ไกลแค่ไหนก็ใกล้ ‘นับเราด้วยคน’

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ไกลแค่ไหนก็ใกล้ 'นับเราด้วยคน' thaihealth


พื้นที่แนวชายแดนของไทย ยังมีประชากรอีกจำนวนหนึ่ง ที่ยังไม่มีสิทธิในการรับบริการสุขภาพ เนื่องจากอยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล ห่างจากโรงพยาบาล สถานพยาบาล ฯลฯ


"โครงการมอบยาเพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขของโรงพยาบาล อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และพื้นที่ใกล้เคียง" จึงก่อตัวขึ้นเพื่อเป็นอีกพลังเล็ก ๆ ในการหนุนเสริม ผ่านกิจกรรม "จิตอาสา รับบริจาคยา " ในการสร้างการมีส่วนร่วมและรับรู้งานสนับสนุนการสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การทำงานของ สสส. ในการสนับสนุนกลุ่มประชากรเฉพาะ ทั้งผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและแรงงานข้ามชาติดำเนินงานผ่านแผนงานสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ร่วมแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบในการที่ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหลายภาคส่วน เช่น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย ในประเด็นของการรับรองสิทธิหรือการผลักดันให้เกิดกองทุนสุขภาวะตามแนวชายแดนต่าง ๆ


"เป้าหมายของ สสส. ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของทุกคนบนแผ่นดินไทย หมายรวมถึงประชาชนในประเทศ และประชากรกลุ่มเฉพาะบางส่วนที่มีความเปราะบางเรื่องสุขภาพ"


ไกลแค่ไหนก็ใกล้ 'นับเราด้วยคน' thaihealthไกลแค่ไหนก็ใกล้ 'นับเราด้วยคน' thaihealth


ไกลแค่ไหนก็ใกล้ 'นับเราด้วยคน' thaihealthไกลแค่ไหนก็ใกล้ 'นับเราด้วยคน' thaihealth


ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานพยาบาลแถบชายแดนมีปัญหาความไร้หลักประกันสุขภาพของผู้ป่วย ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรในพื้นที่ จ.ตากกว่า 52,000 คน โดยเจ้าหน้าที่ สสส. เข้าไปร่วมเป็นจิตอาสาที่จะสัมผัสกับงานโดยตรง เพื่อต่อยอดให้เกิดความร่วมมือ และเข้าใจงานนำสู่การวางแผนดำเนินงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ผ่าน โครงการมอบยาเพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขของโรงพยาบาล อ.อุ้ม ผาง จ.ตาก และพื้นที่ใกล้เคียง


ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้อำนวยการสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. ให้ข้อมูลว่า แผนงานสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. มุ่งเน้นการลดความแตกต่างด้านการเข้าถึงสิทธิและโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะและไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากความแตกต่างของลักษณะประชากร โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้ร่วมดำเนินการผ่านกระบวนการสื่อสารสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่สังคมภายใต้แนวคิด "นับเราด้วยคน" เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อประชากรกลุ่มเฉพาะ อาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ การมุ่งเน้นของการมีตัวตน สะท้อนอัตลักษณ์ของกลุ่มคน และการเชื่อมประสานการทำความดีร่วมกันด้วยงานจิตอาสา จากจุดเริ่มต้นนี้ นำมาสู่โครงการมอบยาเพื่อสนับสนุนงานสาธารณสุขของโรงพยาบาล อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และพื้นที่ใกล้เคียง


ผู้อำนวยการสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า โครงการเริ่มจากการสำรวจและช่วยรวบรวมสิ่งที่พี่น้องตามแนวชายแดนยังขาดแคลน นั่นคือ ยารักษาโรค ทำให้ สสส. และภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมรับบริจาคยาที่เหลือใช้ ซึ่งพบว่ามีผู้มีจิตเป็นกุศลร่วมบริจาคเป็นจำนวนมาก นำสู่กระบวนการคัดแยก รวบรวมจัดส่งผ่านความร่วมมือของเครือข่ายสุขภาพภายในของ สสส. ขยายสู่การเปิดรับอาสาสมัครภายนอก อาทิ ธนาคารจิตอาสา เครือข่ายเภสัชกรอาสา เครือข่ายมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาชนทั่วไป คัดแยกรวมได้ประมาณ 2 ตู้คอนเทเนอร์ นำสู่กระบวนการขนส่งที่ทำให้เกิดความร่วมมือของภาคีระหว่างหน่วยงาน โดยกรมขนส่งทหารเรืออาสาเข้าร่วมจัดส่งยาที่ได้รับบริจาคส่งถึงพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก


นอกจากนี้ยาที่คัดทิ้งเป็นขยะประมาณ 500-700 กิโลกรัม ยังได้รับความร่วมมือจากองค์การเภสัชกรรมช่วยเหลือในการกำจัดยาหมดอายุแล้วตามวิธีการที่เหมาะสม 


กล่องยาจากทุกสารทิศ ที่หลั่งไหลมาสู่ สสส. เพื่อจะส่งผ่านไปยังโรงพยาบาลอุ้มผาง คือรูปธรรมที่แสดงให้เห็นแล้วว่า น้ำใจของคนไทยยังมีอยู่เปี่ยมล้น "นับเราด้วยคน" จึงจะไม่มีวันหยุดอยู่ที่ตรงไหน แต่จะยั่งยืนอยู่ต่อไป

Shares:
QR Code :
QR Code