ผู้หญิง อย่าหยุดดูแลตัวเอง

ที่มา : หนังสือคุณผู้หญิง อย่าชะล่าใจ! โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ผู้หญิง อย่าหยุดดูแลตัวเอง thaihealth


แฟ้มภาพ


สาวๆ ส่วนใหญ่มักให้ความสําคัญกับเรื่องความสวยความงามของการแต่งกายหรือผิวพรรณมาเป็นอันดับต้นๆ และมักมองข้ามการดูแลสุขภาพร่างกาย เช่น ประจําเดือน เต้านม อวัยวะเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์ เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นเรื่องน่าขวยเขินในสังคมไทยที่จะปรึกษาผู้อื่นหรือแม้แต่ทําใจไปพบแพทย์ ซึ่งถ้าหากคุณชะล่าใจแล้ว อาจจะทําให้ต้องเสียใจภายหลังได้ จึงควรลองเริ่มต้นด้วยการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตัวคุณเองที่บ้านเริ่มต้นด้วย…


การดูแลสุขอนามัยของ “น้องสาว”


ทุกวันนี้คุณผู้หญิงทําความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกวิธีหรือไม่


– ควรทําความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ แล้วเช็ดให้แห้ง ไม่จําเป็นต้องใช้น้ำยาชําระเฉพาะที่ และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด


– หลังปัสสาวะควรชําระด้วยน้ำสะอาด และหลังการถ่ายอุจจาระควรฉีดน้ำชําระและใช้กระดาษชําระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ป้องกันช่องคลอดติดเชื้อ


– เลือกใช้กางเกงในที่ทําด้วยผ้าฝ้าย จะช่วยลดปัญหาการอับชื้นได้ไม่ใช้กางเกงในปะปนกับผู้อื่น


– หมั่นสังเกตอวัยวะเพศว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ อาทิ    ตกขาว ประจําเดือนมาผิดปกติ เป็นต้น


เช็คความเป็นไปของ “วันนั้นของเดือน”


เราควรตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอว่า ประจําเดือนมาปกติหรือไม่ โดยทั่วไปผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีรอบเดือนทุกๆ 28   วัน แต่อาจจะมีระยะรอบตั้งแต่ 20-45 วันได้ ส่วนจํานวนประจําเดือนที่ถือว่ามาปกตินั้นอยู่ที่ 3-7 วัน  การนับรอบเดือนจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ประจําเดือนมา โดยเริ่มนับเป็นวันที่ 1 จนถึงวันแรกของประจําเดือนในเดือนถัดไป นับระยะห่างได้กี่วันก็แสดงว่าเรามีรอบเดือนตามนั้น ส่วนระยะรอบเดือนจะสม่ำเสมอหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มดลูก รังไข่ ระบบฮอร์โมน รวมทั้งสภาพจิตใจ อารมณ์ และสถานการณ์ชีวิตของแต่ละคนโดยทั่วไปในระหว่างหรือใกล้ระยะเวลาที่มีประจําเดือน ผู้หญิงทั่วไปมักมีอาการปวดท้องน้อยร่วม แต่จะไม่รบกวนการดําเนินชีวิตประจําวัน หากมีอาการปวดประจําเดือนรุนแรงมากผิดปกติต้องระวังไว้


เคล็ดลับเตรียมรับมือช่วงมีประจําเดือน


– ออกกําาลังกายพอเหมาะ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน จะช่วยป้องกันการปวดท้อง เพราะร่างกายได้ระบายความเครียดได้รับการกระตุ้นฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน


– ทานอาหารประเภทธัญพืช ผักใบเขียว ผลไม้ เช่น ผักโขม ปวยเล้งเต้าหู้สด ถั่วต่างๆ กล้วย ที่มีธาตุแมกนีเซียมที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก หลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารสําเร็จรูป


– เลี่ยงเนื้อแดง นม และอาหารเค็ม จะช่วยลดอาการก่อนมีประจําเดือนและอาการปวดประจําเดือน


– ทานเนื้อปลาเพิ่มจะช่วยลดอาการปวดประจําเดือน มีการศึกษาพบว่า การได้รับโอเมก้า 3 จะลดอาการประจําเดือนมามาก ส่วนการได้รับวิตามินบี 1 จะช่วยลดอาการปวดประจําเดือนได้


โดยทั่วไปในระหว่างหรือใกล้ระยะเวลาที่มีประจําเดือน ผู้หญิงทั่วไปมักมีอาการปวดท้องน้อยร่วม แต่จะไม่รบกวนการดําเนินชีวิตประจําวัน หากมีอาการปวดประจําเดือนรุนแรงมากผิดปกติต้องระวังไว้


อาการผิดปกติเกี่ยวกับประจําเดือนที่ไม่ควรมองข้าม


ไม่ควรชะล่าใจกับอาการผิดปกติเหล่านี้ เช่น อาการปวดท้องรุนแรง เลือดออกผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ ประจําเดือนมามาก หรือกะปริบกะปรอย เพราะอาจเป็นอาการของโรคต่างๆ ดังนี้


ภาวะเยื่อบุผนังโพรงมดลูกเจริญผิดที่


ใครที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังควรไปตรวจเช็ค เพราะอาจมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นโรคฮิตของผู้หญิงที่ยังไม่มีบุตรในช่วงอายุ 25-44 ปี แต่ผู้หญิงมีบุตรก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน


ลักษณะอาการ


1. มีอาการปวดก่อนและระหว่างมีประจําเดือน


2. ปวดท้องน้อยแปลบๆ ขณะมีเพศสัมพันธ์


3. ปวดปัสสาวะบ่อย ท้องเดินบ่อย หรือถ่ายลําบาก และอาการจะรุนแรงช่วงใกล้มี หรือกําลังมีประจําเดือน แต่เมื่อหมดประจําเดือนอาการก็จะหายไป


4. มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ นอกเหนือจากการมีประจําเดือนไม่สม่ำเสมอ และออกเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ


เนื้องอกมดลูก


เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง สาเหตุการเกิดยังไม่รู้แน่ชัด ส่วนอาการของโรคขึ้นอยู่กับขนาดและตําแหน่งของเนื้องอก ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นก็คือการมีบุตรยาก


ลักษณะอาการ


1.ประจําเดือนมามากผิดปกติ


2.มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน


3.มีอาการปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง


มะเร็งปากมดลูก


พบมากในผู้หญิงช่วงอายุ 30-50 ปี สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชวีพีและมีปัจจัยส่งเสริมที่ทําให้เกิด อาทิ


– มีคู่นอนหลาย


– คนร่วมเพศตั้งแต่อายุยังน้อย


– มีบุตรยากหรือมีบุตรตั้งแต่อายุยังน้อย


– เคยมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น กามโรคหรือเริม ฯลฯ


– ทานยาคุมกําเนิดเป็นเวลานาน


– ไม่เคยมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก


ลักษณะอาการ


1. มีตกขาวผิดปกติ เช่น มีตกขาวบ่อยๆ หรือออกมามากกว่าปกติ หรือมีสีผิดปกติ เช่น สีเหลือง สีเขียว หรือมีเลือดปน และตกขาวมีกลิ่นเหม็น


2. ประจําเดือนมาไม่ปกติ มีเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมีเลือดออกมาก


3. มีเลือดออกขณะร่วมเพศหรือหลังร่วมเพศ


4. มีเลือดออกทางช่องคลอดขณะที่อยู่ในวัยหมดประจําเดือน


5. มีอาการอ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด


 

Shares:
QR Code :
QR Code