20% ความรุนแรงเกิดจากพันธุกรรม

/data/content/25510/cms/e_fhinorwxy259.jpg

          สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวเผยสาเหตุของความรุนแรง 20% เกิดจากโครงสร้างทางพันธุกรรมของผู้กระทำเอง อาจมีโครโมโซมที่ผิดปกติ และอีกกว่า 80% เป็นผู้ที่กระทำรุนแรงด้วยพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน         

          รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในโครงการเสวนา ดวงใจแม่ วอนยุติความรุนแรง โดยในภาคบ่ายมีการเสวนาหัวข้อ ขอให้แก้มเป็นคนสุดท้ายว่า เรื่องการข่มขืนถือเป็นความรุนแรง แต่คนทั่วไปมักมองความรุนแรงแค่การกระทำรุนแรงทางกาย แต่น้อยคนจะมองเห็นว่ายังมีความรุนแรงทางอารมณ์หรือการกระตุ้นเด็กผ่านการ ซึมซับทางวาจาเชือดเฉือน รวมถึงการใช้อารมณ์ทำให้เด็กจะนำไปใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นต่อไปในอนาคต โดยการเกิดความรุนแรง 20% เกิดจากโครงสร้างทางพันธุกรรมของผู้กระทำเอง อาจมีโครโมโซมที่ผิดปกติ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่อาจแก้ได้ แต่อีกกว่า 80% เป็นผู้ที่กระทำรุนแรงด้วยพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ซึ่งเมื่อเจอตัวกระตุ้นอย่างสื่อ ยาเสพติด แล้วทำให้สมองส่วนอารมณ์ไม่สามารถควบคุมได้ สังคมจึงควรแก้ไขให้ตรงจุด ตั้งแต่ใช้วิชาชีวิตเข้ามาดูแลเด็กให้เขามีทักษะชีวิตและมีปฏิสัมพันธ์กับคน รอบข้างรวมถึงการรู้เท่าทันสื่อ ขณะที่กระบวนการการใช้กฎหมายต้องมีประสิทธิภาพ บังคับใช้ได้จริงด้วย

          น.ส.สุ ภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมารู้ดีว่าสื่อมีผลต่อการกระตุ้นให้ผู้ชมเสี่ยงต่อการเกิดกระทำซ้ำ ที่ผ่านมาก็ได้เรียกสถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการมารับฟังเสมอ หลายครั้งเมื่อถูกฟ้องก็มีการแจ้งและปรับผู้ผลิตรายการเสมอ แต่สื่อประเภทอินเตอร์เน็ตขยายไปเยอะมาก และรัฐไม่มีอำนาจสั่งปิดได้ เพราะบริษัทแม่ของเว็บไซต์โซเชียลมีเดียต่างๆ อยู่ในต่างประเทศ ผู้ชมหรือผู้เสพสื่อจึงควรเป็นกระบอกเสียง คอยแจ้งเตือนข้อมูลมายังคณะกรรมการ หรือร้องเรียนผ่านช่องทางรีพอร์ตของโซเชียลมีเดียเอง

          “สำหรับ กระแสละครนั้นแตกต่างจากรายงานข่าว ทำให้ปิดกั้นได้ยาก แต่ที่ผ่านมาก็ได้มีการเชิญผู้จัดละครมาปรึกษาหารือเรื่อยๆ ที่ผ่านมาผู้จัดละครกล่าวว่า การทำละครแบบนี้ก็เกิดขึ้นจากผู้ชมอยากดูเอง ซึ่งเมื่อเกิดกรณีน้องแก้มขึ้น ก็ทำให้ประชาชนร่วมกันยื่นรายชื่อมาถึง กสทช.ให้เลิกฉากข่มขืนในละคร ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ให้ผู้จัดละครได้ทราบว่ามีคนไม่ต้องการเสพสิ่งนี้อยู่” น.ส.สุภิญญา กล่าว

 

 

          ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ตฃ

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code