11 จังหวัด นำร่องการศึกษาเชิงพื้นที่

สื่อสารโดนใจ 11 จังหวัด นำร่องการศึกษาเชิงพื้นที่ thaihealth


‘สสค.’ จับมือ ‘ไทยพีบีเอส’ จัดอบรมเพิ่มศักยภาพนักสื่อสารรุ่นใหม่ สร้างประเด็นสื่อสารโดนใจ 11 จังหวัดนำร่องจัดการศึกษาเชิงพื้นที่


เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพนักรณรงค์สื่อสารยุคใหม่ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “จับประเด็นข่าวได้ สื่อสารโดนใจ เขียน(เล่าเรื่อง)ได้ รายงานเป็น” โดยได้รับเกียรติจาก คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก บก.รายการเสียงประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย, คุณสุวัจนา ทิพย์พินิจ สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณ


สำนักงานกองทุนส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพนักรณรงค์สื่อสารยุคใหม่ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “จับประเด็นข่าวได้ สื่อสารโดนใจ เขียน(เล่าเรื่อง)ได้ รายงานเป็น” โดยได้รับเกียรติจาก คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก บก.รายการเสียงประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย, คุณสุวัจนา ทิพย์พินิจ สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ และคุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว ThaiPBS ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง และประสบการณ์ในการทำงานข่าว เพื่อให้แต่ละจังหวัดสามารถสื่อสารเรื่องราวและประเด็นที่น่าสนใจสู่สาธารณะชนได้อย่างโดนใจ


สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบไปด้วยผู้แทนและคณะทำงานด้านการสื่อสารจาก 11 จังหวัดนำร่องปฏิรูปการเรียนรู้ภายใต้ “โครงการรณรงค์สื่อสารจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้”  ที่ทาง สสค. เข้าไปหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายและความร่วมมือในการยกระดับการเรียนรู้ ไปสู่การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ประกอบไปด้วย จังหวัดกาญจนบุรี, ชลุบรี, เชียงใหม่, ตราด, นครราชสีมา, น่าน, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์, อำนาจเจริญ และลำปาง   


ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค.กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญที่เรามักสื่อสารโดนใจ 11 จังหวัด นำร่องการศึกษาเชิงพื้นที่ thaihealthจะมองข้ามไป โดยเฉพาะนักวิชาการที่มีข้อมูลหรือองค์ความรู้จำนวนมาก แต่ไม่รู้ว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้ออกไปสื่อสารได้อย่างไร ซึ่งพลังของข้อมูลที่มีอยู่หากนำไปใช้ในการสื่อสารสู่สาธารณะอย่างถูกต้อง 1)จะสร้างให้เกิดความตระหนักร่วมกันถึงเป้าหมายของการทำงาน 2)สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม แล้วจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาหรือหาทางออกร่วมกัน 3)เกิดเป็นพลังการรวมกลุ่มของทุกภาคส่วนที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการทำงานซึ่งเป็นข้อสุดท้ายนั่นก็คือ การเกิดกลไกการทำงานในระดับจังหวัดหรือในระดับท้องถิ่น


“การสื่อสารเป็นการสร้างความตระหนัก ไม่ใช่การสร้างความตระหนก ซึ่งการรวมตัวจากกลุ่มเล็กๆ ของทุกจังหวัดในวันนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ทุกจังหวัดจะได้ใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่จะสามารถทำให้ Area-Based Education เกิดขึ้นได้จากพลังของการสื่อสารทั้ง 4 ข้อที่กล่าวไปแล้ว”


นอกจากนี้ ดร.อมรวิชช์ ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์การปฏิรูปการศึกษาเชิงพื้นที่หลังจากผ่านพ้นเดือนตุลาคม 2558 ว่า รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาที่ยังคงเดินหน้าต่อไป โดยมุ่งเน้นไปที่การกระจายอำนาจและบทบาทการจัดการศึกษาลงไปให้กับท้องถิ่น รวมไปถึงมีแนวคิดในการปรับงบประมาณเชิงพื้นที่ลงมาให้เกิดการบริหารจัดการการศึกษาในระดับจังหวัด


“แต่สิ่งที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น จะต้องเกิดขึ้นมาจากด้านล่าง คือเกิดขึ้นจากสิ่งที่ทุกคนจากทุกจังหวัดกำลังดำเนินการกันอยู่ในขณะนี้ โดยต้องทำในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อที่เราจะได้ของใหม่ขึ้นมา ซึ่งขณะนี้หลายจังหวัดก็เริ่มมีงานที่เห็นรูปธรรมมากขึ้นแล้ว ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบการศึกษาไทยก็คือเด็กไทยและสังคมไทยถูกมายาคติครอบงำในเรื่องการเรียนรู้ ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย แต่การศึกษาที่ดีจะต้องนำไปสู่ความหลากหลายในการเรียนรู้ และเกิดเด็กที่เก่งหลายๆ แบบ 


ซึ่งนับจากนี้พลังในทุกๆ การทำงาน ในทุกๆ เรื่องไม่เฉพาะเรื่องของการศึกษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องเกิดขึ้นมาจากท้องถิ่น โดยรัฐส่วนกลางเพียงแค่อำนวยความสะดวกด้วยการสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการทำงานของท้องถิ่นเท่านั้น” 


ทั้งนี้สสค.ยังได้รับความอนุเคราะห์จากคณะทีมงานติดตามและประเมินผลโครงการรณรงค์สื่อสารจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ สสค.จากคณะนิเทศน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ประกอบด้วย รศ.ดร.บุษบา สุธีธร ผศ.สุกานดา วรพันธุ์พงศ์ รศ.ดร.กำจร หลุยยะพงศ์ ร่วมแลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำแก่คณะรณรงค์สื่อสารในกลุ่มจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ด้วย


 


 


ที่มา : สำนักงานกองทุนส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)

Shares:
QR Code :
QR Code