24 ม.ราชภัฎ จัดสร้างเสริม สุขภาวะแนวทางสร้างคน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน
มหาวิทยาลัยรายภัฏทั่วประเทศ ได้ร่วมกันจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาดูงาน เกี่ยวกับงานการสร้างเสริมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมครั้งนี้ เมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภณ พวงสุวรรณ ประธานชุดโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฏได้กล่าวถึงการะประชุมครั้งนี้ว่า โครงการการสร้างเสริมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับสำนักงานการสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การประชุมครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งในการดำเนินงานโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฎ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏที่ร่วมโครงการ จำนวน 24 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สวนสุนันทา ราชนครินทร์ เทพสตรี รำไพพรรณี เชียงราย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ พิบูลสงคราม กำแพงเพชร สกลนคร มหาสารคาม อุดรธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา เพชรบุรี หมู่บ้านจอมบึง กาญจนบุรี นครศรีธรรมร และภูเก็ต ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ดำเนินการไปแล้ว เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของคณะทำงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏในการบริหารจัดการโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฏจากการศึกษาดูงาน รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดแนวทางการทำงานอย่างเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ผลการประชุมและศึกษาดูงาน พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏที่ร่วมโครงการ จำนวน 24 แห่ง ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการดำเนินงานตามโครงการการสร้างเสิรมสุขภาวะในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และพื้นที่ชุมชนในเขตรับผิดชอบ นับเป็นความสำเร็จอีก้าวหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสำนักงานการสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้ร่มกันดำเนินการเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานการสร้างเสริมสุขภาวะให้เกิดขึ้นกับนักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหาร บุคลากรของมหาวิทยาลัยและชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดและนำไปสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาวะ” เพื่อดำเนินการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดทุขภาวะให้ลดน้อยลง
ขณะเดียวกัน เป็นการเพิ่มปัจจัยที่ทำให้เกิดสุขภาวะให้มากขึ้นจนกลายเป็นวิถีชีวิตของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของคนในสังคม โดยบูรณาการเข้ากับแนวคิดและภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อันเป็นแนวทางในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
update:28-01-52