ไทยควบคุมโรคมาลาเรียสำเร็จแต่บางพื้นที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ

 

ผู้ป่วยโรคมาลาเรียในประเทศไทยจะมีมากถึงปีละกว่า 1 แสนคน แต่ปัจจุบันเหลือเพียงปีละกว่า 2 หมื่นคนเท่านั้น และมีถึง 29 จังหวัดในภาคกลางที่กลายเป็นพื้นที่ปลอดการระบาดของโรคมาลาเรีย

นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย ตามการรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ว่าจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียของไทยระหว่างเดือน มกราคม-มิถุนายน 2554 พบผู้ป่วยไทยจำนวน 6,440 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 0.10 ต่อประชากรหนึ่งพันคน อัตราส่วนระหว่างเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารั่ม(plasmodium falciparum) และ เชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ (plasmodium vivax) เท่ากับ1:3จังหวัดที่มีผู้ป่วยมาลาเรียชาวไทยสูงสิบอันดับ ได้แก่ จังหวัดตาก จำนวน 1,924ราย, กาญจนบุรี 726ราย, แม่ฮ่องสอน 624ราย, ชุมพร 331ราย, เพชรบุรี 328ราย,ยะลา 296ราย, ระนอง 282ราย, จันทบุรี239ราย, ประจวบคีรีขันธ์ 237ราย และศรีสะเกษ 187ราย เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียในช่วง 6เดือนแรกของ ปีพ.ศ.2554กับปี พ.ศ.2553พบว่าจำนวนผู้ป่วยไทย ลดลงร้อยละ 42.90และผู้ป่วยต่างชาติลดลงร้อยละ 14.81จะเห็นได้ว่าการลดลงของจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียในประเทศไทยยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นเพราะประเทศไทยสามารถดำเนินการควบคุมป้องกันการแพร่เชื้อมาลาเรียตามนโยบายองค์การอนามัยโลกได้อย่างมีศักยภาพ จากเดิมเมื่อ 10ปีก่อน ผู้ป่วยโรคมาลาเรียในประเทศไทยจะมีมากถึงปีละกว่า 1แสนคน แต่ปัจจุบันเหลือเพียงปีละกว่า 2หมื่นคนเท่านั้น และมีถึง 29จังหวัดในภาคกลางที่กลายเป็นพื้นที่ปลอดการระบาดของโรคมาลาเรีย

นพ.มานิต กล่าวต่อว่า แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย แต่ยังมีบางพื้นที่ที่การระบาดของโรคอาจมีโอกาสสูงขึ้น เนื่องจากการเข้ามาของผู้อพยพและแรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนมาก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรีแม่ฮ่องสอน เพชรบุรี และตราด โดยเฉพาะคนต่างด้าวที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนซึ่งมีอยู่กว่า2ล้านคน ซึ่งจะไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน จึงอาจจะกลายเป็นต้นตอของการแพร่เชื้อได้ ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังผู้ป่วยมาลาเรียในพื้นที่ดังกล่าวให้มากขึ้น และยังคงต้องอาศัยความร่วมมือในการดำเนินงานกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหามาลาเรียชายแดนร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหาการเคลื่อนย้ายของประชากร

และนอกจากปัญหาแรงงานต่างด้าวแล้วยังมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขคือปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาและการระบาดของยาปลอม บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาแนวทางการควบคุมโรคมาลาเรียจึงต้องอาศัยระบบการเฝ้าระวังที่เข้มแข็งและต่อเนื่อง

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code