สิ่งแวดล้อมที่ดี คือสิทธิขั้นพื้นฐานของเราทุกคน

ข้อมูลจาก งานสัมมนาวิชาการสาธารณะระดับชาติ สิ่งแวดล้อม มลพิษ สุขภาพ และความยุติธรรม nvironmental and Health Justice FORUM

ภาพโดย ภินันท์ชญา สมคำ Team Content www.thaihealth.or.th และแฟ้มภาพ

                    “…ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาอาจนำพาความเจริญมาสู่บางกลุ่ม แต่กลับทิ้งรอยแผลให้แก่ผืนแผ่นดินและผู้คนอีกมากมาย โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นที่ดำรงชีพอยู่บนฐานทรัพยากรธรรมชาติ และกำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำจากนโยบายที่ไม่ครอบคลุม…”

                    จากงานสัมมนาวิชาการสาธารณะระดับชาติ “Environmental and Health Justice FORUM” ที่จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันที่ 14–15 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต ดอนเมือง ได้กลายเป็นเวทีในการเปิดพื้นที่ให้ทุกเสียงในสังคม ได้ร่วมสะท้อนปัญหา เสนอแนวทาง และร่วมวางรากฐานสู่การสร้าง “ความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ” อย่างแท้จริง

                    “…สิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่เรื่องของธรรมชาติ แต่ คือ คุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน และ สุขภาพไม่ได้หมายถึงแค่การไม่มีโรค แต่รวมถึงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนอย่างลงตัว…” ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม กล่าวในบริบท รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

                    เพราะโลกในปัจจุบันพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศเดียวกัน หมอกควันจากโรงงาน สารพิษในอาหาร หรือฝุ่น PM2.5 ที่คลุ้งอยู่ในอากาศ ไม่ได้เลือกว่าจะทำร้ายใคร ปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังคุกคามทุกชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่เปราะบางและมีโอกาสเข้าถึงนโยบายหรือทรัพยากรได้น้อยกว่า

                    สุขภาพไม่ได้เกิดจากการไม่มีโรคเท่านั้น แต่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่มีสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการดำรงอยู่ หากเรามองแค่ในระบบโรงพยาบาล เราจะพลาดโอกาสในการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาวะอย่างแท้จริง

                    รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวอีกด้วยว่า การพัฒนาในรูปแบบที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นเพียงเครื่องมือ มักก่อให้เกิดรอยร้าวทางนิเวศ เศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยเฉพาะผู้คนเฉพาะท้องถิ่นที่พึ่งพาธรรมชาติเป็นฐาน ซึ่งนโยบายภาครัฐมักถูกกำหนดจากส่วนกลางไม่ได้สะท้อนเสียงของคนตัวเล็กในชุมชน

                    จึงส่งผลให้เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศเดียวกันทั้งหมอกควันจากโรงงาน หรือฝุ่น PM2.5 ที่คลุ้งอยู่ในอากาศ  สารพิษในอาหาร ไม่ได้เลือกว่าจะทำร้ายใคร แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามทุกชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่เปราะบางและมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรได้น้อยกว่านั่นเอง

                    ดังนั้นเวทีนี้ไม่ใช่แค่การฟังบรรยาย หรือสรุปปัญหา แต่เป็นการเปิดพื้นที่ให้หลากหลายเสียงจากใจประชาชน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้พูดถึงสถานการณ์จริงในพื้นที่ของตนเชิงประเด็น เช่น นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษอุตสาหกรรม  ที่สะท้อนความจริงว่า “สิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว” และถ้าเรานิ่งเฉยต่อความไม่ยุติธรรมวันนี้ “วันพรุ่งนี้อาจไม่มีแม้แต่พื้นที่ปลอดภัยให้เราอยู่”

                    ไม่ว่าจะเป็น …ปัญหาจากภัยน้ำท่วมน้ำหลาก ปัญหาฝุ่นพิษและหมอกควันข้ามแดนในภาคเหนือ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ละเลยระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย เมืองที่เติบโตด้วยอำนาจผูกขาด สิทธิของชุมชนถูกมองข้ามต้องทนอยู่อย่างเจ็บปวด

                    ขณะที่ ศ (วุฒิคุณ) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 สสส. กล่าวอย่างชัดเจนว่า  “เราต้องทำให้สิ่งแวดล้อมที่ดี” คือ สิทธิของเรา สุขภาพที่ดี คือ ความยุติธรรม ที่เราต้องได้รับกลายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่สิ่งที่มีเฉพาะกับคนรวยหรือชุมชนที่โชคดี เราต้องผลักดันให้ทุกพื้นที่ในประเทศมีอากาศสะอาด น้ำสะอาด อาหารปลอดภัย และมีพื้นที่สีเขียวให้คนได้หายใจอย่างเท่าเทียม

                    อีกมุมมองในทิศทางเดียวกัน จาก ศ. (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว นักคิด นักพัฒนาสังคม นักวิชาการด้านสันติวิธี ผู้ได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” ประจำปี ๒๕๖๔  ชี้ให้เห็นว่า พลังแห่งความร่วมมือ คือ ทางออกเดียวของ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่เกินกว่าใครคนเดียวจะแก้ได้

                    วิกฤตที่เรากำลังเผชิญไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่ คือ ปัญหาของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักกฎหมาย นักเคลื่อนไหว หรือประชาชนทั่วไป สิ่งที่เราต้องการ คือ “โครงสร้าง” ที่ยุติธรรม “นโยบาย” ที่ฟังเสียงของทุกฝ่าย และ “ความร่วมมือ” ที่ไม่ปล่อยให้ใครต้องสู้ลำพัง

                    เราทุกคนล้วนอยู่ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นหมอกควันจากโรงงาน สารพิษจากอาหาร หรือโรคภัยจากสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งถึงเวลาที่เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมปกป้องสิทธิของกันและกัน วันนี้ที่คุณเผชิญแค่ฝุ่น PM2.5 อาจกลายเป็นพรุ่งนี้ที่คุณไม่มีที่อยู่อาศัยก็มีความเป็นไปได้สูง

                    บทเรียนจากหลากหลายกรณีศึกษาที่ถูกนำเสนอในเวทีนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สถานการณ์วิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 และหมอกควันข้ามแดนในภาคเหนือ ปัญหาการละเลยระบบนิเวศท้องถิ่น การพัฒนาอุตสาหกรรมผิดทิศผิดทาง การพัฒนาเมืองเติบโตอย่างผูกขาด สิทธิชุมชนถูกมองข้าม

                    หากคุณเชื่อว่า คุณควรได้หายใจเต็มปอด กินอาหารปลอดภัย และมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนสุขภาพ คุณ คือ ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

                    สสส. พร้อมเป็นพลังสนับสนุนที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วน สร้างความตื่นรู้ในสังคม เพื่อให้ไม่มีใครต้องแลกสุขภาพ ชีวิต หรือสิทธิของตนเองกับการพัฒนาที่ไม่ฟังเสียงชุมชนอีกต่อไป และ คำตอบเดียวที่จะพาเราไปถึงเป้าหมายนั้น คือ ความร่วมมือที่ไม่ปล่อยให้ใครต้องสู้ลำพัง

Shares:
QR Code :
QR Code