ไขเคล็ดลับความสำเร็จ “บ้านหนองกลางดง”
ฝ่ามรสุมล้มละลาย สู่ความมั่นคั่งในชุมชน
วันนี้ใบหน้าของคนในหมู่บ้านหนองกลางดงเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เพราะสามารถกลับมายืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง ภายในระยะเวลาเพียง 12 ปี นับจากการเข้ารับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหนองกลางดง ของ “โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์” ก็สามารถพลิกฟื้นชุมชนให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง
จากเดิมที่ชุมชนกำลังประสบภาวะล้มละลายทางเศรษฐกิจ มีหนี้สินรวมสูงถึง 18 ล้านบาท และ 80% ของที่ดินทำกินถูกจำนองในธนาคาร รวมถึงภาวะความล้มเหลวทางสังคม จากการพนันและยาเสพติด มาวันนี้เงินในกระเป๋าของคนในหมู่บ้านกลับเพิ่มขึ้น และ 75% ของที่ดินในหมู่บ้านกลับถึงมือเกษตรกร พร้อมกับคุณภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี
ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย นพ.
“ผู้ใหญ่โชคชัย” เผยเคล็ดลับความสำเร็จไว้ว่า วิธีการบริหารจัดการชุมชนอย่างได้ผลคือ การดึงคนในชุมชนเข้ามารวมกันแก้ไขปัญหาของตัวเอง แต่การดึงคนในชุมชนเข้าร่วมจัดการกับปัญหาไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
แรกเริ่มผู้ใหญ่โชคชัย ใช้การจัดเวทีระดมความเห็นของคนในหมู่บ้าน เพื่อดึงคนเหล่านั้นมาร่วมในการแก้ไขปัญหาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นและยังไม่เกิดความตระหนักถึงความเป็นเจ้าของปัญหาที่ต้องลุกขึ้นมาแก้ไขด้วยตนเอง
ผู้ใหญ่โชคชัย จึงได้หันไปจัดทำระบบฐานข้อมูลในชุมชน โดยเริ่มจากการออกแบบสำรวจและลงไปเก็บข้อมูลเชิงลึกจากคนในพื้นที่ ทำให้พบข้อมูลที่น่าตกใจ คือ ปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีที่ดินจำนวนมาก ยิ่งประสบปัญหาหนี้จำนวนมาก เพราะนำโฉนดไปจำนองธนาคารเพื่อดึงเงินอนาคตมาใช้
จากการสำรวจในปี 2540 พบว่า ที่ดินกว่า 80% ในหมู่บ้านหนองกลางดง ถูกจำนองในธนาคาร เพื่อนำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ รถกระบะ หรือสร้างบ้านราคาแพง และส่วนหนึ่งของผลพวงจากการถูกเอาเปรียบของโครงสร้างการผลิตทางการเกษตร ที่พ่อค้าคนกลางและเจ้าของธุรกิจส่งออกทางการเกษตรรายใหญ่เป็นผู้ได้ประโยชน์
ฐานข้อมูลที่ได้จากการลงไปเก็บแบบสำรวจ ถือเป็นกระจกสะท้อนถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในหมู่บ้านได้อย่างดี และทำให้คนในชุมชนเริ่มตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ไปจัดระบบ พร้อมกับเชิญชวนชาวบ้านร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของการแก้ปัญหาและความต้องการในชุมชน
ผู้ใหญ่โชคชัย เล่าว่า “สิ่งแรกที่คนในชุมชนต้องการมากที่สุดคือ การแก้ปัญหาหนี้สิน ที่มียอดรวมในหมู่บ้านสูงถึง 13 ล้านบาท จึงหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เช่นการผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การเพิ่มมูลค่าผลผลิต จากเดิมในพื้นที่ปลูกสับปะรด
สำหรับกลไกการดึงคนในชุมชนเข้ามาบทบาท ได้ทำผ่าน “สภาผู้นำ” ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า “ไม่มีใครเก่งทั้งหมด แต่ควรเอาคนเก่งในแต่ละเรื่องมารวมกัน และสร้างเป็นทีมบริหาร” ซึ่งวิธีการได้มาคือ ให้ชาวบ้านเป็นผู้คัดสรรคนดี คนเก่ง ในแต่ละกลุ่ม จนได้ตัวแทนจำนวน 56 คน
“สภาผู้นำ” จะเป็นผู้เสนอแผนและทิศทางการพัฒนาให้กับคนในหมู่บ้าน เมื่อได้รับฉันทามติของคนในหมู่บ้านแล้ว จึงนำแผนหรือโครงการที่คิดไว้เสนอไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุน และเสียงของสภาผู้นำถือเป็นเสียงสำคัญที่องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องรับฟัง เพราะถือเป็นความอยู่รอดในการลงสมัครครั้งถัดไป เนื่องจากสภาผู้นำมีที่มาจากตัวแทนของแต่ละกลุ่มในหมู่บ้านนั่นเอง และสิ่งที่ได้รับจากการร่วมลงแรง คือผลสัมฤทธิ์ทางการเงิน และความเข้มแข็งของชุมชน
มาวันนี้ที่ดินบ้านหนองกลางดง 72% กลับถึงมือเกษตรกรอีกครั้ง คนในชุมชนมีรายรับเพิ่มขึ้นจาก 16.6 ล้านบาท ในปี 2543 เป็น 35.2 ล้านบาท ในปี 2550 และมีหนี้สินลดลง จาก 13.8 ล้านบาท ในปี 2543 เหลือเพียง 7.8 ล้านบาท ในปี 2550
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยากยิ่งกว่า คือ การรักษาความสำเร็จนั้นให้คงอยู่ ผู้ใหญ่โชคชัย มักย้ำเสมอว่า “การส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังได้เข้ามาบริหารจัดการ จะทำให้ความเข้มแข็งของหมู่บ้านหนองกลางดงคงอยู่ต่อไป”
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
Update 15-05-09
อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก