11 เทคนิค “กินให้มีสุข” ยุคอาหารแพง

เรื่องโดย : เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์ Team Content www.thaihealth.or.th


ข้อมูลจาก : หนังสือกินดีมีสุข ในยุคเศรษฐกิจพอเพียง โดย กรมอนามัย และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


11 เทคนิค “กินให้มีสุข” ยุคอาหารแพง thaihealth


ใกล้สิ้นเดือนเหมือนใกล้สิ้นใจ…ช่วงนี้มองไปทางไหนสินค้าอุปโภค บริโภค มีราคาสูงขึ้น มนุษย์เงินเดือนหรือแม่บ้านจะซื้อของแต่ละทีต้องคิดแล้วคิดอีก 


เช่นเดียวกับอาหารที่มีราคาแพงขึ้น ผู้ที่มีรายได้น้อยจึงต้องเลือกกินอาหารที่มีราคาถูกลง จนอาจทำให้ละเลยคุณค่าทางอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตได้  


ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีควรจะกินอย่างไร…ในขณะที่มีรายได้ไม่มากนัก ?


การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้น ต้องกินอาหารในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายใน 1 มื้อ เพราะแม้อาหารจะแพง แต่ถ้ากินให้ได้สัดส่วนในปริมาณที่พอเหมาะแล้ว นอกจากร่างกายจะได้สารอาหารครบถ้วน ยังเป็นการประหยัดเงินได้อีกด้วย  วันนี้เราจึงมี 11 เทคนิคง่ายๆ เกี่ยวกับ "การกินให้มีสุข ในยุคอาหารแพง" โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร หรือภาวะโภชนาการเกิน ดังต่อไปนี้


11 เทคนิค “กินให้มีสุข” ยุคอาหารแพง thaihealth


1.กินพออิ่ม ควรกินแค่พออิ่ม โดยตักอาหารกะปริมาณพอดี ตักให้พออิ่ม อย่าตักมากจนล้นจานจนกินไม่หมด


2.ไม่กินทิ้งกินขว้าง เพราะปัจจุบันนี้อาหารเกือบทุกชนิดมีราคาสูง เราควรกินควรใช้อย่างพอดีไม่ทิ้งขว้าง และไม่เปลืองเงินด้วย


3.อาหารดีมีคุณค่า ราคาถูก อาหารประเภทเนื้อสัตว์อาจใช้เต้าหู้ หรือ ถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ เลือกกินปลาน้ำจืดสลับกับปลาทะเล กินไข่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพดีและราคาถูก เลือกอาหารที่มีในท้องถิ่นจะมีราคาถูก หาง่าย ปลอดภัยจากการปนเปื้อน รวมถึงผักพื้นบ้าน เช่น ตำลึง กระถิน


4.กินผลไม้แทนขนมหวาน กินผลไม้ไทยตามฤดูกาลจะมีราคาถูก มีจำหน่ายมากและหาซื้อได้ง่าย ส่วนขนมหวานจะมีราคมแพงกว่า แถมยังมีน้ำตาล กะทิ ทำให้อ้วนด้วย


11 เทคนิค “กินให้มีสุข” ยุคอาหารแพง thaihealth

5.ลดการกินจุบกินจิบ ของจุบจิบส่วนใหญ่นอกจากจะทำให้ร่างกาบได้พลังงานกินและอ้วนแล้ว ยังทำให้สิ้นลืองเงิน ควรกินนน้อยลงและเปลี่ยนเป็นผลไม้ไทยรสไม่หวานจัด แทนขนมหวาน และขนมกรุบกรอบ


6.ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีรสหวานต่างๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดเท่านั้น


7.กินอาหารไทย ช่วยเศรษฐกิจช่วยชาติ กินอาหารไทยจะช่วยชาติประหยัด เพราะอาหารไทยใช้วัตถุดิบในประเทศ นอกจากราคาถูกกว่าแล้ว อาหารแบบตะวันตก เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ส่วนใหญ่มีแคลอรีสูง ทำให้อ้วน และจะได้ไขมันมากเกินความจำเป็น


8.ลดการสั่งอาหารราคาพิเศษ เช่น การเพิ่มลูกชิ้นในก๋วยเตี๋ยว หรือเพิ่มข้าวและกับข้าว นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้ว ยังจะทำให้อ้วนอีกด้วย


11 เทคนิค “กินให้มีสุข” ยุคอาหารแพง thaihealth

9.งดการกินอาหารมื้อดึก กินอาหารมื้อดึกแล้วเข้านอน ไม่มีการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ร่างกายจะเผาผลาญอาหารที่คุณกินไปน้อยมาก แต่จะสะสมเป็นไขมันแทน ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้


10.เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่ารีบร้อน การเคี้ยวอาหารช้าๆ จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วกว่า เพราะร่างกายคนเราจะเริ่มรู้สึกอิ่ม เมื่อเรากินอาหารไปประมาณ 20 นาที


11.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แทนนมกระป๋อง ทารกแรกเกิดให้กินนมแม่ซึ่งไม่ต้องซื้อ สะอาดสะดวก ปลอดภัย ประหยัด และมีประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางกายภาพ และสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่ลูกที่หาจากนมกระป๋องไม่ได้


เมื่อเรากินอาหารให้ได้สัดส่วน ในปริมาณที่พอเหมาะแล้ว อย่าลืม "กิจกรรมทางกาย" ตามแนวคิดของ สสส. เพียงแค่ขยับ ก็เท่ากับออกกำลังกายควบคู่กันไป ด้วยกิจกรรมง่ายๆ เช่น งานบ้าน การเดิน แกว่งแขน  ก็สามารถทำให้เรามีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้ โดยไม่สิ้นเปลืองเงินในกระเป๋าสตางค์


 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ