13 ทักษะรู้เท่าทัน และรับมือกับข่าวปลอม

ที่มา : หนังสือรู้เท่าทันข่าว สสย.

แฟ้มภาพ

                   สสส. ร่วมกับ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) จัดทำหนังสือรู้เท่าทันข่าว News Literacy ขึ้น เพื่อสร้างค่านิยมใหม่ในการใช้สื่อ รณรงค์ให้ทุกคนมีทักษะการเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

                   ถึงแม้ว่าปัญหาข่าวปลอมจะได้รับการดูแลและจัดการจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การออกกฎหมายลงโทษของภาครัฐ การกำกับดูแลกันเองของภาคอุตสาหกรรม การให้ความรู้และข้อเท็จจริงของภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนที่เป็นมืออาชีพและการวางนโยบายการใช้งานของผู้เผยแพร่เนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นผู้รับสารเองควรมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สามารถวิเคราะห์ ใช้วิจารณญาณในการับข่าวสาร เปิดรับแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ สามารถแยกแยะข้อเท็จจริง ๆ กับความคิดเห็นออกจากกันได้ รู้ถึงเจตนาที่ต้องการสื่อในข่าว เมื่อผู้รับข่าวสารรู้เท่าทันข่าว ก็จะทำให้ลดจำนวนการแชร์และแพร่กระจายของข่าวปลอมได้

ทักษะป้องกันรู้เท่าทันข่าวปลอม

                   1. ตรวจสอบวันที่
ข่าวปลอมจะมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ อย่าลืมดูวันที่ที่เนื้อหาถูกตีพิมพ์ เพราะเรามักพบเห็นผู้คนแชร์ “ข่าว” เก่าอยู่บ่อยครั้งบนโซเชียลมีเดีย

                   2. ตรวจสอบหลักฐาน
ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกต้อง ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่อ อาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

                   3. สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ
เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมือาชีพ หากเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง

                   4. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว
ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาที่ใช้ตัวหน้าและมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!)
หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะเป็นข่าวปลอม ข่าวปลอมและข่่าวที่มีคุณภาพต่ำมักจะมีการพาดหัวข่าวที่กระตุ้นความรู้สึกเพื่อให้เกิดจำนวนการคลิกมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

                   5. พิจารณารูปภาพ
ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว เราสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้

                   6. ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่
บางครั้งเราก็แยกข่าวปลอมออกจากมุกตลกหรือข่าวเสียดสีได้ยาก ตรวจสอบดูว่าเรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาที่ขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียนและเสียดสีหรือไม่ และพิาจารณาว่ารายละเอียด ตลอดจนน้ำเสียงในการเล่าเรื่องฟังดูเป็นไปได้เพื่อความสนุกสนานหรือไม่

                   7. ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน
ตรวจสอบว่าข้อมูลประกอบในบทความ สนับสนุนเนื้อหาหลักของเรื่องราวอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ ทั้งนี้ต้องระวังข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือข้อมูลที่ถูกหยิบมาเพียงแค่บางส่วน เนื้อหาของข่าวปลอมมักประกอบด้วยภาษาที่กระตุ้นอารมณ์และบางครั้งเป็นคำรุนแรง รวมถึงมีการสะกดคำผิด

                   8. ตรวจสอบแหล่งข่าว
ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องราวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หากเรื่องนั้นมาจากแหล่งข่าวที่เราไม่รู้จัก ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้น เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม ตรวจสอบเนื้อหาอื่น ๆ ที่ถูกนำเสนออยู่บนเว็บไซต์ แง่มุมในการนำเสนอข่าว และรายละเอียดติดต่อ อื่น ๆ ที่ปรากฎบนเว็บไซต์

                   9. ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน
ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และเป็นบุคลากรที่อยู่ในแวดลงการรายการข่าวมาเป็นระยะเวลามากน้อยอย่างไร ลองอ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน

                   10. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่น ๆ
หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่น่าเชื้อถือก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง

                   11. พิจารณราลิงก์อย่างถี่ถ้วน
ระวังเว็บไซต์ปลอมที่แสร้างว่าเป็นองค์กรข่าวที่ดูน่าเชื่อถือ ข่่าวปลอมจำนวนมากเลียนแบบรูปลักษณ์ของแหล่งข่าวหรือมีตัวสะกดที่ดัดแปลงให้คล้ายกับเว็บไซต์ข่าวหลัก ควรไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้

                   12. อย่าใช้อคติ
คนเรามีแนวโน้มที่เชื่อข้อมูลที่สอดคล้องกับความเชื่อส่วนตัวของเรา ก่อนที่จะตัดสินว่าเรื่องราวใด ๆ ไม่เป็นความจริง ควรไตร่ตรองให้ดีว่าอคติส่วนตัวของเราไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวในขณะนั้น

                   13. บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้นให้เป็นขาวปลอม
ควรแชร์ข่าวที่มั่นใจว่าเป็นข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้นด้วยการคิด วิเคราะห์ และพิจารณาบริบทอย่างละเอียดถี่ถ้วน การรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่รูปแบบข่าวปลอมมักใช้ จะช่วยให้เรารู้เท่าทันและมีวิจารณฐาณในการรับข่าวสาร

                   ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือรู้เท่าทันข่าว สสย. https://shorturl.asia/qH7mW

Shares:
QR Code :
QR Code