เจาะลึก ‘เมาแล้วขับ’ ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน

นักบิดประสบอุบัติเหตุกลางถนน ตาย เจ็บ หรือวัยโจ๋พลิกคว่ำตกถนนเจ็บสาหัส ใครที่ได้อ่านพาดหัวข่าวนี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ คงอดสงสัยไม่ได้ว่า อะไรทำให้ผู้คนเหล่านี้จบชีวิตด้วยอุบัติเหตุ และไม่เพียงเฉพาะเหตุการณ์นี้เท่านั้น ที่สะท้อนให้เห็นภาพอุบัติเหตุบนท้องถนนของผู้ขับขี่ แต่ยังมีข่าวอื่นๆ ให้เห็นอยู่เนืองๆ เช่น เหยื่อเมาแล้วขับ การพิการจนไม่สามารถกลับไปทำงานได้ดังเดิม รวมทั้งความเข้าใจผิดๆ เรื่องการดื่มเล็กน้อยไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่ การเดินทาง ระยะใกล้ดื่มนิดหน่อย ไม่ต้องสวมหมวกกันน็อก ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย คงไม่อันตราย จนเป็นเหตุให้นำไปสู่ความตาย

เจาะลึก ‘เมาแล้วขับ’ ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน

บางทีเหตุการณ์เหล่านั้นอาจจะไม่เกิดขึ้น หากหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน คนใช้รถใช้ถนน และคนใกล้ตัวร่วมมือกันสร้างเกราะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ให้คนในสังคมไทยด้วยการพัฒนากายภาพของถนนให้มีมาตรฐานสากล และดำเนินนโยบายที่เน้นหนักลดความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนน ลดจำนวนผู้ตายและบาดเจ็บ สร้างความรู้ความเข้าใจคนไทยเรื่องเมาแล้วขับให้มากยิ่งขึ้น

จากรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยปี 2553 โดยมูลนิธิไทยโรดส์ และศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย แม้คนไทยเสี่ยงเจ็บตายด้วยอุบัติเหตุจราจรน้อยลงตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา แต่น่าวิตกที่ความรุนแรงของอุบัติเหตุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แล้วยังพบคนวัยแรงงานตายหรือบาดเจ็บมากที่สุด โดยมากกว่า 1 ใน 3 ของอุบัติเหตุบนถนนกรมทางหลวง เกิดขึ้นชนกับวัตถุริมทางพลิกคว่ำตกถนน แถมรถยนต์เกินกว่าครึ่งวิ่งเร็วกว่าอัตรากฎหมายกำหนด ทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง

เจาะลึก ‘เมาแล้วขับ’ ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน

เมาแล้วขับ เป็นความเสี่ยงที่ติดอันดับต้นๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน น่าตกใจคดีอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับขยับขยายต่อเนื่องกันมากว่า 10 ปี สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มแล้วขับของผู้ขับขี่บนถนนไม่มีที่ท่าจะลดลง บทสรุปของรายงานยังชี้ผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ฝากชีวิตไว้กับการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ กลุ่มนี้จึงน่าห่วงเสี่ยงตาย-เจ็บอย่างมาก

ผศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กล่าวว่า 5 ปีมานี้แนวโน้มอุบัติเหตุลดลง แต่ความรุนแรงกลับสูงขึ้น เมาแล้วขับเป็น 1 ใน 11 ตัวชี้วัดต้นเหตุอุบัติเหตุทางถนนของไทย ดื่มแล้วขับยังเป็นปัญหา จากข้อมูลมีผู้เสียชีวิตช่วงเทศกาลจำนวนมาก โดยเฉพาะเทศกาลปีใหม่สูงถึง 46% เป็นอุบัติเหตุเกิดในเมือง ขณะที่สงกรานต์เกิดในถนนตามชนบท ยังพบด้วยว่าเพศชายเสี่ยงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกว่าเพศหญิง 4 เท่า และกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปีเสี่ยงตายและบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุทางการจราจรมากที่สุด อีกประเด็นที่ต้องสร้างความเข้าใจ เป็นเรื่องการใช้ความเร็วในเขตเมือง 80 กม./ชม. เขตนอกเมือง 90 กม./ชม. แต่สำรวจพบคนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบกฎหมายนี้

เจาะลึก ‘เมาแล้วขับ’ ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน  “5 ปีที่ผ่านมา อาการบาดเจ็บสาหัสจากเมาแล้วขับมีแนวโน้มลดลง แต่พบผู้ใช้รถจักรยานยนต์ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จากการสอบถามผู้ขับขี่รถและมอเตอร์ไซค์ เกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติดื่มแล้วขับ พบ 37% หรือ 1 ใน 3 ตอบว่าเคยดื่มแล้วขับ และมี 21% ดื่มแล้วขับได้ 79% ดื่มแล้วไม่ควรขับ เป็นทัศนคติคนขับที่ต้องแก้อย่างเร่งด่วน” ผศ.ดร.กัณวีร์เน้นย้ำให้เห็นว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ เป็นต้นเหตุสู่ปัญหาอุบัติเหตุเนื่องมาจากผลของความมึนเมา

สำหรับเหล้า-เบียร์และของมึนเมาหนึ่งในความเสี่ยงภัยบนถนนนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ด้วยตัวของเราเอง และชักชวนเพื่อนหรือคนในครอบครัวให้ตระหนักในภัยจากน้ำเมา เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร อีกตัวเลขที่น่าขนลุกปลุกให้คนตื่นตัวกับอันตรายจากสุรา พบว่าเมาแล้วขับเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเป็น 6.6 เท่า และเพิ่มโอกาสเสียชีวิต 9.6 เท่า แต่ละปีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนนในบ้านเราปีละเกือบหนึ่งล้านราย เสียชีวิต 14,000 ราย ร้อยละ 40-60 นั้นมีเหตุจากสุรา คิดเฉพาะมูลค่าค่าใช้จ่ายในการรักษากรณีอุบัติเหตุจากการดื่ม และมูลค่าการสูญเสียรายได้จากการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บเมาแล้วขับ รวมประมาณ 10,000 ถึง 200,000 ต่อปี

เจาะลึก ‘เมาแล้วขับ’ ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน  มีการประมาณตัวเลขผลกระทบทางเศรษฐกิจว่า ในแต่ละปีคนไทยสูญเสียเงินไปกับเฉพาะค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแสนบาทต่อปี ยังไม่นับความสูญเสียจากการรักษาพยาบาล ขาดงาน สูญเสียรายได้ สูญเสียอวัยวะและชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุการจราจรหรือเมาแล้วขับ จากการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ลดภัยเมาแล้วขับของภาคีเครือข่ายจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เชื่อว่าสร้างกระแสให้ทุกคนรับรู้ถึงพิษภัยน้ำเมาดี แต่จากการสำรวจที่สะท้อนว่ายังมีปัญหาอยู่ น้ำเมายังเป็นปัจจัยเสี่ยงในหลายด้านไม่เฉพาะอุบัติภัยบนถนน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นปัญหาที่ต้องรวมพลังกันสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคมไทย โดยมีหลายฝ่ายเสนอบทลงโทษด้านกฎหมายใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจยึดรถหรือกักรถชั่วคราว รวมถึงการปรับเงินผู้ขายเหล้า-เบียร์ ที่สืบย้อนหลังกลับได้ว่าพัวพันอุบัติเหตุจราจรไม่ว่าจะรุนแรงสักเพียงใด

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
 

Shares:
QR Code :
QR Code