27060/cms/e_bdghlmnotvx1.jpgผ้าเช็ดตัวเพื่อการสังเกตตนเอง" โดยทีม Ready to Eat จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วย นางสาวพร กมล ประภาพรวรกุล หรือน้องฟ้า, นางสาวนัสริน ช่วยรอด หรือน้องนัส และนายเจนทัด เจนพานิชการ   หรือน้องปราชญ์ ซึ่งมีแนว คิดมาจากสายวัดรอบเอวรวมกับผ้าเช็ดตัว เพื่อให้ผู้ใช้สังเกตและวัดรอบเอวได้อย่างต่อเนื่อง


          ขณะที่ รางวัลชนะเลิศอันดับสอง คือ ผลงานทีม F&F "My style diary  ไดอารีเกม เพื่อสุขภาพ" โดยนางสาวฝนทิพย์ วัชรา ภรณ์, นางสาวอิชญา ถาวรธนชัย และนางสาววิลิน พิพัฒน์นัดดา จากมหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วน รางวัลชนะเลิศอันดับที่สาม คือ ผลงานทีมข้าวสุข "Eatvel ข้าวสุข" ทัพพีตักข้าวเพื่อวัดจำนวนพลังงาน โดยนางสาวโศภิษฐา ธัญประทีป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรางวัลชมเชยอีก 7 รางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ


          นอกจากนี้ ผลงานของผู้ชนะเลิศแต่ละทีมจะได้รับการพัฒนาและนำไปวางจำหน่ายที่ร้าน SOOK SHOP ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.ต่อไป.


          ใส่ความคิด จุดแรงบันดาลใจ


          น้องนัส-นัสริน ช่วยรอด นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ ตัวแทนทีม บอกว่า แนวคิดในการออกแบบ "สุขกาย ผ้าเช็ดตัวเพื่อการสังเกตตนเอง" มาจากวิธีการของสายวัดเอวรวมเข้ากับผ้าเช็ดตัว ซึ่งรอบเอวไม่ควรเกินครึ่งของความสูง เนื่องจากรอบเอวที่เกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิง หรือเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย เป็นตัวบ่งบอกโอกาสเสี่ยงโรคที่เพิ่มขึ้น โดยผ้าเช็ดตัวเป็นของที่ทุกคนต้องใช้เป็นประจำทุกวัน โดยผู้ใช้จะสามารถสังเกตและวัดรอบเอวของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีชุดช่วยแนะนำการวัดรอบเอวอีกด้วย/data/content/27060/cms/e_cdgkqtuyz567.jpg สำหรับสินค้าจะมีอยู่ 4 ประเภท คือ ผ้าขนหนูสำหรับผู้ใหญ่ ผ้าขนหนูลายการ์ตูนสำหรับเด็ก ผ้าขาวม้า และอุปกรณ์ D.I.Y. แถบผ้าที่สามารถนำไปติดกับผ้าขนหนูที่มีอยู่แล้วด้วยค่ะ


          นางสาวฝนทิพย์ วัชราภรณ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ชนะเลิศอันดับสอง บอกว่า แนวคิดการออกแบบ "My style diary" ไดอารีเกม เพื่อสุขภาพ" คือการใช้ไดอารีเพื่อช่วยให้คนหันกลับมาปรับปรุงพฤติกรรมการกินในทางที่ดีขึ้นด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก โดยมีความพิเศษคือการบันทึกและคำนวณแคลอรีจากตาราง ให้เช็กรายการว่าใน 1 วันรับประทานอาหารมากน้อยขนาดไหน จึงมีส่วนกระตุ้นให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนด ระดับการควบคุมอาหารของตนเอง ได้


          นางสาวโศภิษฐา ธัญประทีป นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ชนะเลิศอันดับสาม บอกว่า ผลงาน "Eatvel ข้าวสุข" ทัพพีตักข้าว ช่วยผู้ใช้ในการกะปริมาณของค่าแคลอรีที่เหมาะสมแก่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม โดยจะช่วยขยายภาพของปริมาณแคลอรีในข้าวที่ผู้บริโภคควรได้รับ เพียงใช้ทัพพีนี้ตักข้าวตามปริมาณที่ต้องการ ก็จะเป็นการบังคับให้บริโภคข้าวแค่ปริมาณที่ตักตามทัพพีเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยค่ะ.


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code